ข่าว

heading-ข่าว

ห้ามพลาด "ฝนดาวตกควอดรานติดส์" ฝนดาวตกชุดแรกของปี 68

03 ม.ค. 2568 | 15:39 น.
ห้ามพลาด "ฝนดาวตกควอดรานติดส์" ฝนดาวตกชุดแรกของปี 68

ห้ามพลาดเด็ดขาด "ฝนดาวตกควอดรานติดส์" ฝนดาวตกชุดแรกของปี คาดตก 80 ดวงต่อชั่วโมง หลังเที่ยงคืน 3 ม.ค. ถึงรุ่งเช้า 4 ม.ค. 68

 ห้ามพลาด "ฝนดาวตกควอดรานติดส์" ฝนดาวตกชุดแรกของปี 68  ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนดูปรากฏการณ์ ฝนดาวตกควอดรานติดส์ ต้อนรับปีใหม่ 2025 ในช่วงหลังเที่ยงคืน 3 มกราคม 2568 ถึงรุ่งเช้า 4 มกราคม 2568 โดยระบุว่า "หลังเที่ยงคืน 3 - รุ่งเช้า 4 มกราคม นี้ มี "ฝนดาวตกควอดรานติดส์" ให้ลุ้นชมรับปีใหม่" หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568

ห้ามพลาด \"ฝนดาวตกควอดรานติดส์\" ฝนดาวตกชุดแรกของปี 68

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 จะเกิดปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกควอดรานติดส์" ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bo?tes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco) เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง และไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์ สามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แนะนำชมในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน 


ฝนดาวตกควอดรานติดส์ เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงวันที่ 28 ธันวาคม - 12 มกราคม ของทุกปี และมักมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงวันที่ 3 - 4 มกราคม สาเหตุเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดเข้ากับสายธารเศษอนุภาคที่ดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช1 (2003 EH1) เหลือทิ้งไว้ขณะเดินทางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในทุก ๆ 5.5 ปี เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก เกิดเป็นลำแสงวาบที่คนบนโลกเรียกดาวตก 

ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นกลุ่มดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุด ๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ สำหรับชื่อของฝนดาวตกควอดรานติดส์ (Quadrantids) ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือกลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ เป็นกลุ่มดาวที่ปรากฏในแผนที่ดาวในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว หากเทียบกับแผนที่ดาวปัจจุบันจะอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"มดดำ" เปิดปม "โตโน่" ก่อนอุทานเรื่องสาวๆ ชี้เกือบโป๊ะแตกหลายคน

"มดดำ" เปิดปม "โตโน่" ก่อนอุทานเรื่องสาวๆ ชี้เกือบโป๊ะแตกหลายคน

สิ้น "ต๋อง นิวัฒน์" ปิดตำนานยอดแข้งไทย เจ้าของฉายา สิงห์สนามศุภฯ

สิ้น "ต๋อง นิวัฒน์" ปิดตำนานยอดแข้งไทย เจ้าของฉายา สิงห์สนามศุภฯ

นายกเบี้ยว รับ "พีช" อารมณ์ร้อน ไม่เคยมีประสบการณ์เกิดอุบัติเหตุ

นายกเบี้ยว รับ "พีช" อารมณ์ร้อน ไม่เคยมีประสบการณ์เกิดอุบัติเหตุ

ฮือฮา นักบินหญิงส่งหัวใจดวงที่ 123 ยิ่งทึ่งพอรู้ว่าเป็นใคร

ฮือฮา นักบินหญิงส่งหัวใจดวงที่ 123 ยิ่งทึ่งพอรู้ว่าเป็นใคร

อาลัยสิ้น "พ.อ.พิฆราช สุริยะ" หนึ่งในทีมค้นหาตึกสตง.ถล่ม

อาลัยสิ้น "พ.อ.พิฆราช สุริยะ" หนึ่งในทีมค้นหาตึกสตง.ถล่ม