สำนักงานประสังคม เผย ผู้ประกันตนถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ มาตรา 33 , มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งแต่ละมาตราก็มีความแตกต่างกัน ทั้งในส่วนของเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงานเอกชนทั่วไป ต้องส่งเงินสมทบ 5% จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, และว่างงาน
ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก ต้องส่งเงินสมทบ 432 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, และชราภาพ
ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ อาชีพอิสระ สามารถเลือกได้ 3 ทางเลือก จะได้รับความคุ้มครอง 3, 4, 5 กรณีตามลำดับ คือ ค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, ค่าทำศพ, ชราภาพ, และสงเคราะห์บุตร
เงื่อนไขการคุ้มครอง
- กรณีเจ็บป่วย = ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเจ็บป่วย
- กรณีสงเคราะห์บุตร = ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน
- กรณีตาย = ส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย
- กรณีว่างงาน = ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนว่างงาน
- กรณีคลอดบุตร = ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดมีสิทธิ์ได้รับค่าคลอดบุตร โดยไม่จำกัดครั้ง
- กรณีทุพพลภาพ = ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ
- กรณีชราภาพ
บำเหน็จชราภาพ
บำนาญชราภาพ
ได้รับบำนาญชราภาพร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากมีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ ทุก 12 เดือน
*** กรณีว่างงาน (ม.33) ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณ สำนักงานประกันสังคม