ข่าว

heading-ข่าว

วิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคม เกษียณแล้วจะได้เงินเดือนละเท่าไหร่

20 ก.พ. 2568 | 18:30 น.
วิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคม เกษียณแล้วจะได้เงินเดือนละเท่าไหร่

วิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคม เกษียณแล้วจะได้เงินเดือนละเท่าไหร่ บทความนี้จะมาเปิดเผยวิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคมอย่างละเอียด พร้อมตัวอย่างการคำนวณ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนเกษียณได้อย่างมั่นใจ

วิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคม เกษียณแล้วจะได้เงินเดือนละเท่าไหร่ การวางแผนเกษียณเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มีชีวิตบั้นปลายที่มั่นคงและมีความสุข หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการคำนวณเงินชราภาพจากประกันสังคม เพื่อให้ทราบว่าเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วจะได้รับเงินเดือนเท่าไหร่ และเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหรือไม่

 

วิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคม เกษียณแล้วจะได้เงินเดือนละเท่าไหร่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บทความนี้จะมาเปิดเผย วิธีคิดเงินชราภาพ ประกันสังคมอย่างละเอียด พร้อมตัวอย่างการคำนวณ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนเกษียณได้อย่างมั่นใจ

 

เงินชราภาพประกันสังคม มีอยู่ 2 แบบ คือ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพ ใครจะได้รับแบบไหน ขึ้นอยู่กับว่าได้ส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมมานานแค่ไหนแล้ว

 

1. ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) : รับเงินบำเหน็จชราภาพ ก้อนเดียวจบ

  • ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 1 เดือน - 11 เดือน : ได้บำเหน็จเฉพาะส่วนที่เราเคยส่งสมทบไว้ แต่จะไม่ได้ส่วนที่นายจ้างร่วมจ่ายให้ด้วย
  • ส่งเงินสมทบ 12 เดือน - 179 เดือน : ได้บำเหน็จส่วนที่ตัวเองและนายจ้างจ่ายไว้ รวมกับกำไรที่ประกันสังคมนำเงินไปลงทุน โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ได้รับเป็นปี ๆ ไป

 

2. ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) : รับเงินบำนาญชราภาพทุกเดือนตลอดชีวิต

โดยจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ ต่อไปนี้

  • เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป ไม่ว่าจะส่งต่อเนื่องหรือหยุดส่งในบางช่วงเวลาก็นับรวมหมด
  • อายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 
  • ได้สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว เช่น ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

 

ทีนี้มาถึงคำถามที่หลายคนอยากรู้ก็คือ เราจะรู้ได้ยังไงว่าจะได้เงินเท่าไร ตามมาดูสูตรคำนวณกัน

 

วิธีคิดเงินชราภาพประกันสังคมกรณีจ่ายครบ 180 เดือน

สำหรับคนที่จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีพอดิบพอดี จะได้รับเงินบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

ผู้ประกันตน มาตรา 33 หากมีเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ให้คำนวณตามฐานเงินเดือนจริง แต่ถ้ามีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณที่ฐานเงินเดือน 15,000 บาท

 

ผู้ประกันตน มาตรา 39 ให้คำนวณที่ฐานเงินเดือน 4,800 บาท

เงินบำนาญชราภาพ = (ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) x 20 แล้วหาร 100
ตัวอย่าง :

  • นาย A เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ได้รับเงินเดือน 20,000 บาท ส่งเงินสมทบครบ 15 ปี และได้ลาออกจากประกันสังคมเมื่ออายุ 55 ปี ดังนั้น นาย A จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ (15,000 x 20%) เท่ากับเดือนละ 3,000 บาท
  • นาย B เป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 หากส่งเงินสมทบครบ 15 ปี และลาออกจากประกันสังคมเมื่ออายุ 55 ปี นาย B จะได้เงินบำนาญชราภาพ (4,800 x 20%) เท่ากับเดือนละ 960 บาท

 

วิธีคิดเงินชราภาพประกันสังคมกรณีจ่ายเกิน 180 เดือน

คนที่ทำงานมานานและส่งเงินสมทบมามากกว่า 180 เดือน หรือตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป นอกจากจะได้เงินบำนาญตามสูตร 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายแล้ว ยังจะได้รับเงินบวกเพิ่มอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน ตามสูตรนี้
เงินบำนาญชราภาพ = (ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) x [20 + (1.5 x จำนวนปีที่เกินจาก 180 เดือน)] แล้วหาร 100

ตัวอย่าง :

  • นาย C เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ได้รับเงินเดือน 30,000 บาท ส่งเงินสมทบมาแล้ว 18 ปี พออายุ 60 ปี ได้ลาออกจากงานและลาออกจากประกันสังคม ดังนั้น นาย C จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ [15,000 x [20+(1.5x3)]] / 100 = 3,675 บาทต่อเดือน
  • นาย D เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ส่งเงินสมทบมา 15 ปี ก่อนจะลาออกมาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และส่งเงินสมทบต่ออีก 5 ปี รวมเป็น 20 ปี ถ้านาย D ลาออกจากประกันสังคม จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ [4,800 x [20+(1.5x5)]] / 100 = 1,320 บาทต่อเดือน

 

ข้อสังเกตที่อยากให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 พิจารณาก็คือ หากลาออกจากมาตรา 33 แล้วไปสมัครมาตรา 39 เพื่อต้องการใช้สิทธิรักษาพยาบาลต่อ จะทำให้ได้รับเงินชราภาพน้อยลงไปด้วย เนื่องจากมาตรา 39 จะคำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ฐานเงินเดือน 4,800 บาทเท่านั้น

  • ตัวอย่างเช่น คนที่มีเงินเดือน 15,000 บาท ส่งประกันสังคม มาตรา 33 มาแล้ว 15 ปี จะได้เงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท แต่ถ้า 5 ปีสุดท้าย (60 เดือนสุดท้าย) เขาเปลี่ยนเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เงินบำนาญที่ได้รับจะลดลงเหลือ 960 บาททันที

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักการจ่ายเงินชราภาพที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตอาจมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย อาทิ ให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบำนาญขอเลือกรับบำเหน็จแทนได้ หรือให้ผู้ประกันตนขอรับเงินชราภาพบางส่วนก่อนอายุ 55 ปี จึงต้องติดตามความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าว เพราะย่อมส่งผลต่อการคำนวณเงินชราภาพอย่างแน่นอน
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ชายดับปริศนา ในท่าแปลก เดียวดายในตึกร้าง คนเร่ร่อนเล่าเหตุการณ์ขณะพบร่าง

ชายดับปริศนา ในท่าแปลก เดียวดายในตึกร้าง คนเร่ร่อนเล่าเหตุการณ์ขณะพบร่าง

ไม่รอด จับแล้ว เจ้าของร้านแสบ ปล่อยเครื่องรูดให้แก๊งจีน ล้วงบัตรในออนเซ็น

ไม่รอด จับแล้ว เจ้าของร้านแสบ ปล่อยเครื่องรูดให้แก๊งจีน ล้วงบัตรในออนเซ็น

จับขบวนการลักลอบขนต่างด้าว เชื่อมโยงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยึดของกลางเพียบ

จับขบวนการลักลอบขนต่างด้าว เชื่อมโยงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยึดของกลางเพียบ

โจรพ่อลูก 6 ร่ำไห้สำนึกผิด สารภาพเป็นโจรเพื่อลูก ขับ 2 แถว ไม่พอเลี้ยงปากท้อง

โจรพ่อลูก 6 ร่ำไห้สำนึกผิด สารภาพเป็นโจรเพื่อลูก ขับ 2 แถว ไม่พอเลี้ยงปากท้อง

ฮือฮา จีนเจอ "ไวรัสโคโรนา" สายพันธุ์ใหม่ ใน "ค้างคาว" มนุษย์เสี่ยงติดได้

ฮือฮา จีนเจอ "ไวรัสโคโรนา" สายพันธุ์ใหม่ ใน "ค้างคาว" มนุษย์เสี่ยงติดได้