สภาองค์การนายจ้าง ยื่นหนังสือ รมว.แรงงาน คัดค้านปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 492 อีกหนึ่งประเด็นที่ประชาชนจับตาอย่างมาก หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีมาตรการว่า จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 492 บาท นั้น ล่าสุด สภาองค์การนายจ้างฯ ยื่นหนังสือ ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำช่วงนี้ ถ้าจะขึ้นให้ภาครัฐเป็นผู้กำหนด แต่ย้ำไม่เห็นด้วย ขึ้น 492 บาททั่วประเทศ
ตามรายงานระบุว่า ดร.ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ ในโอกาสนำตัวแทนคณะสภาองค์การนายจ้างฯ ซึ่งมี สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ สภาองค์การนายจ้าง สภาอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจการค้าและบริการไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจและอุตสาหกรรมแห่งชาติ
และสมาคมนายจ้าง 40 - 50 สมาคมนายจ้าง เข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำตามความเป็นจริงและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นจาก 331 บาทเป็น 492 บาททั่วประเทศ ค้านค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาท
โดยนายสุชาติ กล่าวว่า การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้งนั้น มีคณะกรรมการค่าจ้าง หรือ บอร์ดค่าจ้าง ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรไตรภาคีทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง พิจารณาและปรึกษาหารืออย่างรอบคอบ ก่อนจะได้ข้อยุติร่วมกัน แม้ว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงปัจจุบันแล้ว ในปี 2565 คณะกรรมการค่าจ้างได้กำหนดแผนการทบทวนความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพมหานครให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด จากนั้นคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณาข้อมูลทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2565 ค้านค่าแรงขั้นต่ำ 492
ดร.ทวีเกียรติ ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ ระบุต่อไปว่า สภาองค์การนายจ้างฯ มีมติ ยังไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ผู้ประกอบการนายจ้างบางประเภทต้องหยุดกิจการชั่วคราว แรงงานขาดแคลน ซึ่งสถานการณ์โควิด-ยังไม่ดีขึ้น กลุ่มนักท่องเที่ยวยังไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเต็มรูปแบบ
ตลอดจนสถานการณ์สู้รบของประเทศเพื่อนบ้านและสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน รัสเซียยังไม่นิ่ง กรณีจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจึงขอให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดเนื่องจากสภาองค์การนายจ้าง และ สมาคมนายจ้าง ยังไม่เห็นสมควรขึ้นในช่วงนี้ และเห็นสมควรให้คณะกรรมการไตรภาคี โดยฝ่ายภาครัฐเป็นผู้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นผู้นำเสนอ