"จตุรงค์ สุขเอียด" วิเคราะห์คดี "แตงโม นิดา" ชี้จุดจบคนบนเรือ

24 มีนาคม 2565

"จตุรงค์ สุขเอียด" เผยประเด็นการเสียชีวิต "แตงโม นิดา" วิเคราะห์คดีเทียบเคียงกับคดีไหน และ จุดจบ 5 คนบนเรือ จะเป็นแบบไหน

จากกรณีการเสียชีวิตของ "แตงโม นิดา" ที่ตกเรือสปีดโบ๊ทจมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงกลางดึกวันที่ 24 ก.พ. 65 จนถึงวันนี้ก็ผ่านมา 1 เดือนแล้ว โดยหลายคนยังสงสัยถึงกลุ่มเพื่อนบนเรือในวันนั้นและสาเหตุการตกเรือ ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเร่งรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสรุปคดี

จตุรงค์ สุขเอียด วิเคราะห์คดี แตงโม นิดา ชี้จุดจบคนบนเรือ

ล่าสุด "จตุรงค์ สุขเอียด" นักข่าวและพิธีกรชื่อดัง ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊กระบุว่า วันนี้ครบ 30 วันที่แตงโมตกเรือจนเสียชีวิต แต่ตำรวจยังสรุปสำนวนคดีไม่ได้ ว่า จะตั้งข้อหาฆาตกรรมกับคนบนเรือสักคนได้หรือไม่ ที่ตั้งไปแล้ว คือ เจ้าของเรือ ขาดต่อทะเบียน กับขาดอายุประกัน  ส่วนคนขับเรือ ฐาน ประมาท และไม่มีใบอนุญาต ที่เหลือ ยังเป็นผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์

จตุรงค์ สุขเอียด วิเคราะห์คดี แตงโม นิดา ชี้จุดจบคนบนเรือ

มีคนถามผมว่า คดีแตงโม พอจะเทียบเคียงได้กับคดีไหนได้บ้าง เอาเร็วๆ 2 คดีที่คนร่วมรุ่นจำได้ คือ 1.คดีเสือดำ และ2คือคดี บอส อยู่วิทยา เหตุที่ 2 คดีนี้ใกล้เคียง ก็เพราะผู้ก่อเหตุ รวย เหมือนกัน ถ้าเทียบคดีแตงโม กับคดีเสือดำ คือจนท.พบเจ้าสัวกับพวกเข้าป่า มีเพียงกลุ่มนี้เท่านั้นที่รู้ว่าใครทำอะไร ใครยิงเสือ ใครต้ม กินเนื้อเสือดำ ถ้าหัวหน้าวิเชียร ไม่จับได้ คนพวกนี้คงลอยนวลไป แต่ภายหลังเจ้าสัวผิดเป็นเจ้าของปืน อ้าง ไม่ใช่คนยิง  เพราะอีกคนมารับแทนว่าเป็นยิงเสือดำ ความผิดจึงออกมาแบบที่เราเห็น จึงทำนองเดียวกับเรือเจ้าของไม่ได้ขับตอนแตงโมตกเรือ ส่วนคนขับทำให้ตกเรือเป็นอุบัติเหตุหรือมีประเด็นอื่น จึงเป็นที่ติดใจอยู่ ถ้า คนบนเรือ ไม่ยอมบอกท่าสุดท้าย ตำแหน่งที่ตกได้ สอดคล้องกับพยานแวดล้อม บาดแผลที่พบ  สำนวนคงปิดยากครับ  เพราะคนคงตามสาปแช่งตำรวจอีกคดีหนึ่ง

 

ส่วนที่มาใกล้กับคดีบอส คือ พฤติกรรมหลังเกิดเหตุ คดีบอสซิ่งรถซุปเปอร์คาร์ ชนตำรวจตายแล้วหนีเข้าบ้าน ไม่ลงมาดู เพราะมีพิรุธ ในตัว คล้ายคดีนี้ คือ แทนที่จะลงไปช่วยให้รายละเอียดกลับหลบไปตั้งหลัก จนสร่างเมา สร่างสารบางชนิดหรือไม่ คดีบอส ต่อมา พบว่า มีกระบวนช่วยเหลือกันเป็นทีมใหญ่ ใช้เงินหรือสัญญาให้ญาติ ตำรวจไม่อายัดตัวไว้ระหว่างสอบ เราพบเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานช่วย เปลี่ยนความเร็วรถ จากมากให้ช้าลง เปลี่ยนผลตรวจหาสารเสพติด เปลี่ยนวงจรปิด...  เปลี่ยนสำนวน แก้คำให้การพยาน จนถึงการช่วยเหลือของอัยการบางคนจะตัดคดี ไม่ส่งฟ้องไปศาล ตำรวจ ต.ม.ไม่อายัดตัว  จนไม่มีใครรู้ว่าผู้ต้องหาออกไปทัวร์ยุโปนานแล้ว คดีบอสจึงสร้างนักสืบโซเชียลขึ้นมาอีกคดี เพราะเขาไม่เชื่อถือตำรวจที่ทำคดีให้คนรวยๆ ให้ยุติธรรมได้ จาก2ตัวอย่างนี้

จตุรงค์ สุขเอียด วิเคราะห์คดี แตงโม นิดา ชี้จุดจบคนบนเรือ

แต่ถ้าถามต่อว่า คดีแตงโม จบแบบไหนก็ขอบอก คนบนเรือทั้ง 5 ว่า ถ้าคดีนี้ตำรวจสรุปสั่งไม่ฟ้องคดีฆาตกรรมกับใครเลยแน่นอนคดีไม่ถูกส่งให้ศาลพิพากษาโทษ ทั้งที่คนๆหนึ่งต้องเสียชีวิตได้ด้วยความคลุมเครืออยู่เช่นนี้ แม้ไม่ต้องติดคุก แต่ท่านจะขาดอิสรภาพไปยาวนานไร้การพักโทษ ต้องไม่ลืมว่า มีคน 2 กลุ่มตัดสินโทษได้

1. คือ ผู้พิพากษา 2.สังคม(พิพากษา)​

ถ้าสังคมพิพากษา นั้น คุณจะไม่ได้รับการปลดปล่อยไปชั่วชีวิต คุณจะถูกสังคมตราหน้า ไปตลอด ทั้งลูกๆหลานๆ แม้ไม่ติดคุก แต่สายตาของคนที่เดินผ่านคุณไปแต่ละคู่จะกักขังคุณ ไม่ต่างจากลูกกรง การเดินอยู่ในสังคมที่พิพากษา นั้นยาวนานกว่า การติดคุกแล้วออกมา มากมายนัก

แต่การจะให้สังคม เข้าใจก็ทำได้ไม่ยาก เพียง ใครสักคนใน 5 คนกล้า ออกมาตั้งโต๊ะ พูดแต่ความจริงทั้งหมดแบบไร้การปรุงแต่ง พูดสิ่งที่เกิดขึ้นจริง.. แก้คำพูดที่ไม่จริง  บอกความจริงทั้งหมดบนเรือ ทั้งก่อนลงเรือ อยู่บนเรือ หลังเกิดเหตุ  แม้ความจริงใหม่จะทำให้คุณสักคนติดคุก  แต่ผมเชื่อว่า คนที่ติดคุก(ถ้ามี)​แต่วันที่ ได้ออกมาคนๆนั้น จะเป็นคนแรก ที่ได้รับอิสรจากสังคม เพราะฉะนั้น ความจริงจึงเป็นเครื่องมือเดียวเท่านั้นที่สังคมต้องการและรอคอยจากคนทั้ง 5 และคือทางสู่อิสรภาพ

จตุรงค์ สุขเอียด วิเคราะห์คดี แตงโม นิดา ชี้จุดจบคนบนเรือ

จตุรงค์ สุขเอียด วิเคราะห์คดี แตงโม นิดา ชี้จุดจบคนบนเรือ

 

ขอบคุณ จตุรงค์ สุขเอียด