สำหรับการระบาดของโควิด-19 สายพันธ์ "โอไมครอน" ที่ต้องบอกว่าพุ่งสูงต่อเนื่อง โดยในวันนี้ (10 ก.พ.2565) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,822 ราย ผู้ป่วยสะสม 322,438 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,545,873 ราย เสียชีวิต 20 ราย เสียชีวิตสะสม 22,364 ราย หายป่วยเพิ่ม 8,503 ราย หายป่วยสะสม 249,886 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 105,129 ราย
สำหรับ 10 อันดับจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ในประเทศไทยรายใหม่สูงสุด ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 ก.พ. 2565 ณ เวลา 01:00 น. และยอดสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.65 ดังนี้
1.กรุงเทพมหานคร 2,635 ราย สะสม 44,819 ราย
2.สมุทรปราการ 986 ราย สะสม 27,147 ราย
3.ชลบุรี 754 ราย สะสม 22,621 ราย
4.นนทบุรี 504 ราย สะสม 14,308 ราย
5.ภูเก็ต 434 ราย สะสม 14,536 รายเธอ
6.ราชบุรี 379 ราย สะสม 4,397 ราย
7.นครศรีธรรมราช 372 ราย สะสม 6,698 ราย
8.นครราชสีมา 334 ราย สะสม 6,102 ราย
9.สมุทรสาคร 317 ราย สะสม 5,345 ราย
10.มหาสารคาม 301 ราย สะสม 3,954 ราย
ขณะเดียวกันมีรายงาน จังหวัดที่พบผู้ป่วยใหม่ต่ำกว่า 10 ราย คือ ลำพูน 6 ราย
โดยต้องบอกว่ายอดผู้ติดเชื้อโควิดนั้นยังพุ่งแตะหมื่นอย่างต่อเนื่อง จนทางด้านของ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ส่งสัญญาน น่าห่วงนั้นก็เพราะว่า รพ.ใหญ่ในกทม.และหัวเมืองใหญ่ ผู้ป่วยโควิดใน รพ.เพิ่มมากขึ้น จนศักยภาพขั้นต้นในการรองรับ เริ่มจะใกล้หมด
เพราะต้องบอกว่าอาการ ‘โอมิครอน’ ไม่มีอาการ แต่บางรายหลังหายโควิด กลับพบปอดทำงานบกพร่อง โดยมักเป็นในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับ มีบ้างที่ได้รับวัคซีนครบ แต่ภูมิคงขึ้นไม่ดีเพราะโรคพื้นฐานที่มีอยู่เดิม มีเสียงถามเข้ามากันมากมายว่า ประเทศไทยใกล้จะให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นหรือยัง ถ้าเห็นแนวโน้มการใช้เตียงในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ น่าจะยังไม่ใช่เวลาอันเร็ววันนี้
โดย รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ยังเปิดเผยต่ออีกว่า แม้คนที่ป่วยด้วยโควิดจากโอไมครอน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง แต่จะมีบางส่วนของคนกลุ่มนี้ที่เมื่อหายแล้วยังไม่สามารถมีกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เนื่องจากรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิมก่อนป่วย ได้มีการศึกษาในคนอเมริกันจำนวน 10 คนที่มีคุณสมบัติดังกล่าว โดยติดตามการทำงานของปอดและหัวใจ ขณะออกกำลังด้วยการขี่จักรยานอยู่กับที่ พบว่า มีการลดลงอย่างมากของสมรรถภาพการออกกำลังกาย เป็นผลจากเนื้อเยื่อทั่วร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดึงออกซิเจนไปใช้งานได้ดีเพียงพอ โดยที่การทำงานของหัวใจยังเป็นปกติ แต่การทำงานของปอดยังมีความบกพร่อง อันเป็นผลจากการออกแรงหายใจมากเกินควร ทั้งที่ขณะป่วยส่วนใหญ่ไม่เกิดปอดอักเสบโควิดชัดเจน เห็นอย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้ตัวเองและคนที่เรารักติดโควิด ด้วยการระมัดระวังตัวเต็มที่ตามมาตรการควบคุมโรคโดยเฉพาะการหมั่นใส่หน้ากากเมื่อออกนอกบ้าน ควบคู่ไปกับเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด
ด้าน ดร.วินเซนเต โซรีอาโน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยนานาชาติ ลา รีโอฮา (International University of La Rioja) ในสเปน กล่าวว่า หลังจากที่คนสัมผัสกับ "โอไมครอน" อาจจะเริ่มมีการแบ่งตัวของไวรัสเกิดขึ้นภายใน 1 วัน และ ภายใน 2 วัน สามารถตรวจพบโรคได้ โดยปกติแล้ว คนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา มักจะสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าในช่วงแรกของการติดเชื้อ ส่วนเชื้อกลายพันธุ์ "โอไมครอน" เชื่อกันว่า ไวรัสตัวนี้สามารถแพร่ได้ ภายใน 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มแสดงอาการ และ 2-3 วัน ต่อจากนั้น
3
ซึ่งไวรัสตัวนี้นั้น สามารถแพร่เชื้อได้เพียงแค่ 5 วันเท่านั้น พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการทำให้คนอื่นติดเชื้อ ในการแพร่เชื้อไวรัส อยู่ที่ 3-5 วัน หลังจากที่มีผลตรวจเป็นบวก ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 2 ของการติดเชื้อ โดยเชื้อกลายพันธุ์ "โอไมครอน" ดูเหมือนจะอยู่ในร่างกายคนได้ราว 7 วัน นั่นหมายความว่า ราว 7 วัน หลังจากมีอาการ คนส่วนใหญ่จะไม่แพร่เชื้อแล้ว ถ้าไม่แสดงอาการใด ๆ อีกต่อไป ทั้งนี้ ก็อาจคลาดเคลื่อนได้ แต่สิ่งที่แน่นอนเกี่ยวกับ "โอไมครอน" คือ การติดเชื้อเร็วกว่าเชื้อกลายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาก
ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติในการให้คนที่ตรวจพบว่า ติดโรคโควิดพบปะกับคนอื่นได้ หลังจากที่มีการกักตัว 5 วัน แต่มีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมา คือ ถ้าเคยติดโรคโควิด-19 และมีอาการ กักตัวอย่างน้อย 5 วัน การคำนวณระยะเวลากักตัว 5 วัน ไม่รวมวันแรกที่มีอาการ โดยให้นับวันแรกที่มีอาการเป็นวันที่ 0 ถ้าไม่มีอาการอีกต่อไปแล้ว หรืออาการดีขึ้นหลังจาก 5 วัน ก็สามารถเลิกกักตัว และออกจากบ้านได้ นอกจากนั้น ควรเลี่ยงการเดินทางจนกว่าจะครบ 10 วันเต็ม หลังจากมีอาการวันแรก ถ้าหากต้องเดินทางในวันที่ 6-10 ให้สวมหน้ากากที่แนบสนิท เมื่อต้องอยู่กับคนอื่นตลอดช่วงที่เดินทาง และหากมีไข้ ให้กักตัวที่บ้านต่อไปจนกว่าจะหายไข้ และควรสวมหน้ากากเมื่ออยู่กับคนอื่นต่อไปอีก 5 วัน
โดยจากข้อมูลที่ไทยนิวส์เอามานำเสนอก็สรุปได้ว่า แม้สถานการณ์การติดเชื้อ แนวโน้มสัปดาห์ที่ผ่านมาสูงขึ้นจริง แต่จะไม่มากไปกว่านี้ และคาดว่าจะสามารถทรงตัวได้ ทั้งนี้การติดเชื้อในกรุงเทพฯ ที่สูงขึ้น เป็นไปตามคาดการณ์ และสอดคล้องกับสถานการณ์ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งยังมาจากปริมณฑลที่บริษัทต่างๆ ส่งพนักงานที่ติดเชื้อเข้าไปรักษาด้วย และยังต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อจากผู้ที่กลับเข้าไปทำงาน สำหรับคลัสเตอร์ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ยังเป็นแหล่งชุมชน ตลาด พบบ้างประปราย ส่วนค่ายมวยก่อนหน้านี้พบ ขณะนี้ปรับปรุง ก็ไม่พบแล้ว ส่วนแคมป์ก็พบน้อยลง