ย้อนคำทำนาย แขกเลี้ยงวัว ผู้ทำนายดวงชะตา ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งยังทรงพระเยาว์
ย้อนคำทำนายแขกเลี้ยงวัว
ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2489 ปีนั้นนับเป็นปีแรกที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคล (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) และหม่อมเจ้าอัปสรสมาน เทวกุล) ต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่งรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ประจำสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ ได้ทรงพาหม่อมหลวงบัว กิติยากร (หม่อมหลวงบัว (สกุลเดิม สนิทวงศ์) เป็นธิดาของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี (คุณบาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)) ตลอดจนโอรสและธิดาทั้งหมด (ม.ร.ว.กัลยาณกิติ์ กิติยากร ม.ร.ว.อดุลกิติ์ กิติยากร ม.ร.ว.หญิงสิริกิติ์ กิติยากร และ ม.ร.ว.หญิงบุษบา กิติยากร) ไปอยู่ด้วย
กระทั่งในปี พ.ศ. 2490 จึงย้ายไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำประเทศเดนมาร์ก และมาที่ประเทศฝรั่งเศส ตามลำดับ สำหรับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์แล้ว ชีวิตในช่วงวัยเยาว์กระทั่งเติบโตเข้าสู่วัยสาวรุ่น เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการเดินทาง และหลากหลาย “สีสัน” อันเกิดจาก “ความเปลี่ยนแปลง” ทั้งที่เกิดขึ้นภายในตัวตน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก ในช่วงที่หม่อมหลวงบัวตั้งครรภ์หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์นั้น เป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
กระทั่งในปี พ.ศ. 2490 จึงย้ายไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำประเทศเดนมาร์ก และมาที่ประเทศฝรั่งเศส ตามลำดับ สำหรับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์แล้ว ชีวิตในช่วงวัยเยาว์กระทั่งเติบโตเข้าสู่วัยสาวรุ่น เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการเดินทาง และหลากหลาย “สีสัน” อันเกิดจาก “ความเปลี่ยนแปลง” ทั้งที่เกิดขึ้นภายในตัวตน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอก ในช่วงที่หม่อมหลวงบัวตั้งครรภ์หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์นั้น เป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
กระทั่ง วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ทารกน้อยธิดาคนแรกของหม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึงถือกำเนิดขึ้นที่บ้านของ “ท่านตา” นั่นเอง และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า “สิริกิติ์” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร” ทั้งนี้ โดยมีฐานันดรอยู่ในชั้น “หม่อมราชวงศ์” 3 เดือนหลังจากให้กำเนิดธิดา คือในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2475 นั้นเอง หม่อมหลวงบัวจึงได้เดินทางไปสมทบกับหม่อมเจ้านักขัตรมงคลที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. หม่อมราชวงศ์หญิงผู้เยาว์วัยจึงต้องอยู่ห่างไกลจากพระบิดาและพระมารดาตั้งแต่ยังเยาว์ โดยหม่อมหลวงบัวได้มอบคุณหญิงให้อยู่ในความพิทักษ์ดูแลของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ และท้าววนิดาพิจาริณี ซึ่ง “ท่านตา-ท่านยาย” ทั้งคู่ก็เปี่ยมด้วยความเมตตารักใคร่ต่อหม่อมราชวงศ์หญิงผู้นี้อย่างยิ่ง กระทั่งว่าหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เป็นหลานคนแรกที่เรียกเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ว่า “ตาจ๋า” ติดปากทุกคำ ในขณะที่หลานคนอื่นๆ ล้วนเรียกขานท่านด้วยความเคารพยำเกรงว่า “คุณตา”
นอกจากนี้ ในบางคราว “ท่านย่า” คือหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ก็ทรงรับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ผู้เป็นนัดดา ร่วมเดินทางไปต่างจังหวัดด้วย เช่นในคราวที่ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปอยู่ที่จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2476 จึงนับว่าในวัยเยาว์ของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการเดินทางและความเปลี่ยนแปลงโดยแท้ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึงทรงลาออกจากตำแหน่งและกลับประเทศไทย ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ได้ทรงตอบรับคำกราบบังคมทูลเชิญจากคณะรัฐมนตรีในยุคนั้น (สมัยแรกของรัฐบาลยุคที่พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี) ให้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีในเวลาต่อมา
ดังนั้น หลังจากต้องห่างจากพระบิดาและพระมารดาตั้งแต่เมื่อครั้งอายุเพียง 3 เดือน ในปี พ.ศ. 2477 นั้นเอง หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 2 ขวบ 6 เดือน จึงย้ายจากบ้าน “ท่านตา” ย่านสะพานเหลือง กลับมาอยู่พร้อมหน้าครอบครัว “กิติยากร” อีกครั้ง ณ ตำหนัก ในวังเทเวศร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่คุณหญิงกลับไปค้างบ้านของ “ท่านตา” ที่เธอคุ้นเคยเป็นอันดี ครั้งหนึ่ง ระหว่างที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มาพักกับ “ท่านตา” นั้นเอง ก็มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น และนำมาสู่การล้อเลียนภายในครอบครัวเป็นที่สนุกสนานยิ่งในเวลาต่อมา
เนื่องจากในวันหนึ่ง พี่เลี้ยงได้อุ้ม หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ในวัย 2 ขวบ กว่าๆ ออกไปเดินเล่น ประจวบกับขณะนั้นมี “แขก” ชาวอินเดีย ซึ่งเรียกกันว่า “แขกเลี้ยงวัว” ที่เป็นเพื่อนของ “แขกยาม” ประจำบ้าน ได้แวะมาหากัน พอแขกเลี้ยงวัวเหลือบมาเห็นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็จ้องอยู่ครู่หนึ่งก่อนจะกวักมือเรียกพี่เลี้ยง เพื่อจะขอเห็นหน้าหม่อมราชวงศ์หญิงองค์น้อยให้ชัดๆ จนเมื่อได้เห็นในระยะใกล้แล้วแขกเลี้ยงวัวคนนั้นก็พูดขึ้นว่า “ต่อไปจะได้เป็นมหารานี”
เลี้ยงได้ฟังก็ชอบใจ นำไปเล่าให้คนในบ้านฟัง ซึ่งแม้จะเป็นคำทำนายที่ออกจะ “เกินจริง” อยู่บ้าง แต่ก็ทำให้ผู้ได้ฟังพลอยอมยิ้มด้วยความ “เอ็นดู” ในความน่ารักของ “มหารานีน้อย” ผู้นี้ไปตามๆ กัน ต่อมาเมื่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เจริญวัยขึ้น เลยเป็นเหตุให้คุณพี่ชายทั้งสองคนเอามาล้อเป็นที่ขบขันว่า เป็นราชินีแห่งอบิสซิเนีย บางครั้งถึงกับทำให้ผู้ถูกล้อต้องนั่งร้องไห้ด้วยความอายและเจ็บใจ แต่พี่ชายทั้งสองก็ยังไม่หยุดล้อ กลับเอาเศษผ้าม่านขาดๆ มาทำเป็นธงโบกอยู่ไปมา พร้อมทั้งบอกว่าเป็นธงประจำตัวของพระราชินี
เหตุการณ์เหล่านี้ยังเป็นที่ขบขันอยู่จนถึงทุกวันนี้ เมื่อมีการกล่าวถึงความหลัง (ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เล่าไว้ในหนังสือ “เป็น อยู่ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ”) ล่วงเข้าสู่ปี พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์มีอายุได้ 4 ขวบ ท่านได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี แต่ครั้นเมื่อมีอายุย่าง 8 ขวบ ก็ต้องย้ายโรงเรียน ด้วยแม้ในขณะนั้นเหตุการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศไทยจะสงบลงแล้ว แต่ครั้นเข้าสู่ปี พ.ศ. 2482 เป็นต้นมา สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่สอง) ก็ปะทุขึ้นและเริ่มแผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก ทำให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เนื่องจากโรงเรียนนี้อยู่ใกล้วังพระบิดา
แต่ในปีต่อมา (พ.ศ. 2483) ท่ามกลางสถานการณ์ความร้อนแรงของไฟสงครามนั้นเอง ก็มีเหตุให้คุณหญิงและครอบครัวต้องโศกสะเทือนใจซ้ำอีก เมื่อ พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ล้มป่วยด้วยไข้มาลาเรียและเบาหวาน บวกกับโรคหัวใจ ทั้งอยู่ในวัยชรา แม้จะได้ระวังรักษาอาการอย่างกวดขันแล้วก็ตาม ที่สุดแล้ว “ตาจ๋า” ของหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ ก็จากไปในเดือนตุลาคมปีนั้นเอง กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงได้ราวหนึ่งปี (ในฝั่งยุโรป เยอรมนีประกาศยอมจำนนในสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2488 ขณะที่ฝั่งเอเชียนั้นสงครามยังคงดำเนินต่อไป แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้สงคราม เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2488 จากนั้นประเทศไทยก็ประกาศสันติภาพในวันถัดมา คือวันที่ 16 ส.ค. 2488) หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึงได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคลไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะย้ายไปประจำที่ประเทศเดนมาร์ก
และประเทศฝรั่งเศส ในปีถัดมา (พ.ศ. 2490) โดยการเสด็จทั้ง 3 ประเทศในครั้งนี้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลได้พาหม่อมหลวงบัวและโอรสธิดาทั้งหมดย้ายตามไปด้วย สำหรับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์แล้ว กรุงปารีส ณ เวลานั้น (พ.ศ. 2590) นับเป็นสถานที่ที่แปลกใหม่ซึ่งคุณหญิงไม่คุ้นเคยเอาเสียเลย ซึ่งระยะทางที่ไกลแสนไกลจากดินแดนมาตุภูมิเช่นนี้ ก็ทำให้คุณหญิงวัย 15 ปี รู้สึกเปล่าเปลี่ยวอยู่ไม่น้อย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังนับเป็นช่วงเวลาที่ดีอีกช่วงหนึ่ง ที่สมาชิกใน “ครอบครัวกิติยากร” ได้มีโอกาสอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าอีกครั้ง
ที่สำคัญยิ่งก็คือ ดินแดนแห่งนี้ คือสถานที่ที่ทำให้คุณหญิงได้มีโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก กระทั่งได้ทำหน้าที่ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระองค์ท่านเสมอมานับจากนั้น นอกจากนี้ ณ กรุงปารีสแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ที่ทำให้หม่อมราชวงศ์สาวสวย ได้พบพานและ “ทำความรู้จัก” กับ “ความรัก” เป็นครั้งแรกในชีวิต.
ข้อมูลจาก หนังสือเรื่อง ๗๐ ปีรักแท้ของในหลวงพระราชินี