บุกทลายโรงงานเถื่อน เปิดยี่ห้อ "ยาแก้ไอปลอม" เตรียมปล่อยขายล็อตใหญ่

08 มกราคม 2568

ตำรวจสอบสวนกลาง(CIB) ร่วม อย. สสจ.นครปฐม บุกทลายโรงงานเถื่อน เปิดยี่ห้อ "ยาแก้ไอปลอม" เตรียมปล่อยขายล็อตใหญ่

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม นำหมายค้นเข้าตรวจค้นสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการขายยาแก้ไอปลอม จำนวน 4 จุด ดังนี้

บุกทลายโรงงานเถื่อน เปิดยี่ห้อ ยาแก้ไอปลอม เตรียมปล่อยขายล็อตใหญ่

1. สถานที่ผลิต ในพื้นที่ ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นของศาลจังหวัดนครปฐม เข้าตรวจค้น ตรวจยึดและอายัดยาแก้ไอปลอม วัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิต และบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 36 รายการ ดังนี้ 

1) ยาแก้ไอสำเร็จรูปปลอม จำนวน 3 ยี่ห้อ

- ยี่ห้อ “ดาทิสซิน ชนิดน้ำเชื่อม” ปลอม จำนวน 900 ขวด

- ยี่ห้อ “Asacog” ปลอม จำนวน 5,000 ขวด

- ยี่ห้อ “Allergin” ปลอม จำนวน 3,000 ขวด

2) ยาแก้ไอที่อยู่ระหว่างผลิต บรรจุลงขวด จำนวน 2,000 ขวด

บุกทลายโรงงานเถื่อน เปิดยี่ห้อ ยาแก้ไอปลอม เตรียมปล่อยขายล็อตใหญ่

3) วัตถุดิบในการผลิต

- Ammonium chloride 25 kg จำนวน 8 กระสอบ

- สารสีขาว บรรจุในถุงสีเงิน ในลังกระดาษ (ถุงเล็ก) จำนวน 4 ลัง

- Sodium saccharin 50 kg จำนวน 1 ถัง

- Trisodium citrate 25 kg จำนวน 4 กระสอบ

- Sodium cyclamate 25 kg จำนวน 11 กระสอบ

- Acesulfame - K 25 kg จำนวน 2 กล่อง

- Propylparaben 25 kg จำนวน 1 ถัง

- Rasberry Flavor 5 ลิตร จำนวน 84 แกลลอน

- Methylparaben 25 kg จำนวน 1 ถัง

- ผง Caramel colour 20 kg จำนวน 2 ลัง

- 95% Ethyl alcohol 20 ลิตร จำนวน 2 แกลลอน

- 99.5% Glycerin 35 kg จำนวน 20 แกลลอน

- ผงสีขาว บรรจุในถุงสีเงิน ในลังกระดาษ (ถุงใหญ่) จำนวน 2 ลัง

- ถังสีฟ้า ฉลากระบุ “2 – (Benzhydryloxy…)” 25 kg จำนวน 1 ถัง

- Menthol crystal จำนวน 6 ถุง

4) เครื่องจักร/อุปกรณ์การผลิต

- เครื่องบรรจุ (ฟิลลิ่ง) 5 เครื่อง

- เครื่องตอกปิดฝา 11 เครื่อง

- เครื่องติดฉลาก 4 เครื่อง

- ปั๊มลม 5 เครื่อง

- เครื่องรัดลัง 2 เครื่อง

- หม้อต้ม 16 หม้อ

- เตาแก๊ส 15 หัว

-  ถังแก๊ส 17 ถัง

- เครื่องชั่งดิจิทอล 2 เครื่อง

- ขวดพลาสติก สีชา (ขวดเปล่า) 116,200 ชิ้น

- ฝาเกลียว สีแดง 10,000 ชิ้น

- ลังลูกฟูก คละขนาด และไส้ลัง 13,900 ชิ้น

- สายเคเบิ้ล 49 ม้วน

บุกทลายโรงงานเถื่อน เปิดยี่ห้อ ยาแก้ไอปลอม เตรียมปล่อยขายล็อตใหญ่

5) ฉลากผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอปลอม

- ฉลากผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอ ยี่ห้อ "ดาทิสซิน ชนิดน้ำเชื่อม" จำนวน 336,000 ดวง

- ฉลากผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอ ยี่ห้อ "Asacog" จำนวน 360,000 ดวง

- ฉลากผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอ ยี่ห้อ "Allergin" จำนวน 456,000 ดวง

2. สถานที่กระจายผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอปลอม ภายในบริษัทขนส่งสินค้าแห่งหนึ่งในพื้นที่ แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกันนำหมายค้นของศาลอาญาตลิ่งชัน เข้าตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอปลอมที่อยู่ระหว่างรอกระจายไปยังกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ จ.มุกดาหาร และ จ.หนองคาย จำนวน 44,000 ขวด

3. สถานที่ผลิตฉลากยาแก้ไอปลอม ในพื้นที่ ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกันนำหมายค้นของศาลจังหวัดสมุทรสาคร เข้าตรวจค้น  

ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอปลอม และอุปกรณ์การผลิต รวมทั้งสิ้น 3 รายการ ดังนี้   

- ผลิตภัณฑ์ยาก้ไอปลอม จำนวน 10,000 ขวด 

- ฉลากผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอปลอม 12 ม้วน 

- เครื่องผลิตฉลาก 1 เครื่อง

4. สถานที่เก็บเอกสารการสั่งซื้อสารเคมีซึ่งเป็นส่วนผสมในการผลิตยาแก้ไอปลอม ในพื้นที่ ต.บางน้ำจืด อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกันนำหมายค้นของศาลจังหวัดสมุทรสาคร เข้าทำการตรวจค้นสถานที่ดังกล่าว

บุกทลายโรงงานเถื่อน เปิดยี่ห้อ ยาแก้ไอปลอม เตรียมปล่อยขายล็อตใหญ่

จากการสืบสวนพบว่า ผู้กระทำความผิด นำส่วนผสม วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์จากสถานที่ต่างๆ มาผลิตและบรรจุในโกดังในพื้นที่ ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยมีแรงงานใช้ชีวิต กิน อยู่อาศัยและนอน บริเวณไลน์การผลิตในสถานที่ดังกล่าว และจะเปลี่ยนสถานที่ในการผลิตไปเรื่อยๆ เพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังสืบสวนทราบว่า กลุ่มผู้กระทำผิดดังกล่าว เป็นผู้ที่ได้รับการว่าจ้างผลิตยาแก้ไอปลอม ให้กับเครือข่ายผู้กระทำความผิด ในการผลิต และจำหน่ายยาแก้ไอปลอม ในพื้นที่ ต.ดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้เข้าทำการตรวจค้นไปแล้ว เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา แต่ยังกระทำผิดซ้ำซากโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค หวังแต่ผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510

1. ฐาน "ผลิตยาโดยไม่ได้รับอนุญาต" ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน10,000 บาท

2. ฐาน "ผลิตและขายยาปลอม" ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 10,000ถึง 50,000 บาท