ดร.อนันต์ เผยทีมวิจัยออสเตรเลีย พบโอมิครอน BA.5 เข้าสู่เซลล์แบบเดลต้า

12 มิถุนายน 2565

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา เผยทีมวิจัยออสเตรเลีย พบโอมิครอน BA.5 ใช้วิธีเข้าสู่เซลล์แบบเดียวกับเดลต้า ลงปอดได้สูง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค ได้เผยผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ทีมวิจัยจากออกเตรเลียได้พัฒนาระบบเซลล์เพาะเลี้ยงไวรัส SARS-CoV-2 ที่สามารถแยกจับเชื้อปริมาณน้อยๆจากตัวอย่างออกมาได้ โดยทีมวิจัยใช้เซลล์ดังกล่าวในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสในประเทศแบบไวๆ โดยอาจไม่ต้องเสียเวลาถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส ซึ่งแพงและใช้เวลา งานนี้เพิ่งตีพิมพ์ไปในวารสาร Nature Microbiology

ดร.อนันต์ เผยทีมวิจัยออสเตรเลีย โอมิครอน BA.5 เข้าสู่เซลล์แบบเดลต้า

หลังจากตีพิมพ์ไปหัวหน้าทีมวิจัยก็ออกมาทวิตผลจากระบบที่ใช้ตรวจสอบไวรัสบอกว่า ไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ที่แยกได้ในประเทศให้ลักษณะของการติดเชื้อเหมือนเดลต้า แต่ไม่เหมือนกับโอมิครอน BA.1 พูดง่ายๆว่าถ้าไม่ตรวจสอบรหัสพันธุกรรม คงอาจสับสนว่า เดลต้ากลับฟื้นมาระบาดใหม่อีกรอบ

ดร.อนันต์ เผยทีมวิจัยออสเตรเลีย โอมิครอน BA.5 เข้าสู่เซลล์แบบเดลต้า

 

สาเหตุที่ BA.5 กลับมาติดเซลล์แล้วรูปร่างของเซลล์เหมือนติดเดลต้า เป็นเพราะ BA.5 ใช้วิธีเข้าสู่เซลล์แบบเดียวกับเดลต้าคืออาศัยเอนไซม์ที่ผิวเซลล์ชื่อว่า TMPRSS2 ในการเข้า ในขณะที่โอมิครอนตัวอื่นคือ BA.1 และ BA.2 ไม่ได้ใช้เอนไซม์ตัวนี้ ความแตกต่างดังกล่าวจึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ใช้อธิบายว่า BA.1 และ BA.2 ทำไมถึงติดเซลล์ปอดได้ไม่ดีเท่าเดลต้า การที่พบ BA.5 อาจเปลี่ยนวิธีเข้ากลับมาใช้ TMPRSS2 ในการเข้าจึงสร้างความน่าสนใจในวงการว่า ไวรัสอาจมีคุณสมบัติที่ไม่ลดความรุนแรงลง และ เนื่องจาก BA.4 มีสไปค์เหมือนกับ BA.5 ทุกตำแหน่ง คาดว่า BA.4 ก็น่าจะใช้วิธีการแบบเดียวกัน...ดูจะสอดคล้องกับผลที่ทีมญี่ปุ่นทดสอบในแฮมสเตอร์พบว่า BA.4/BA.5 ลงปอดหนูได้ดีกว่า BA.2

ดร.อนันต์ เผยทีมวิจัยออสเตรเลีย โอมิครอน BA.5 เข้าสู่เซลล์แบบเดลต้า

 

ขอบคุณ FB : Anan Jongkaewwattana