"SIEMENS MOBILITY" กับบริการที่นานกว่า 20 ปีในประเทศไทย

28 มีนาคม 2565

SIEMENS MOBILITY กับบริการที่นานกว่า 20 ปีในประเทศไทย ให้บริการครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2542 ศูนย์กลางของธุรกิจที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 600,000 คนต่อวัน

 

    Siemens Mobility ให้บริการครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2542ถือเป็นองค์กรที่ให้บริการและอยู่คู่กับประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครเมืองหลวงและศูนย์กลางของธุรกิจที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 600,000 คนต่อวัน


Siemens Mobility ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนการเดินทางของคนไทยให้ง่ายและสะดวกขึ้นตอบโจทย์ชีวิตคนในเมืองและลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพโดยมีบริการขนส่งที่รองรับการเดินทางหลายประเภทอาทิรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวและรถไฟฟ้ามหานคร MRT สายสีน้ำเงิน

"SIEMENS MOBILITY" กับบริการที่นานกว่า 20 ปีในประเทศไทย

   ปี 1999 รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวสายแรกเริ่มถือเป็นหนึ่งเรื่องราวความสำเร็จแรกของ Siemens Mobility ในฐานะที่เป็นการขนส่งแบบครบวงจรแห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย ซึ่ง Siemens Mobility ได้มีส่วนในการปรับปรุงระบบของ BTS ให้ทันสมัยโดยการใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบรางอัตโนมัติตั้งแต่การเปิดให้ใช้บริการครั้งแรกประกอบไปด้วยสถานีทั้งหมด 59 สถานีรวม 2 เส้นทางคือสายสุขุมวิทให้บริการจากเคหะสมุทรปราการถึงคูคตและสายสีลมให้บริการจากบางหว้าถึงสนามกีฬาแห่งชาติ จากนั้น Siemen Mobility ก็ยังคงเร่งพัฒนาเพื่อการันตีมาตรฐานและมั่นใจว่าตลอดระยะเวลาถึงปี 2572 รถไฟฟ้า BTS มากกว่า 99% สามารถใช้งานได้แล้วทุกขบวน


ปี 2004 Siemens Mobility ยังได้ให้บริการขนส่ง MRT หรือรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2547ซึ่งปัจจุปันรวมสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทั้งหมดมี 38 สถานีประกอบไปด้วยช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ,ช่วงหัวลำโพง - บางแค, ช่วงบางซื่อ – ท่าพระซึ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับรวมถึงโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link and City Air Terminal)ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารภายในเมืองที่จะเดินทางไปยังท่าอากาศยานได้สะดวก รวดเร็วและคล่องตัวรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมากถึง 14,000 - 50,000 คนต่อวันโดยทาง Siemens Mobility ได้ออกแบบและติดตั้งโครงการนี้ช่วงเริ่มต้นและในปีพ.ศ. 2559 ถึงปี 2564 ได้ซ่อมบำรุงในส่วนของระบบอาณัติสัญญาณ

"SIEMENS MOBILITY" กับบริการที่นานกว่า 20 ปีในประเทศไทย


   ปี 2020 Siemens Mobility มีบริการขนส่งระบบรางอื่นๆที่อำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่เปิดใช้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2563 ที่ผ่านมาคือโครงการรถไฟทางคู่

“จิระ - ขอนแก่น” ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ทาง Siemens Mobility ได้เข้าดูแลงานออกแบบและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมระยะทาง 187 กิโลเมตร 26 สถานีโดยโครงการนี้จะเป็นรากฐานสำคัญในการขยายโครงข่ายสายทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วอีสานและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่อไป

"SIEMENS MOBILITY" กับบริการที่นานกว่า 20 ปีในประเทศไทย


และอีกโครงการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ(Automated People Mover: APM) ซึ่งจะพร้อมใช้บริการในปี 2565 นี้ถือเป็นรถไฟฟ้ารางเบาล้อยางไร้คนขับคันแรกของประเทศไทย
ที่ผลิตโดย Siemens Mobilityนำมาวิ่งใต้อุโมงค์เพื่อเชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเดิมกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซทเทิลไลท์ 1 (SAT-1)ใหม่ที่สร้างขึ้นเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารนั่นเอง