เช็กอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 หากพบอาการดังนี้ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาล

20 กุมภาพันธ์ 2565

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผย เช็กอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 หากพบอาการดังนี้ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาลทันที

กรมอนามัย เผยแพร่คำแนะนำการดูแลเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 แบบ Home Isolation (HI) หลังพบว่าปัจจุบันมีเด็กติดโควิดทั้งแบบแสดงอาการ และไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมาก โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องคอยสังเกตอาการโดยรวมของเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามอาการ เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุปกรณ์ถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโอ รวมถึงยาสามัญประจำบ้าน

เช็กอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 หากพบอาการดังนี้ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาล

อาการของเด็กแบ่งเป็น 2 ระดับ

ระดับที่ 1 อาการที่สามารถเฝ้าสังเกตที่บ้านต่อไปได้ คือ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวยังคงกินอาหารหรือนมได้ปกติ และไม่ซึม ซึ่งเด็กที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถรับการรักษาแบบ HI ได้

ระดับที่ 2 อาการที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว คือ ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียล หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% ซึมลง ไม่ดูดนม และไม่กินอาหาร

อย่างไรก็ตามพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมืออย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับเด็กที่ติดเชื้อ

 

กรณีเด็กอายุ ไม่เกิน 11 ปีบริบูรณ์ พักจริงพื้นที่กทม. หากผู้ปกครองสะดวกทำ Home Isolation ติดต่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ Home Isolation สปสช.จะดำเนินการจับคู่หน่วยบริการที่ดูแล คือ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ (รพ.เด็ก) โดยตรง

กรณีที่ตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 สามารถลงทะเบียนสู่ระบบ Home Isolation เป็นบริการดูแลรักษาที่ครอบคลุมดูแลทุกสิทธิรักษาพยาบาล ง่ายๆ ด้วย 3 ช่องทาง ดังนี้

1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 14

หรือ 2. ลงทะเบียนด้วยตนเองที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI

หรือ 3. ไลน์ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อน พิมพ์ @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

- เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19

- เลือกลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation)

เช็กอาการเด็กเล็กติดเชื้อโควิด-19 หากพบอาการดังนี้ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาล

 

ขอบคุณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ