อัปเดต "ประกันสังคม" เช็คจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่

03 มีนาคม 2565

ไทยนิวส์ออนไลน์รวบรวมข้อมูล อัปเดต "ประกันสังคม" เช็คจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่ เช็คข้อมูลที่นี่

เช็คข้อมูลที่นี่ ไทยนิวส์ออนไลน์รวบรวมข้อมูล อัปเดต "ประกันสังคม" เช็คจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่ รายละเอียดดังต่อไปนี้

- มาตรา 33

กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง

หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

 

อัปเดต "ประกันสังคม" เช็คจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่

- มาตรา 39

รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) : ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
 

- มาตรา 40

รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 - 2 - 3
ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน : ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

 

อัปเดต "ประกันสังคม" เช็คจ่ายชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่