นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า "อย่า" ในครึ่งปีหลังของ 2565 กับโอไมครอน (และอื่นๆ)
หมอดื้อ
อย่าทนงตนว่าเป็นหนุ่มสาวหรือไม่มีโรคประจำตัว แล้วไม่เป็นไร
* นอกจากจะเป็นตัวแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพแล้ว ที่สำคัญแพร่ไปยัง คนสูงวัย คนเปราะบาง ในครอบครัว ในชุมชน เราเห็นกันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในโรงพยาบาลขณะนี้ คนที่ดูแข็งแรงอายุ 40 ปี อาการหนักได้
อย่าคิดว่าเมื่อติดเชื้อแล้วและเริ่มมีอาการจะรักษาง่ายๆ
* กลไกของการติดเชื้อเมื่อเข้าร่างกายแล้วจะเพิ่มจำนวน และถ้า "หยุดยั้งไม่ได้หรือไม่ทัน" เชื้อจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกระบบที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง
* จากผลของการอักเสบจะกระทบทุกอวัยวะในร่างกาย และรวมทั้งทำให้เลือดข้น เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ทั่วไปด้วย
อย่าคิดว่ามียาต้านไวรัสแค่นั้นก็พอ
* เพราะ ยาต้านขณะนี้ การเข้าถึง ยังไม่เร็วพอ เนื่องจากคนติดเชื้อมีหนาแน่น โรงพยาบาลเต็ม สายด่วนรับไม่ทัน
* ยาต้านขณะนี้ จำเป็นต้องจ่ายเอง อย่างน้อยก็ตามสิทธิ และต้องผ่านการประเมิน ว่าสมควรได้ เช่น กลุ่ม 608
* ยามอลนูพิราเวียจากนอกราคาชุดละ 10,000 บาทขึ้นไป
* ชุดที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เขมร ที่ขอสิทธิ ผลิตเองจากบริษัทตั้งแต่ต้น และอินเดีย ราคา ประมาณ 1,000 บาท แต่ร้านยาจำหน่ายไม่ได้ เพราะผืดกฎหมาย
* ยาเหล่านี้ ที่สำคัญต้องให้เร็ว ตั้งแต่ยังไม่หนัก เพื่อกันไม่ให้ต้องเข้า โรงพยาบาล ดังนั้น อยู่ที่การดำเนินของโรค และการตัดสินใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
* ดังนั้น เวลาที่ผ่านไป ยาจะเริ่มได้ผลจำกัด
* นั่นเป็นเพตุผลที่ การเริ่มด้วยฟ้าทะลายโจรตั้งแต่แรก (ไม่ต้องรอ 2 ขีด) จึงสำคัญยิ่ง
* และเชื้อ เมื่อเพิ่มจำนวน จะเข้าระยะที่สอง คือกระตุ้นภูมิไม่ดี และเกิดการอักเสบ
* เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นจำเป็นต้องให้ยากดการอักเสบ ซึ่งทำให้ติดเชื้ออื่นได้ง่ายขึ้นจากการกดภูมิคุ้มกันและปอดอักเสบที่เห็นนั้น จะกลายเป็นทั้งจากไวรัสและแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้
อย่าคิดว่า ถ้าตัวเลขลดลงหมายความว่าต่อไปนี้ไม่ต้องระวังตัวแล้ว
* ต้องเข้าใจข้อจำกัดของการที่จะตรวจให้ได้ทุกคนในทุกพื้นที่ของประเทศ แม้ว่าตัวเลขจะลดลงก็ตามยังคงมีผู้ติดเชื้อที่ไม่รู้ตัวและไม่แสดงอาการอยู่ทั่วไปได้
อย่าเข้าไปในสถานที่แออัด ที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
* สถานที่ดังกล่าวและยิ่งมีคนที่แพร่เชื้อได้หลายคน โอกาสที่จะได้รับเชื้อยิ่งสูงขึ้นและจำนวนเชื้อมากขึ้นตั้งแต่ต้น เชื้อที่อยู่กับละอองฝอยจะอบอวลอยู่ในอากาศได้นาน และแม้เมื่อตกพื้นไปแล้วการเดินจะกระพือให้ละอองฝอยเหล่านี้ลอยขึ้นอีก (จากข้อมูลของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2563)
อย่านิ่งนอนใจในภาวะโรคประจำตัวทุกอย่าง ต้องคุมให้ได้
* โรคประจำตัวจะเปิดโอกาสทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เกี่ยวข้องกับกลไกในการรับเชื้อและการเพิ่มจำนวนของเชื้อได้เก่งขึ้น นอกจากนั้น โรคประจำตัวหลายชนิดจะมีลักษณะของการเอื้อให้เกิดมีการอักเสบในร่างกายอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ การอักเสบของข้อ การรักษาจะยิ่งซับซ้อนขึ้น ทั้งจากโควิดเอง และโรคประจำตัวที่ปะทุซ้ำซ้อนขึ้น
* โควิด ปะทะกับโรคประจำตัว ที่แม้คุมมาอย่างดีเยี่ยม ยังทำให้ โรคปะทุใหม่ได้ คนที่เป็นมะเร็ง รักษามาดี อัมพฤกษ์ หัวใจปอด
ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews