กรมชลฯ ประกาศเตือนด่วน 11 จังหวัด รวม กทม. รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

18 กันยายน 2567

กรมชลประทาน ประกาศเตือนด่วนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา กำชับพื้นที่ 11 จังหวัด รวม กทม. เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

11 จังหวัด รับมือน้ำท่วมฉับพลัน โดยล่าสุดวันที่ 18 ก.ย. 2567 นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 8 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งประกอบด้วย จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และ กรุงเทพมหานคร 

 

กรมชลฯ ประกาศเตือนด่วน 11 จังหวัด รวม กทม. รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

ากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากมีร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้มีปริมาณฝนตกมากขึ้น 


ซึ่งจากการคาดการณ์ โดยกรมชลประทาน ใน 1-7 วันข้างหน้า โดยในวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,500-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำ Side Flow ประมาณ 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมกับคาดการณ์ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังประมาณ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณ 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 


ทาง กรมชลประทาน ได้มีการผันน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตก ในอัตรา 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 


โดยจะมีการระบายเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได จึงจะส่งผลทำให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีก 60 เซนติเมตร-1 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกันน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และที่บริเวณแม่น้ำน้อย ที่ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้น ที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าเจ้าพระยามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
 

สำหรับปัจจุบัน ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 1,122 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 14.50 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 11.35 เมตร/รทก. ซึ่งระดับน้ำห่างจากตลิ่งอยู่ที่ 4.99 เมตร และเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายน้ำลงสู่ทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 1,099 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงส่งผลทำให้ที่สถานีวัดน้ำ C.3 บ้านบางพุทรา อ.เมือง จ.สิงห์บุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 1,114 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที


ทางกรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเข้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานจึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

 

กรมชลฯ ประกาศเตือนด่วน 11 จังหวัด รวม กทม. รับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก