หากพูดถึง Driver ของเศรษฐกิจไทย ต้องนึกถึง ธุรกิจ“นำเข้าและส่งออก”เป็นอันดับต้นๆ ที่ถือเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมา หลายครั้งที่เศรษฐกิจไทยเจอวิกฤต “ธุรกิจนำเข้าและส่งออก” ถือเป็นฮีโรขี่ม้าขาวสำคัญ ในการช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้
“ศรัณย์ ภู่พัฒน์” หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) ชี้ให้เห็นถึงบทบาท ของธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจ โดยหากย้อนไปดูวิกฤตต้มยำกุ้งในอดีต ที่หนี้เสียท่ามระบบกว่า 40% ธุรกิจมีปัญหาหนัก จีดีพีของเศรษฐกิจไทยติดลบไปถึง 7% แต่ส่งธุรกิจนำเข้าส่งออกเติบโตได้ 12% ส่งผลให้จีดีพีไทยพลิกบวกกลนับมาเติบโตได้ 4% เช่นเดียวกันกับช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เศรษฐกิจไทยติดลบ 6% แต่การส่งออกนำเข้าเติบโตสูงถึง 23% ทำให้จีดีพีไทยกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 1% ในปี 2564 ที่ผ่านมา
หากดูในแง่สัดส่วนจากธุรกิจนำเข้าและส่งออกต่อจีดีพีพบว่ามีสัดส่วนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆและมีผลต่อการจ้างงานสูง โดยหากปี 2544 พบว่าจำนวนธุรกิจนำเข้าส่งออกมีเพียง 4.4 หมื่นบริษัท เพิ่มมาเป็น 1แสนบริษัทในปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลต่อการจ้างงานค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันมีกำลังแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้สูงถึง 7.3 ล้านคน ดังนั้นธุรกิจนำเข้าและส่งออก ถือเป็นเซกเตอร์ที่สำคัญมาก
แต่ทว่า ภายใต้การเติบโตดังกล่าว ทราบหรือไม่ว่า ธุรกิจนำเข้าส่งออกเจอความท้าทายค่อนข้างมาก ทั้งจากปัจจัยภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความท้าทายจาก ความผัวผวนของ “อัตราแลกเปลี่ยน” ที่คาดว่าปีนี้จะมีสูงขึ้น
โดยหากดูปี 2561 พบว่าความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเทียบระหว่างดอลลาร์กับเงินบาท พบว่าอยู่เพียง 3% แต่ปีที่ผ่านมาความผันผวนเพิ่มขึ้นเกือบ 6% หมายความว่า มีโอกาสที่ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจะทำให้กำไรของธุรกิจลดลงได้ เช่นหากเคยมีกำไร 10% แต่เจอความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 6% หากบริการจัดการกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ กำไรธุรกิจจะเหลือเพียง 4%เท่านั้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ธุรกิจนำเข้าส่งออกไทย มีการทำ Natural Hedge ลดลงเรื่อยๆ จากเคยสูงถึง 30% มาเหลือเพียง 20% ในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการพึ่งพา จากการซื้อขายด้วยสกุลเงินดอลลาร์เป็นหลักถึง 77% ซึ่งถือเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนสูงหากเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่นต่างๆ ดังนั้นเหล่านี้อาจทำให้ผู้ประกอบการ ต้องแบกรับความเสี่ยงจาก “อัตราแลกเปลี่ยน”สูงขึ้น!
แม้ในปัจจุบันจะเห็นผู้ประกอบการเริ่มหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าขายมากขึ้น แต่เหล่านี้ก็สร้างความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบการไม่แพ้กัน เพราะบัญชีเงินตราต่างประเทศ(FCD) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน หนึ่งบัญชีรองรับได้เพียง1สกุลเงินเท่านั้น ดังนั้นหากมีการค้าขายกับ 3ประเทศ หรืออยากทำถึง 3 สกุลเงิน อาจต้องเปิดบัญชี FCD ถึง 3 บัญชี และยากไปอีกเวลาซื้อขาย ที่ต้องแจ้งเลขบัญชีถึง 3บัญชีหากมีสกุลเงินต่างกัน เหล่านี้ล้วนสร้างความปวดหัว สับสนให้กับภาคธุรกิจทั้งสิ้น
จาก Pain Point เหล่านี้ ทำให้ “ทีทีบี”มองว่า จะง่ายกว่าหรือไม่ หากลูกค้ามีเพียง 1บัญชี! ไม่ต้องเสียเวลา ในการเปิดหลายบัญชี ใช้บัญชีเดียวในการแจ้งลูกค้าทุกราย ใช้แค่บัญชีเดียวในการดูสเตจเม้นท์เดียว ดูได้ความเคลื่อนไหวได้ครบทุกสกุลเงิน
จึงเป็นที่มาของการพัฒนา “ttb multi-currency account” หรือ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด เพื่อธุรกิจนำเข้าและส่งออก! เหล่านี้ เพื่อทำให้การเปิดบัญชี ทำธุรกรรมการเงินได้ง่ายขึ้น
แต่สิ่งที่สุดยอดไปกว่านั้นของบัญชีนี้ คือ “ประสบการณ์ใช้งานง่ายมาก” ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ในการทำธุรกรรมให้แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม ผ่าน คอนเซ็ปต์ “4 One”
One Account – บัญชีเดียว สามารถรองรับได้มากถึง 11 สกุลเงินหลัก รวมถึงไทยบาท และสกุลเงินหยวนด้วย ที่สามารถรองรับได้แล้วในปัจจุบัน แทนที่จะต้องเปิดหลายบัญชี ก็ไม่ต้องวุ่นวายเปิดหลายบัญชี และยังสมารถซื้อขาย รับจ่าย ได้สะดวก ทั้งในและต่างประเทศ อย่างคล่องตัว
ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาท และสกุลเงินต่างประเทศไว้ล่วงหน้า หากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระดับที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ และยังสามารถโอนเงินสกุลเงินต่างประเทศออกได้ทันที ไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนไปมาให้ยุ่งยาก
One Platform ที่สามารถเข้าถึงทุกบริการ พาสเวิร์ดเดียวเข้าได้ทุกอุปกรณ์ ทุกเครื่อง ไม่ว่าจะแท็ปเลต สมาร์ทโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ ฯลฯ การทำธุรกรรมก็ง่าย ไม่ว่าอยู่ไหนก็ทำธุรกรรมได้ง่าย เช่น หากผู้บริหารไม่ได้อยู่ออฟฟิศ สามารถส่งรายการเข้ามือถือผู้บริหารให้ตรวจสอบ แอพบรูฟรายได้ผ่านโมบายฯได้ทันที ซึ่งถือเป็นฟีเจอร์ที่แตกต่างมากบน แพลตฟอร์ม One bank
One to Control ระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ทุกทรานเซกชั่น ทั้งธุรกรรมในประเทศ ธุรกรรมต่างประเทศ สินเชื่อ สามารถทำได้ผ่านแพลตฟอร์มเดียวได้จบ
จากปัญหาที่เจอในอดีต สำหรับผู้ประกอบการคือ เวลาทำธุรกรรมในประเทศ ต้องเข้าแพลตฟอร์มรูปแบบหนึ่ง หากจะทำธุรกรรมสินเชื่อก็หน้าตาอีกแบบ ต้องล็อกอินล็อกเอ้าท์ เข้าๆออกๆ ดังนั้น ttb เราเห็น Pain ด้านนี้ จึงทำแพลตฟอร์มให้ใช้ง่ายขึ้น ล็อกอินครั้งเดียวแต่สามารถทำธุรกรรมได้ครบ จบทุกธุรกรรม
นอกจากยังเพิ่มคอนโทรล ให้กับบริษัท ผ่านแพลตฟอร์มนี้ ให้สามารถติดตามอัตราแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เมื่อเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนถึงระดับที่ต้องล็อก ก็สามารถล็อกเรทไว้ได้ทันที หรือจะล็อกเรทที่ต้องการผ่านระบบทิ้งไว้ในระบบ ให้ระบบจัดการให้ ทำให้ไม่ต้องรอ ไม่ต้องลุ้น เหล่านี้เราสามารถเลือกได้
ไม่พอ ยังเพิ่มคอนโทรล ให้กับผู้ประกอบการ โดยการติดตั้งระบบ Smart search เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถค้นหาธุรกรรม รายการ คู่ค้า ได้สะดวกขึ้น แค่พิมพ์ Key word ที่ต้องการ ระบบก็จะเสิร์ซหาให้ทันที ว่ามีธุรกรรมกับใคร วงเงินเท่าไหร่ ธุรกรรมไหนบ้าง ข้อมูลต่างๆจะทำให้การค้นหาข้อมูลง่ายและรวดเร็วขึ้นมาก
ภายใต้ One to control ยังสามารถทำให้ธุรกิจ สามารถติดตาม สถานะรายการได้แบบเรียลไทม์ เพราะปัญหาที่เจอในอดีต เวลาลูกค้าโอนเงินไปต่างประเทศ มักจะมีการโทรสอบถามธนาคาร ว่าเงินถึงต้นทางหรือยัง ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้น ttb จึงมีการเพิ่ม คอนโทรลให้ลูกค้า ให้สามารถเช็คการทำธุรกรรมได้เรียลไทม์ บนระบบได้ทันที ว่าเงินถึงไหนแล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลา เอาเวลาไปวางแผนธุรกิจต่อไปได้ง่ายขึ้น
One to Command สรุปรายกงานของทุกบัญชี ทุกสกุลเงินได้ ในหน้าเดียว! ฟังก์ชั่นนี้ เป็นการรายงานรีพอร์ตธุรกรรมทุกอย่าง ให้สามารถดูได้ทุกสเตรจเม้นท์ ทุกสกุลเงินในหน้าเดียว ว่าสภาพคล่องเป็นอย่างไร สามารถเห็นรายการเคลื่อนไหวของทุกสกุลเงิน หรือหากลูกค้าอยากจะดาวน์โหลดเอกสาร สามารถนำไปทำงานต่อก็สามารถทำได้ทันที ไม่ยุ่งยาก
และที่เจ๋งไปกว่านั้น คือ ถ้าอยากรู้วงเงินที่เหลืออยู่ ทั้งวงเงินสินเชื่อ เทรดไฟฟแนนซ์ ฯลฯ สามารถดูได้ผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้ทันที เพื่อวางแผนสภาพคล่องให้ดีมากขึ้น
ถัดมาคือ ฟังก์ชั่น ที่สามารถเรียกดูข้อมูลและบัญชีของบริษัทในเครือได้ทุกบริษัท ซึ่งจะแตกต่างมากจากรูปแบบปัจจุบัน ที่หากจะดูการทำธุรกรรมการเงิน ต้องล็อกอินเข้าไปดูทีละบริษัท แต่ฟังก์ชั่นนี้ ที่พิเศษคือ สามารถเข้าไปดูข้อมูลของบริษัทในเครือได้ทุกบริษัทผ่านล็อกอินเดียว และยังสามารถ “ให้สิทธิ” กับพนักงาน หรือผู้บริหาร สามารถล็อกอิน และทำธุรกรรมแทนได้ด้วย เหล่านี้สะดวกมาก เพราะจะทำให้บริษัทเห็นทั้งภาพ ทั้งบริษัท ทั้งเครือ
เหล่านี้ เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ประกอบการ และฟีเจอร์ที่ ttb เราเชื่อว่า จะทำให้ประสบการณ์การใช้งานลูกค้ายอดเยี่ยมขึ้น ผ่าน 4 One
สรุปแล้วลูกค้าได้ประโยชน์อะไร? จากบัญชี “ttb multi-currency account” หรือ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้าและส่งออกบริหารอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คล่องตัวขึ้น เพราะเป็นบัญชีที่รองรับได้ถึง 11สกุล ซื้อขายรับจ่ายสะดวก ทั้งในและต่างประเทศ สามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศได้ล่วงหน้า และโอนเงินสกุลเงินต่างประเทศออกได้ทันที โดยไม่ต้องล็อกอินล็อกเอ้าท์
ช่วยต่อยอดในการทำธุรกิจ เมื่อผู้ประกอบการ มีเงินโอนเข้าบัญชี ก็จะได้รับดอกเบี้ยทันที ไม่ต้องพักไว้ และยังสามารถใช้บัญชีนี้บัญชีเดียว เพื่อแจ้งคู่ค้า แทนที่จะมีหลายบัญชีให้ยุ่งยาก
รู้ภาพรวม ควบคุมธุรกิจได้ นอกเหนือจาก มีระบบ Smart search และสามารถอัพเดทเตตัสเงินที่เข้าและผ่านบัญชี ยังมีระบบแจ้งเตือนทุกรายการเงินเข้าออก ทุกการทำรายการอัตราแลกเปลี่ยน ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรู้ความเคลื่อนไหวของภาพรวมได้ตลอดเวลา และยังเรียกดูทุกสกุลเงินได้ในสเตรจเม้นท์เดียวได้ตลอดเวลา
ถือได้ว่า บัญชี “ttb multi-currency account” มีประโยชน์กับลูกค้าและผู้ประกอบการมาก เพราะทำให้การจัดการ และบริหารอัตราแลกเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพของบริษัทให้ดีมากขึ้น
บัญชี “ttb multi-currency account” แตกต่างจากบัญชีที่อยู่ในตลาดหรือไม่? แตกต่างแน่นอน เพราะ ttb เป็นเพียงธนาคารเดียวที่ออฟเฟอร์โปรดักท์นี้สู่ตลาด และเชื่อว่า การดีไซซ์โปรดักท์นี้ ทำให้เกิด end to end เต็มรูปแบบจริงๆ เพราะเหล่านี้มาจาก การดู Pain point ของลูกค้าจริงๆ และต้องให้มั่นใจว่า ประสบการณ์ใช้งานลูกค้าต้องดีขึ้นทำให้การบริหารความเสี่ยงค่าเงินมีประสทธิภาพมากขึ้น
“มิติที่เราต้องการคือ เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานให้กับลูกค้า เพิ่มความคล่องตัว ลดอุปสรรค และเราเชื่อว่า หากลูกค้าใช้งานง่าย่ สามารถช่วยแก้ Pain point ให้ลูกค้าได้ ก็จะทำให้ลูกค้าเลือกที่จะอยู่กับธนาคาร ทำให้ลูกค้าใหม่หันมาใช้บริการผ่านธนาคาร และเชื่อว่าหากลูกค้าหันมาใช้แพลตฟอร์มนี้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปสาขาอีกเลย แถมยังช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ”
ความคาดหวังหลังจากนี้ เชื่อว่า บัญชี “ttb multi-currency account” น่าจะตอบโจทย์ธุรกิจมากขึ้น ทำให้ในระยะข้างหน้า น่าจะเห็นการตอบรับที่ดีกว่าในอดีต และหวังว่า บัญชีนี้จะเป็นช่องทางหลักในการทำธุรกรรมของภาคธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ