มีรายงานจาก น.ส.วจนา วรรลยางกูร หรือ เตย ซึ่งได้ออกมาเปิดเผยว่า วัฒน์ วรรลยางกูร ผู้เป็นพ่อ ได้เสียชีวิตแล้วประมาณช่วงเวลา 21.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพบว่าเพื่อนๆ สนิท มิตรสหายและคนที่รู้จัก ได้เข้ามาแสดงความเสียใจกับข่าว วัฒน์ วรรลยางกูร ผู้ลี้ภัย ม.112 เสียชีวิต เป็นจำนวนมาก
สำหรับ วัฒน์ วรรลยางกูร เป็นนักเขียนและกวีชื่อดัง เกิดวันที่ 12 มกราคม 2498 ปัจจุบัน อายุ 67 ปี ที่ ต.ตะลุง อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยที่วัฒน์มีผลงานมากมายทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทกวี เพลง และสารคดี ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักคือเรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ ที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ และเนื่องด้วยผลงานที่โดดเด่นของ วัฒน์ วรรลยางกูร ทำให้เขาได้รับรางวัลศรีบูรพาเมื่อปี พ.ศ. 2550
นอกจากนี้ วัฒน์ วรรลยางกูร ถือเป็นนักกิจกรรมและนักขับเคลื่อนสังคม เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้ร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก่อนที่จะลี้ภัยเข้าป่า จนกระทั่งเมื่อเหตุการณ์คลี่คลาย วัฒน์ก็ได้ออกมาและยึดอาชีพนักเขียน ซึ่งข่าวการจากไปของ วัฒน์ จึงทำให้มีผู้คนมากมายเข้ามาแสดงความเสียใจ รวมไปถึง อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกียวโต
-"ทนายกฤษณะ" เปิดปากครั้งเเรก เสียใจกับอนาคตลูก จนลูกเข้ามากอดให้กำลังใจ
-สาวสุดงง "โดนใบสั่งขับรถไม่คาดเข็มขัด" กระทั่งซูมดูในรูปชัดๆ
-นาทีระทึก "เครื่องบินโบอิ้ง 737" ดิ่งแนวตั้งลงสู่พื้นดิน ก่อนไฟลุกท่วมเขา
กระทั่ง ปี 2549 ภายหลังจากการรัฐประหารรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร วัฒน์ได้เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มเสื้อแดง และเมื่อเกิดการรัฐประหารในปี 2557 คสช. ได้ออกคำสั่งให้วัฒน์ไปรายงานตัว 2 ครั้ง เมื่อเขาไม่ไป จึงนำไปสู่การออกจับในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยกล่าวหาวาเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงละครเรื่อง เจ้าสาวหมาป่า
ต่อมา วัฒน์ ได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศกัมพูชาและลาว จนกระทั่งยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับสถานทูตฝรั่งเศสในลาว และได้สถานะผู้ลี้ภัยในที่สุด ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่ สหายภูชนะ สหายกาสะลอง และ นายสุรชัย แซ่ด่าน หายตัวไปและเสียชีวิต ก่อนพบตัวอีกครั้งที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในสภาพถูกยัดเสาปูนถ่วงน้ำ
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา วัฒน์ที่ร่วมชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องลี้ภัยเข้าป่า ช่วงนั้นเขามีโอกาสเขียนเรื่องสั้น บทกวี และนวนิยายมากมาย มีผลงานรวมเล่มออกมา 3 เล่ม คือ รวมเรื่องสั้นและบทกวี 2 เล่ม คือ “ข้าวแค้น” (2522) กับ “น้ำผึ้งไพร” (2523) ส่วนเล่มที่ 3 เป็นนวนิยายชื่อ “ด้วยรักแห่งอุดมการณ์” (2524)
ปี 2524 หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย วัฒน์กลับมาใช้ชีวิตนักเขียนทำงานหนังสือพิมพ์มาตุภูมิ ไฮคลาส และถนนหนังสือ ก่อนลาออกมาเป็นนักเขียนอิสระเต็มตัว เขียนนวนิยายเรื่อง “คือรักและหวัง” และ “จิ้งหรีดกับดวงดาว” ตีพิมพ์ในนิตยสารลลนา รายปักษ์ รวมถึงอีกหลายๆ เรื่อง เช่น บนเส้นลวด มนต์รักทรานซิสเตอร์ เทวีกองขยะ นอกจากนี้ ยังมีผลงานเรื่องสั้น สารคดี และบทสัมภาษณ์ตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ อีกมาก
ปี 2525 เรื่องสั้นชื่อ ความฝันวันประหาร ได้รับการเลือกสรรจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ให้เป็นเรื่องสั้นดีเด่นประจำปี หลังจากนั้นจึงเบนเข็มไปทำธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างกับภรรยาที่จังหวัดกาญจนบุรี ก่อนกลับไปทำงานนิตยสารอีกครั้ง เป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Good Life
และ ปี 2550 กองทุนศรีบูรพามอบรางวัลนักเขียนรางวัลศรีบูรพาให้กับวัฒน
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2562 ได้ออกมาเปิดเผยว่า วัฒน์ วรรลยางกูร เจอเนื้องอกที่ตับและต้องเข้ารับการผ่าตัด ต้องเจาะน้ำออกจากช่องท้องเป็นระยะๆ แต่ก็มีอาการโลหิตเป็นพิษ โคม่า และต้องรักษาตัวในไอซียู พร้อมกับที่ลูกๆ ได้บินมาที่ฝรั่งเศสเพื่อมาเยี่ยมดูอาการของพ่อ
ภาพจาก อ.วัฒน์ วรรลยางกูร