เมื่อเร็วๆนี้ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT)เครือข่ายความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)(TGO)ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนเทคนิควิชาการในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและขับเคลื่อนให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจก ในรูปแบบต่างๆ ได้ร่วมกันจัดสัมมนาออนไลน์ Pathway to Net Zeroแนวทางและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการมุ่งสู่เป้าหมายNet Zero เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจให้เตรียมความพร้อมในการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์กรและเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net-Zero
นางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดปัญหาแก่เราทุกคน ตามรายงานของ IPCC ที่ระบุว่า ภายในปี ค.ศ. 2050 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างน้อย 10% ของมูลค่าเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน หากเราแก้ปัญหาไม่ดีพอในปีนี้จึงเป็นปีสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องเดินหน้าสู่เป้าหมาย
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) อย่างจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจทั่วโลก กำลังเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับเรื่องนี้ จึงเป็นความจำเป็นที่องค์กรธุรกิจไทยจะต้องบริหารจัดการกับโอกาสและความเสี่ยง รวมถึงสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องตามบริบทเป้าหมาย
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยและบริบทของโลกด้วย
ด้าน นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกฯ กล่าวว่าในระดับองค์กร การตั้งเป้าหมายมุ่งสู่ Net Zero GHG เป็นทิศทางที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อปรับตัวและรับมือกับกระแสดังกล่าว ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญ ก็คือจะต้อง กำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือ Science-based Target ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดแนวทางหรือ Pathway และกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้าน Climate Actions ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Highlight ของงานอยู่ในช่วงการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อบรรลุเป้าหมายCarbon Neutrality-Net Zero ของประเทศไทย ซึ่งมีนายสรณัญช์ชูฉัตร CEOETRAN Company Limited
นายชลธาไกรวัตนุสสรณ์ Business Manager Genius Integrated Solution Company Limitedและนางสาวศิรภัสสรสกุลวิวรรธน์ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ หนึ่งในองค์กรสมาชิก GCNTเข้าร่วมในเวที
นางสาว ศิรภัสสรสกุลวิวรรธน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ได้เปิดเผยถึงแนวทางสู่เป้าหมาย Net Zero ของซีพีเอฟว่า ได้ดำเนินงานผ่านห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดที่เรียกว่า “Sustainable Food System หรือระบบอาหารที่ยั่งยืน” โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักร การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดการลดใช้พลังงาน และการส่งเสริมการใช้
พลังงานหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นคาร์บอนต่ำ ส่วนที่สองคือกระบวนการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Removal)โดยเริ่มจากนโยบายการสนับสนุนการยุติการตัดไม้ทำลายป่า เช่น Biodiversity and Zero DeforestationCommitment และSustainable Sourcing Policy และมีการฟื้นฟูป่า ฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เป็นแหล่งเพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อไป
ในงานนี้GCNT ยังได้แสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำความยั่งยืนของภาคธุรกิจในการจัดการกับความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการติดอาวุธสำคัญ คือ การสร้างความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ การเตรียมความพร้อมในการรับมือ ทั้งมุมมองของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และการแสวงหาโอกาสในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระดับโลกโดยมีหลักสูตรClimate Ambition Accelerator เป็นหลักสูตร 6 เดือนที่เตรียมพร้อมสำหรับองค์กรสมาชิกจำนวนกว่า 90 องค์กรที่ต้องการสร้างความก้าวหน้าในการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิทยาศาสตร์และสร้างเส้นทางเพื่อให้บริษัทเปลี่ยนผ่านไปสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกทุกชนิดสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero GHG ในปี ค.ศ. 2065