จากกรณี เพจเฟซบุ๊ก "ช่างภาพชื่อดังฐานะร่ำรวย" ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับภาพในคืนวันเกิดเหตุ เป็นภาพ แตงโม นิดา และ กระติก ถ่ายคู่กัน และมีการถกเถียงเรื่องเวลา และการเปิดปิดไฟของสะพานพระราม 8 เอาไว้ว่า
ไฟสะพานปิดแล้วทำไมในรูป กต ไฟสะพานถึงยังติดอยู่ ?
ไหนๆก็พูดถึงเรื่อง EXIF ว่ามีบันทึกข้อมูลวันเวลาที่รูปถูกถ่ายไว้ที่โพสต์เมื่อกี้ ( EXIF คืออะไรเลื่อนไปอ่านที่โพสต์ข้างล่างได้)
งั้นเรามาลองวิเคราะห์และตั้งข้อสันนิษฐานกับรูปที่เป็นประเด็นกันในมุมมองของช่างภาพและการแต่งรูปนะ ข้อมูลล่าสุดจากข่าว "เที่ยงวันทันเหตุการณ์" มีการเอา 2 รูปมาเทียบกัน รูปฝั่งขวาที่เป็นผู้หญิงชุดลายดอกถูกถ่ายในเวลา 2 ทุ่ม (ก่อนไฟสลิงปิด) สังเกตุว่าไฟสลิงจะสว่างมาก สว่างแบบยาวและเท่ากันทั้งเส้น
ส่วนรูปที่เป็นประเด็นฝั่งซ้ายถูกถ่ายในช่วงเวลาที่ไฟสลิงถูกปิดไปแล้ว แต่ไฟเสาสะพานยังถูกเปิดอยู่ สังเกตุว่าไฟสลิงจะไม่สว่างเท่ากับรูปฝั่งขวา แต่ก็ยังพอมีแสงสว่างอยู่ ตรงนี้สลิงอาจจะเกิดแสงได้จากการสะท้อนมาจากแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ เช่นไฟจากเสาสะพาน ซึ่งทาง กต เองบอกกับพี่หนุ่ม กรรชัยว่าภาพนี้ถูกถ่ายด้วย Night Mode ซึ่งข้อสันนิษฐานอาจจะมีความเป็นไปได้ที่ AI ในมือถือจะช่วยเร่งให้ไฟตรงสลิงให้มีความชัดเจนและสว่างมากกว่าเดิม
แล้วสมมุติว่าภาพนี้ต้นฉบับจริงๆแล้วสลิงไม่มีไฟเลยละแบบสลิงมืดไปเลย จะสามารถแต่งรูปเพื่อช่วยเร่งแสงตรงสลิงได้ไหม ถ้าเป็นการแต่งแบบปกติเช่นการดึงแสง เพิ่ม highlight / shadow มันเป็นไม่ได้เลยที่ไฟสลิงจะสว่างขึ้นมาได้ นอกจากจะไปรีทัชไฟสลิงแยกอีกที ซึ่งจำนวนเลเยอร์ที่จะต้องทำ ก็นับไปตามจำนวนเส้นสลิงนั่นแหละว่ามีกี่เส้น ขนาดช่างภาพสาย Landscape ที่คุ้นชินกับการซ้อนร้อยเลเยอร์ยังไม่อยากทำเลยมั้งรูปแบบนี้
เอาจริงๆการพิสูจน์ประเด็นนี้มันง่ายมากเลยนะ แค่เอามือถือรุ่นเดียว ไปถ่ายรูปในมุมและช่วงเวลาเดียวกัน ใช้ Mode ถ่ายภาพเหมือนกัน แล้วเอารูปมาเทียบกันว่าผลลัพธ์มันออกมาตรงกันไหม
ก่อนจบถ้าโพสต์นี้ไปขัดกับความเชื่อของใครก็อย่าพึ่งดราม่าเอาทัวร์มาลงกัน เพราะอันนี้เป็นแค่การวิเคราะห์และตั้งข้อสันนิษฐานในมุมมองของช่างภาพและการแต่งรูปเท่านั้น
ขอบคุณภาพจาก เที่ยงวันทันเหตุการณ์ และ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
#ช่างภาพชื่อดังฐานะร่ำรวย
---------------------------
ติดตาม IG ได้ที่
instagram.com/bearrrich