ค่าฝุ่นทั่วโลกวันนี้ ประเทศไทย ติดอันดับ ประเทศอากาศแย่
ค่าฝุ่นทั่วโลกวันนี้ สถานการณ์มลพิษทางอากาศยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ประเทศไทย อยู่ในระดับที่น่ากังวลและติดอันดับประเทศที่มีคุณภาพอากาศแย่
ค่าฝุ่นทั่วโลกวันนี้ สถานการณ์มลพิษทางอากาศยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหลายประเทศทั่วโลก ในวันนี้ (23 มกราคม 2568) สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่น่ากังวลและติดอันดับประเทศที่มีคุณภาพอากาศแย่
สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยวันนี้
จากข้อมูลของเว็บไซต์ IQAir ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ พบว่าในวันนี้ (23 มกราคม 2568) กรุงเทพมหานครติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงในระดับโลก โดยมีค่า AQI (ดัชนีคุณภาพอากาศ) อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
จากรายงาน ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI⁺) ทั่วโลก โดยประเทศที่มีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างแรง และมีผลกระทบต่อทุกคน 10 อันดับแรกของโลก มีดังนี้
อันดับ 1 เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ค่า AQI อยู่ที่ 271
อันดับ 2 เมืองเฉิงตู ประเทศจีน ค่า AQI อยู่ที่ 249
อันดับ 3 เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน ค่า AQI อยู่ที่ 228
อันดับ 4 กรุงเดลี ประเทศอินเดีย ค่า AQI อยู่ที่ 227
อันดับ 5 กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ ค่า AQI อยู่ที่ 220
อันดับ 6 เมืองลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน ค่า AQI อยู่ที่ 201
อันดับ 7 เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ค่า AQI อยู่ที่ 196
อันดับ 8 กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ค่า AQI อยู่ที่ 193
อันดับ 9 กรุงเทพ ประเทศไทย ค่า AQI อยู่ที่ 187
อันดับ 10 โกลกาตา ประเทศอินเดีย ค่า AQI อยู่ที่ 179 อากาศมีผลกระทบกับสุภาพอย่างมาก
สาเหตุหลักของปัญหาฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยมาจากหลายปัจจัย ได้แก่
- การจราจร: การปล่อยควันจากรถยนต์เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของฝุ่น PM2.5 ในเขตเมือง
- ภาคอุตสาหกรรม: โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทปล่อยมลพิษทางอากาศออกมาในปริมาณมาก
- การเผาในที่โล่ง: การเผาป่า เผาไร่อ้อย และเผาเศษวัสดุทางการเกษตร เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ชนบทและพื้นที่เกษตรกรรม
- สภาพอุตุนิยมวิทยา: สภาพอากาศที่นิ่ง ลมสงบ และความกดอากาศสูง ทำให้ฝุ่น PM2.5 สะสมในอากาศได้ง่าย
ผลกระทบของฝุ่น PM2.5 ต่อสุขภาพ
ฝุ่น PM2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดเล็กสามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพต่างๆ เช่น
- โรคระบบทางเดินหายใจ: เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคผิวหนัง: เช่น ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ
- โรคมะเร็ง: โดยเฉพาะมะเร็งปอด