จากกรณี กรณีครม.ไฟเขียว "ประกันสังคม" ผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินชราภาพใช้ก่อนได้ไม่ต้องรอเกษียณ โดยเป็นการขอเลือก ขอคืน และขอกู้ รวมทั้งการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีอื่น สำหรับ วิธีคำนวน "เงินบำนาญชราภาพ" สำหรับผู้ประกันตน มีวิธีคำนวณอย่างไรนั้น มาดูกัน
สำหรับวิธีการคำนวณ "เงินบำนาญชราภาพ" เพื่อใช้สำหรับการขอคืนเงินออกมาใช้ในวิกฤตฉุกเฉิน ดังนี้
- ผู้ประกันตนนำเงินชราภาพออกมาให้ได้ก่อนไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินชราภาพที่มีสิทธิได้ทั้งหมด
จำนวนเงินชราภาพทั้งหมด x 30% (ตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th)
ตัวอย่าง : 150,000x 30% = 45,000 บาท
- ไม่เกิน 2 เท่าของค่าจ้างสูงสุดที่ให้ในการคำนวณในอัตราสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ตัวอย่าง : 15,000x 2 = 30,000 บาท
สำหรับวิธีการคำนวณ "เงินบำนาญชราภาพ" ประกันสังคมมาตรา 33 มีดังนี้
เงินบำนาญ คือ เงินกรณีชราภาพที่ประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนรายเดือนตลอดชีวิต ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และจะบวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน
-วิธีการคำนวณ (กรณีจ่ายครบ 15 ปี )
20 x 15,000/100 เท่ากับ 3,000 บาท
- วิธีการคำนวณ (กรณีจ่ายเกิน 15 ปี )
20+(1.5xจำนวนปี)/100x15,000
อัตราเงินเงินชราภาพที่ผู้ประกันตนจะได้รับตามระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ การคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท
-ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 20.00-27.50% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000-4,125 บาท/เดือน
-ส่งเงินสมทบ 21-25 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 29.00-35.00% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 4,350-5,250 บาท/เดือน
-ส่งเงินสมทบ 26-30 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 36.50-42.50% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 5,475-6,375 บาท/เดือน
-ส่งเงินสมทบ 31-35 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 44.00-50.00% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 6,600-7,500 บาท/เดือน