จากกรณีเมื่อวันที่ 10 มี.ค.65 ที่ผ่านมา นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่าน น.ส.ศกลวรรณ ชัยภักดี หัวหน้ากลุ่มงานบริการประชาชน ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม ถึง "น้ำผึ้ง" น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ยกเลิกการใช้นามสกุล "ยงใจยุทธ"
โดยนายวัชระ อ้างไว้ว่า ได้รับการบอกกล่าวจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ให้ทำหนังสือแจ้งให้ทราบว่า มีความประสงค์ให้ "น้ำผึ้ง" ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ อดีตผู้สมัครส.ส.นครพนม พรรคพลังประชารัฐ เลิกใช้นามสกุล "ยงใจยุทธ" ให้เวลาเปลี่ยนภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนดก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
-"บิ๊กจิ๋ว" จี้ขอให้ น้ำผึ้ง ณัฐธ์ภัสส์ เลิกใช้นามสกุล "ยงใจยุทธ" ภายใน 15 วัน
-"สรยุทธ" ขอโทษแฟนข่าว หลังลั่นประโยคผิดกลางรายการสด "โปรดให้อภัยผม 100%"
-กรมอุตุฯ พยากรอากาศวันนี้ อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 39 องศาฯ
สำหรับ "น้ำผึ้ง ณัฐธ์ภัสส์"มีศักดิ์เป็นหลานสาวของ "บิ๊กจิ๋ว" โดย ณัฐธ์ภัสส์ เป็นลูกของน้องสาว ภรรยาอีกคนของ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ บิดาของ พล.อ.ชวลิต นั่นเอง
โดย น้ำผึ้ง เคลื่อนไหวล่าสุด ทางเนชั่นออนไลน์ มีรายงานว่า "น้ำผึ้ง ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ" กล่าวถึงกรณีที่มีหนังสือ ส่งถึงตน ผ่านศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม มีเลขลงรับ คือ ศบร 012565/0937 เพื่อขอให้เลิกใช้นามสกุลยงใจยุทธ ว่าตนยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว และไม่ทราบรายละเอียดของเนื้อหาทั้งหมดอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดีตนยืนยันว่าตลอดที่ตนทำงานการเมือง และดูแลช่วยเหลือประชาชน
ทั้งในนามอดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม และข้าราชการการเมือง ในส่วนของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม ได้ตั้งใจทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ และไม่เคยมีทำพฤติกรรมที่สร้างความเสื่อมเสีย หรือความเสียหายต่อองค์กร รวมถึงต้นตระกูล รวมถึงไม่เคยใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในทางทุจริตต่อหน้าที่
“การทำงานที่ผ่านมา ไม่ว่าในฐานะใด มีตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่ง ดิฉันมุ่งมั่นทำงานด้วยหัวใจ เพื่อรับใช้พี่น้องประชาชนให้อยู่ดี กินดี ไม่เคยแอบอ้าง หรือใช้ชื่อเสียง หรือนามสกุลเพื่อทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร หรือทำผิดกฎหมาย ตำแหน่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นตำแหน่งทางการเมืองชั่วคราว มาแล้วก็ไป แต่นามสกุลที่ใช้ ทุกคนในสังคมรู้ที่มาที่ไปอย่างดี ส่วนประเด็นที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวในครอบครัวที่เกิดขึ้นก่อนรับตำแหน่ง”น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ กล่าว
ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกติกาหลักของประเทศ ได้บัญญัติรับรองสิทธิสตรีให้มีความเสมอภาคทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครอง ไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติ และตามปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention or the Elimination of All Forms of Discrimination against Woman) ยังรับรองสิทธิของสตรีต่อการเลือกใช้ชื่อสกุล และคำนำหน้านามได้ ว่าจะสามารถเลือกใช้นามสกุลตัวเองหลังสมรสได้
รวมถึงเลือกใช้นามสกุลมารดาเป็นนามสกุลของตนได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นการห้ามผู้มีสิทธิโดยชอบใช้นามสกุลเป็นการละเมิดสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยรับรองไว้ รวมถึงอนุสัญญาของต่างประเทศด้วย นอกจากนั้นสตรีที่รักษาและสร้างเกียรติยศดีงามแก่วงศ์ตระกูล จึงไม่มีอำนาจใดที่จะชี้ขาดห้ามใช้ชื่อสกุลได้