กลายเป็นที่ฮือฮาสำหรับใครที่เป็นสายแต่งหน้า ต้องรู้จักกันดีกับเครื่องสำอางแบรนด์ดัง เรฟลอน (REVLON) ที่มีมายาวนานกว่า 90 ปี ล่าสุด ก็มีรายงานข่าวว่า เรฟลอน อิงค์ ยื่นพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลล้มละลายในรัฐนิวยอร์ก เมื่อวันพุธ 15 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา เนื่องจากประสบปัญหาซัพพลายเชน หนี้ปริมาณมาก และการแข่งขันจากคู่แข่งในตลาด
ตามรายงานระบุว่า บริษัท REVLON ได้ยื่นล้มละลายใน มาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลายแห่งสหรัฐ ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับซัพพลายเชนและปัญหาเงินเฟ้อ ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยอดขายลดลงและผลกำไรไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์พร้อมหนี้สินสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเงินมหาศาล
ซึ่ง บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอาง ยังเผยอีกว่า การยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ครั้งนี้จะได้รับเงิน 575 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 20,200 ล้านบาท เพิ่มเติมจากผู้ปล่อยกู้รายปัจจุบัน เพื่อทำให้การบริหารงานแบบวันต่อวันดำเนินต่อไปได้เช่นเดิม เรฟลอนล้มละลาย
ทางด้าน เดบรา เพอเรลแมน ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของเรฟลอน อิงค์ เผยว่า ความต้องการสินค้าของเรฟลอนจากผู้บริโภคยังคงสูง แต่สาเหตุที่ทำให้บริษัทมาอยู่ในจุดนี้ที่มีหนี้มหาศาลเป็นเพราะโครงสร้างทางการเงินในขณะนี้ที่มีความท้าทาย REVLOล้มละลาย
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
นอกจากนี้ เรฟลอน อิงค์ ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งทั้งที่เป็นบริษัทใหญ่ อย่าง พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล และเครื่องสำอางจากแบรนด์ของคนดัง อย่างเช่น แบรนด์ ไคลี่ ของไคลี เจนเนอร์ และเฟนตี บิวตี้ ของอดีตนักร้องชื่อดัง ริฮานนา ที่ไม่ต้องใช้เงินในการทำการตลาดมาก เพราะมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียจำนวนมากอยู่แล้ว
โดยยอดขายของเรฟลอนยังถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด ที่เกิดการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ที่ทำให้การจับจ่ายในศูนย์การค้าซบเซา ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริโภคต้องสวมหน้ากากอนามัย ส่งผลให้ยอดขายลิปสติกลดลงอย่างหนักถึง 21% มาอยู่ที่ 1,900 ล้านดอลลลาร์เมื่อปี 2563 ก่อนฟื้นตัว 9.2% มาอยู่ที่ 2,080 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2565
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
โดยตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เรฟลอน และแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก ก็เผชิญกับการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าที่ป้อนเข้าสู่ระบบการผลิต ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน
ภาระหนี้ของบริษัทได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นภาระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่บริษัทขายเงินกู้และพันธบัตรมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นเงินทุนในการเข้าซื้อกิจการของ Elizabeth Arden ในปี 2016 บริษัทยังเป็นเจ้าของแบรนด์ต่างๆ เช่น Cutex และ Almay และตลาดในกว่า 150 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ชี้แจงเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป การแบ่งส่วนทางการตลาดจึงมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ยอดขายของ REVLON จึงค่อยๆ ลดลงและทำให้บริษัทขาดทุนในที่สุด