เช็คด่วน โอไมครอนในเด็กส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ เผยสาเหตุยอดผู้ป่วยเด็กพุ่ง

22 กุมภาพันธ์ 2565

เปิดอาการโอไมครอนในเด็ก ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ เผยสาเหตุยอดทำผู้ป่วยเด็กพุ่งถึง 80% ขณะนี้เตียงเด็กเริ่มหนาแน่น

จากกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้ โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุด นพ.อดิศักดิ์ ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้เปิดถึงสถานการณ์โควิด-19 ในเด็ก พบสถานการณ์เตียงเด็กภาพรวมหนาแน่นประมาณ 80% จึงนำนโยบาย Home Isolation (HI) มาใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป และไม่มีอาการ เพื่อมารักษาตามระบบ โดยพบว่ามีสัดส่วนของเด็กที่นอนโรงพยาบาลมีประมาณ 15-17% ส่วนอีก 50% ไม่มีอาการ และมีอาการหนักประมาณ 2.2 % 

 

นพ.อดิศักดิ์ ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ส่วนสาเหตุการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้นมาจากเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีน และเป็นการติดเชื้อในครอบครัว เด็กบางส่วนเปิดเรียนตามปกติ ทำให้การติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเชื้อโอไมครอนติดง่าย การรักษาส่วนใหญ่เน้นตามอาการคล้ายไข้หวัด ส่วนใหญ่มีไข้ เพียง 5 วัน ไข้ลด เด็กส่วนใหญ่อาการดีขึ้น และเพียงดูแลรักษาตามเกณฑ์ 10-14 วัน ก็หายขาดจากโควิด หากมีอาการก็จะจ่ายฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำให้รับประทาน

 

ขณะที่เกณฑ์การรับเด็กเข้ารักษาการในโรงพยาบาล เน้นกลุ่มอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว ส่วนเด็กที่เข้ารับการรักษา HI คือ กลุ่มเด็กไม่มีอาการ ต้องไม่มีไข้สูง ไม่มีโรคประจำตัว เด็กไม่ซึม ทานอาหารได้ และต้องมีพ่อแม่ดูแลแบบใกล้ชิด เมื่อเข้าระบบ HI โรงพยาบาลจะมีการแชทผ่านไลน์สอบถามอาการ และวิดีโอคอล รวมถึงให้พ่อแม่ถ่ายวิดีโออาการของลูกให้แพทย์ดูวันละ 1 ครั้ง พร้อมมีการวัดไข้ วัดระดับออกซิเจนในเลือดจากปลายนิ้ว โดยพยาบาลที่ติดตามอาการเด็ก 1 คนรับผิดชอบ 30 เคส ทั้งนี้ จากการรักษาเด็กผ่านมากว่า 1,000 คน พบมีอาการรุนแรง 1-2% เท่านั้น


นอกจากนี้ นพ.อดิศักดิ์ ยังอีกกล่าวว่า เฉพาะที่สถาบันเด็กสัดส่วนผู้ป่วยเด็กในเดือนกุมภาพันธ์ครึ่งเดือนเพิ่มขึ้น 30% ตอนนี้มีเด็กป่วยนอนโรงพยาบาล 150 คน จากเดิมเดือนมกราคมประมาณ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่ของการนอนโรงพยาบาลเป็นแบบครอบครัวมีผู้ปกครองมานอนดูแลอาการเด็กด้วย ทำให้สถาบันเด็กขณะนี้มี ผู้ป่วยครองเตียง 76 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ปกครอง 20 คน และมีอาการป่วยติดเชื้อโควิด ซึ่งทางสถาบันได้มีการประสานกับโรงพยาบาลราชวิถีดูแลผู้ป่วยกลุ่มผู้ใหญ่เหล่านี้ด้วยเช่นกัน เพราะเข้าใจว่าการรักษาพยาบาลเด็กเล็กจำเป็นต้องมีผู้ปกครองใกล้ชิดมีผลต่อการรักษาและการดูแลช่วยให้ทางรับประทานอาหารรับประทานยาได้ง่ายมากขึ้นหายเร็วกว่าปกติ 

-"อนุทิน" ยันชัด ไม่มีคนป่วยนอนรอเตียงข้างถนน โควิดอยู่ระดับ 4 นานแล้ว
-"หมอธีระ" แนะ 4 ข้อ การป้องกันตัว หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง
-"หมอธีระวัฒน์" เผยสถานการณ์โควิด-19 ของไทยช่วงขาขึ้น แนะคน 2 ประเภทระวัง

ทั้งนี้ อาการโอไมครอนในเด็ก พบอาการหลักๆที่ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ ดังนี้

- อุณหภูมิสูง

- การไอต่อเนื่องครั้งใหม่ หมายถึง การไอมากเกิน 1 ชั่วโมง หรือไอ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง

- สูญเสียหรือเปลี่ยนประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นหรือรส

- เมื่อยล้า

- คัดจมูก น้ำมูกไหล

- ปวดหัว

- เจ็บคอ

- เบื่ออาหาร

- ปวดเมื่อยตามร่างกาย

- ผื่นขึ้น

เปิดอาการโอไมครอนในเด็ก