ซีพีจับมือ “เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส (CPP) กรุงเทพโปรดิ๊วส (BKP)” ประกาศความร่วมมือกับ “สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาหรือMCIA” นำร่องเปิดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ทุกภาคส่วนผู้ผลิตคู่ค้า ฯลฯ ร่วมใช้ยกระดับความยั่งยืนและโปร่งใสในอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีระดับโลกตอกย้ำนโยบาย “ไม่รับซื้อและไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่าและพื้นที่ที่มาจากการเผา”
กรุงย่างกุ้ง, ประเทศเมียนมา – (24ตุลาคม2567) – บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) โดย เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส (CPP) และกรุงเทพโปรดิ๊วส (BKP) ร่วมกับพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและเอกชนในเมียนมาประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญในการเปิดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของซีพีให้ทุกภาคส่วนทั้งผู้ผลิตคู่ค้าและหน่วยงานต่างๆสามารถร่วมใช้ได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมา
ทั้งนี้โดยจัดให้มีการแถลงความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาโดยไม่รับซื้อจากพื้นที่ที่มีการเผาและพื้นที่ป่าดั้งเดิมโดยการแถลงความร่วมมือนี้จัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้งสหภาพเมียนมาภายใต้โครงการยกระดับการตรวจสอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา
โดยมี นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา , นายเอกวัตน์ ธนประสิทธิ์พัฒนา อัครราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงย่างกุ้ง ,นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ , นายวรสิทธิ์ สิทธิวิชัย ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจพืชครบวงจรเขตประเทศเมียนมา , นาย อู เอ ชาน อ่อง (U Aye Chan Aung) ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา Myanmar corn industrial association (MCIA) '
พร้อมด้วยเกษตรกรชาวเมียนมาในหลายพื้นที่ อาทิ หนองตะยารัฐฉาน, มัณฑะเลย์ ฯลฯ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งในไทยและเมียนมา ร่วมกันแสดงเจตจำนงค์ในการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ที่สร้างความโปร่งใสและความยั่งยืน ในอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา
นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง เปิดเผยว่า ความร่วมมือในโครงการยกระดับการตรวจสอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา ถือเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ฟ้าใสของรัฐบาลไทย เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนและ PM2.5 ที่เกิดจากการเผาป่าการนำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ ถือเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชน
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในด้านการปกป้องระบบนิเวศบนบก และการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมุ่งมั่นนี้สอดคล้องกับความพยายามของรัฐบาล ในการสร้างความยั่งยืนในภูมิภาคอีกด้วย ทั้งยังสะท้อนถึงความตั้งใจในการสร้างมาตรฐานใหม่ ให้กับอุตสาหกรรมเกษตรและส่งเสริมความยั่งยืนในภูมิภาคอย่างแท้จริง
ขณะที่ นายเอกวัตน์ ธนประสิทธิ์พัฒนา อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงย่างกุ้ง ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของระบบตรวจสอบย้อนกลับ ในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นทางการค้าระหว่างประเทศ โดยกล่าวว่า “การเปิดระบบตรวจสอบย้อนกลับที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ จะช่วยให้ข้าวโพดจากเมียนมา ได้รับการยอมรับมากขึ้นในตลาดโลก โดยเฉพาะในตลาดที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และการผลิตที่โปร่งใส”
นอกจากนี้ นายฐิติ ลุจินตานนท์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ เพื่อสร้างความชัดเจนโปร่งใสและเป็นสากลสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมา สู่ความเป็นสากล ระบบดังกล่าวต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา หรือ MCIA ตลอดจนผู้ค้าธุรกิจและเกษตรกรชาวเมียนมา
เราจึงเปิดระบบนี้ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืนของเมียนมาด้วยชาวเมียนมาเอง ทั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่กลุ่มบริษัทซีพีได้พัฒนาขึ้น และได้ขยายผลสู่ความร่วมมือในประเทศเมียนมา
ในส่วนของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส หรือ CPP ซึ่งเป็นผู้นำด้านการเพาะปลูก นาย วรสิทธิ์ สิทธิวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเขตประเทศเมียนมา ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของ CPP ในการส่งเสริมการเพาะปลูกที่ยั่งยืน
โดยกล่าวว่า “CPP มุ่งมั่นในการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับที่ไม่เพียงช่วยให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของข้าวโพดได้แต่ยังเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าถึงเทคโนโลยี และวิธีการเพาะปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้ร่วมมือกับ BKP เพื่อบูรณาการระบบนี้ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด ทำให้เกษตรกรและพ่อค้าผู้รวบรวมข้าวโพดสามารถเชื่อมต่อกับตลาดในไทยและต่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
นอกจากนี้ CPP บริษัทในกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังได้รับการรับรองมาตรฐานจาก Control Union ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกด้านการตรวจสอบมาตรฐานความยั่งยืนโดย CPP และ BKP ได้รับการรับรองด้านการทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต
ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐานสูงสุดในด้านเกษตรกรรมที่ยั่งยืนยืนยันถึงประสิทธิภาพของระบบตรวจสอบย้อนกลับ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ CPP และ BKP พร้อมที่จะขยายการใช้ระบบนี้ ให้ผู้ผลิตคู่ค้าฯลฯร่วมใช้ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรในระดับภูมิภาคให้มีความยั่งยืนและโปร่งใสต่อไปในอนาคต
ระบบตรวจสอบย้อนกลับของซีพี ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งผู้ผลิตคู่ค้าเกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ สามารถเข้ามาร่วมใช้ได้เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีในการติดตามและตรวจสอบข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งที่มาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งบริษัทได้พัฒนาขึ้นเองตั้งแต่ปี 2023 ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยี Blockchain และแผนที่ภาพถ่าย รวมถึงเทคโนโลยีตรวจจับจุดความร้อนจากดาวเทียมเพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการส่งออก
ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถมั่นใจได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาจากแหล่งที่มาที่ปลอดภัยไม่ได้มาจากพื้นที่ป่าดั้งเดิม(มาตรฐานGEUDR 2020) หรือพื้นที่ที่มีการเผาในแปลงข้าวโพด
นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความโปร่งใสให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม โดย MCIA (สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา) จะทำหน้าที่สนับสนุนและผลักดันให้สมาชิกที่เป็นพ่อค้าผู้รวบรวมและผู้ส่งออกข้าวโพด เข้ามามีส่วนร่วมในระบบนี้เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการซื้อขายจากพ่อค้า และเกษตรกรเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในแหล่งที่มาของวัตถุดิบข้าวโพด และยกระดับมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน
นาย อู เอ ชาน อ่อง (U Aye Chan Aung) ประธาน MCIA กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าการเปิดระบบนี้จะสร้างโอกาสที่ดีที่จะสามารถแสดงความโปร่งใสของแหล่งที่มาของข้าวโพดที่จัดหามาให้ผู้ซื้อได้อย่างชัดเจน และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศMCIA พร้อมที่จะผลักดันให้สมาชิกของเราร่วมมืออย่างเต็มที่ในการสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าร่วมระบบนี้”
นอกจากนี้ตัวแทนจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จากหมู่บ้านหนองตะยารัฐฉาน ยังได้แบ่งปันประสบการณ์ในการเข้าร่วมระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยนายคุณทุนชเว กล่าวว่า “การเข้าร่วมระบบนี้ไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด บริษัทได้ให้คำแนะนำและเทคโนโลยี ที่ช่วยให้เราสามารถเพาะปลูกได้ตามมาตรฐานที่ยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยให้ชุมชนของเรามีรายได้ที่มั่นคงขึ้น เพราะมีตลาดที่ชัดเจนรองรับ”
การแถลงความร่วมมือครั้งนี้ในโครงการยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาฯได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงหน่วยงานตรวจประเมินระบบในระดับสากล ซึ่งการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่โปร่งใส และเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมนี้ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือ ในอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมา และเป็นแบบอย่างให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆในอนาคต