จากกรณี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน โดยโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ข้อความระบุข้อความว่า
โควิด 19 วัคซีน ชนิดโปรตีนซับยูนิต (protein subunit)
ยง ภู่วรวรรณ 7 พฤษภาคม 2565
ขณะนี้ประเทศไทย มีวัคซีนชนิดที่ 4 มาใช้ให้กับประชากรไทย เป็นโปรตีนซับยูนิต คือวัคซีน Covovax จากประเทศอินเดีย เป็น วัคซีน ที่ได้ลิขสิทธิ์และวิธีการทำเหมือนวัคซีน Novavax ของประเทศสหรัฐอเมริกา
โปรตีนซับยูนิต ที่ใช้ทำวัคซีนโควิด ไม่ใช่หลักการใหม่ วัคซีนนี้ มีใช้อยู่แล้ว เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ใช้กันมากมาย
แต่โควิด 19 สไปรท์โปรตีน จะมีขนาดใหญ่ การกระตุ้นภูมิต้านทาน จึงจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ ที่จะเป็นตัวช่วยเสริม คือใช้ adjuvant หรือสารเร่งเสริมกระตุ้นภูมิต้านทาน มาเป็นตัวประกอบ
โปรตีนซับยูนิต วัคซีนของจีน ZF2001, มีชื่อการค้า Zifivax พัฒนาโดยบริษัทAnhui Zhifei Longcom ใช้สารกระตุ้นภูมิต้านทานเป็น alum จึงกระตุ้นภูมิต้านทานได้ไม่ดี การฉีดจึงต้องใช้ถึง 3 เข็ม และภูมิที่ได้ก็ไม่ได้สูงมาก
วัคซีนที่จะพูดคือ Novavax และ Covovax ที่มีใช้ในประเทศไทย ใช้หลักการเดียวกัน ให้สิ่งมีชีวิตสร้างโปรตีน เหมือนของสไปรท์โปรตีนของไวรัส covid
-หมอยง เปิดผลการศึกษา ภูมิต้านทานวัคซีนเข็มกระตุ้น ต่อ โอมิครอน BA.1 และ BA.2
-หมอยง เผยเด็กกลุ่มไหนติดเชื้อโควิด-19 เสี่ยงรุนแรง แนะวิธีรับช่วงเปิดเทอม
-"หมอยง" เผย สถานการณ์ "โควิด-19" ก่อนกลายเป็น "โรคประจำถิ่น"
จุดสำคัญของวัคซีนนี้คือสารเร่งกระตุ้นภูมิต้านทาน (adjuvant) จะใช้ Matrix M adjuvant เป็น saponin ได้จากเปลือกไม้ ต้น Molina เป็นสิ่งใหม่ และพึ่งมาใช้ในวัคซีนนี้ ส่วนของ adjuvant นี้ หรือสารเร่งกระตุ้นภูมิต้านทาน ยังไม่เคยใช้ในมนุษย์มาก่อน จึงได้มีการศึกษาตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3 และมีการนำมาใช้แล้ว การใช้เป็นเข็มกระตุ้นยังมีข้อมูลไม่มาก จะเห็นว่าวัคซีนนี้ผ่านระยะที่ 3 มาร่วมปีครึ่งแล้ว เพิ่งจะมีการนำมาใช้จริง
วัคซีนอีกตัวหนึ่ง ที่จะต้องพูดถึง คือ วัคซีนใบยาสูบ โปรตีนที่สร้างจากใบยาสูบ คือวัคซีนของบริษัท Medicago ประเทศแคนาดา วัคซีนนี้มีชื่อทางการค้าว่า Covifenz ใช้ สารกระตุ้นภูมิต้านทาน ASO3 ของบริษัท GSK ตัวกระตุ้นภูมิต้านทานนี้ใช้มาแล้วอย่างแพร่หลาย ในวัคซีนมะเร็งปากมดลูก กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง และมีความเชื่อมั่นในเรื่องของความปลอดภัย และผ่านการทดลองระยะที่ 3 เรียบร้อยแล้ว มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรค ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ลดความรุนแรงของโรคในระดับปานกลางและรุนแรงได้ถึงร้อยละ 78.8 %
อุปสรรคในการทำวัคซีนจากโปรตีน ไม่ได้อยู่ที่การสร้างโปรตีนจากสิ่งมีชีวิต ปัญหาใหญ่อยู่ที่สารช่วยเสริมสร้าง กระตุ้นภูมิต้านทาน (adjuvant) ที่ใช้กันอยู่ ประสิทธิภาพดี จะติดลิขสิทธิ์ เช่น Matrix M, ASO3 ในส่วน Matrix M เป็นสิ่งใหม่ เพิ่งเริ่มใช้ในมนุษย์ จะต้องมีการติดตามเรื่องความปลอดภัยด้วย