ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์

21 มิถุนายน 2565

เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่ เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ ใบสั่งจราจรออนไลน์ เริ่มบังคับใช้เเล้ววันนี้ ใครโดนใบสั่ง ไม่จ่ายค่าปรับ ดองใบสั่งเกินกำหนด อาจะโดนหมายจับส่งถึงบ้าน ptm.police.go.th


  เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  ใครโดนใบสั่ง เเล้วไม่จ่ายค่าปรับ ดองใบสั่งไว้จนเกินเวลาที่กำหนด เตรียมส่งหมายจับไปถึงบ้าน มีผลเริ่มบังคับใช้เเล้ว  โดย กรณี กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจร และไม่มาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่ ใบสั่งจราจรออนไลน์ ptm.police.go.th

   ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรแล้วไม่ไปชำระค่าปรับจำนวนมาก และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำๆ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและ เกิดปัญหาการจราจร สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศ 

 

ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่
กองบัญชาการตำรวจนครบาล จึงได้กำหนดมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยจราจร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุและปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครได้ในระดับหนึ่ง โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1.เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งจราจรให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
ทั้งแบบความผิดซึ่งหน้าและความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่
2.กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง โดยให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง


ซึ่งในขั้นตอนที่ 1. และ 2. ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ, ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารกรุงไทย, เค้าเตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษญ์ PTM และทางไปรษณีย์

ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่
3.กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้งจะขอออกหมายจับ ทางพนักงานสอบสวนจะ ยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับ

4.กรณีถูกออกหมายเรียก หรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหา
ที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ม.141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หมายจับไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ตามข้อ 2. ได้

ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่
5.ผลของการถูกออกหมายฉับในคดีอาญา เมื่อถูกออกหมายจับแล้ว จะถูกบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  

-เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวบุคคลที่มีหมายจับได้ทั่วราชอาณาจักร โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมฐานข้อมูล

ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่
-หากบุคคลที่มีหมายจับเดินทางออกนอกประเทศจะถูกจับ และเกิดความยากลำบาก ในเรื่องการเดินทาง

-ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติซึ่งอาจส่งผลต่อการประกอบอาชีพการทำงาน กรณีที่หน่วยงานสอบถามประวัติคดีอาญาว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับ

-เกิดความยากลำบากและความน่าเชื่อถือในการทำนิติกรรม

ใบสั่งออนไลน์ ไม่จ่ายค่าปรับส่งหมายจับถึงบ้าน เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์  เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่

  กรณีผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองหรือถูกจับกุม และยินยอมเปรียบเทียบปรับให้คดีอาญาเลิกกันหากประชาชนมีข้อสงสัยว่ามีใบสั่งค้างชำระหรือไม่

 

   เปิดวิธีเช็กใบสั่งออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้ผ่านช่องทาง เช็กใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน https://ptm.police.go.th/eTicket/#/ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197

เช็กใบสั่งออนไลน์ได้ที่นี่