ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 "ประกันสังคม" ผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันคนมาตรา 40 เตรียมจ่ายเงินสมทบเต็มอัตรา หลังจากที่ได้ทำการลดอัตราเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ตั้งแต่เดือน พ.ค. - ก.ค. 65 อย่าลืม สิงหานี้ ส่งเงินสมทบ "ประกันสังคม" เต็มอัตรา เช็คมาตราไหนเสียเท่าไหร่ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ต้องจ่ายเงินสมทบกี่บาท เงินสมทบม.40 เงินสมทบ ม.33 เงินสมทบ ม.39
ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เดือน พ.ค. - ก.ค. 65 ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1%
ผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9%
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ลงเหลือ 42 – 180 บาทต่อเดือน
ซึ่งมาตรการลดอัตราเงินสมทบสิ้นสุดไปแล้วในเดือนก.ค. 65 ทำให้ในเดือน ส.ค. 65 ผู้ประกันตนตามมาตราดังกล่าวต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมในอัตราเท่าเดิม คือ
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบ 750 บาม
ผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินสมทบ 432 บาท
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ส่งเงินสมทบ 70,100 และ 300 บาท
เช็ควิธีการคำนวณอัตราส่งเงินสมทบ "ประกันสังคม"
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ดังนี้
เงินเดือน 8,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 400 บาท ที่ต้องหักเข้าประกันสังคม
เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 บาท ที่ต้องหักเข้าประกันสังคม
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 วิธีคำนวณเงินสมทบ
เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 432 บาท
ผู้ประกันตนมาตรา 40
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาท/เดือน
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Tnews