ข่าว

heading-ข่าว

ธ.ก.ส. ชู 6 ยุทธศาสตร์ เดินหน้าธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน

19 ก.พ. 2568 | 11:08 น.
ธ.ก.ส. ชู 6 ยุทธศาสตร์ เดินหน้าธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน

ธ.ก.ส. เปิด 6 ยุทธศาสตร์ เดินหน้าธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งมั่นดำเนินงานตามพันธกิจภายใต้กรอบความยั่งยืนที่ครอบคลุมถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างมีธรรมาภิบาล

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trends) ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของ ธ.ก.ส. พบว่า มีประเด็นโอกาสทางธุรกิจที่ธนาคารสามารถเร่งดำเนินการเพื่อรับโอกาสในปี 2568 ดังนี้

 

ธ.ก.ส. ชู 6 ยุทธศาสตร์ เดินหน้าธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1. แนวโน้มการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัล และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กระตุ้นให้ธนาคารต้องเร่งพัฒนาบริการทางการเงิน และช่องทางการให้บริการด้านดิจิทัลที่ครอบคลุม สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเดิมและเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ โดยจะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญสามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงจะต้องมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า สามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้


2. ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (Environment Social Governance : ESG) ทำให้ธนาคารให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการทางการเงิน ทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน อาทิ ผลิตภัณฑ์ Green Finance เป็นต้น เพื่อตอบสนองเป้าหมายการเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน รวมถึงตอบโจทย์ของภาครัฐในการมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

 

3. การดำเนินนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนภาคการเกษตร ผ่าน ธ.ก.ส. จากการที่ธนาคารเป็นกลไกที่สำคัญในการตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกร และสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้ถึงระดับชุมชน ทำให้ธนาคารมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน สามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ และเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของธนาคารได้

 

4. แนวโน้มความต้องการความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่เพิ่มสูงขึ้น จากแนวโน้มการเติบโตของอาหารเพื่อสุขภาพ เทรนด์การรักสุขภาพของแต่ละช่วงวัย เป็นโอกาสของธนาคารในการสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาภาคการเกษตรรองรับธุรกิจเกษตรที่มีมูลค่าสูง รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรลูกค้า

นอกจากนี้ แนวโน้มการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวิถีชุมชน ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้บริการทางการเงิน จึงเป็นโอกาสของธนาคารในการเข้าถึงชุมชนเพื่อเสนอการให้บริการทางการเงินร่วมกับการให้แหล่งเงินทุน เพื่อรักษาฐานลูกค้าและสร้างส่วนแบ่งการตลาด


ดังนั้น ธ.ก.ส. มีการทบทวนทิศทางการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงความเท่าทันในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ


โดยยังคงกำหนดวิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน และมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามพันธกิจภายใต้กรอบความยั่งยืนที่ครอบคลุมถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างมีธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ได้กำหนดกรอบทิศทางการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ในปีบัญชี 2568 ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มเสถียรภาพทางการเงินที่มั่นคง มุ่งเน้นการหาสินเชื่อกลุ่มใหม่ที่มีความมั่นคง (Secured Port) ควบคู่กับการสนับสนุนสินเชื่อภาคการเกษตรที่ยังคงเป็นธุรกิจหลักของธนาคาร

 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มการบริหารจัดการคุณภาพสินเชื่ออย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการบริหารจัดการหนี้ถึงกำหนดชำระ และบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพโดยคำนึงถึงเครื่องมือและมาตรการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ควบคู่กับการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการหนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มศักยภาพการแข่งขันลูกค้าสู่การสร้างมูลค่าการเกษตร มุ่งเน้นที่การฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกรกลุ่มเปราะบางให้มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อให้สามารถกลับมาทำธุรกิจกับธนาคารได้ ควบคู่กับการยกระดับขีดความสามารถลูกค้าเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็น Smart Farmer และผู้ประกอบการภาคการเกษตร รวมถึงมีการยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนกองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มเกษตรกร

 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มขีดความสามารถองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม จากแนวโน้มการเติบโตของการเงินดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องมุ่งเน้นการยกระดับบริการที่เป็น Digital Service ให้มีความครอบคลุมสามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ได้

 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรและกระบวนการทำงานที่สำคัญ โดยแนวโน้มความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถการทำงานของบุคลากรที่มีขีดความสามารถรองรับอนาคต ควบคู่กับการยกระดับกระบวนการทำงานที่สำคัญโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในส่วนของกระบวนบริหารจัดการข้อมูล และกระบวนการติดตามกำกับตรวจสอบที่มีการบูรณาการ เพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กรและชุมชน ภายใต้ ESG เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและความหลากหลายทางชีวภาพ


"จากแนวโน้มทิศทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานองค์กรภายใต้กรอบ ESG และ การบริหารจัดการกระบวนการภายในของธนาคาร และชุมชน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงต้องมีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สนับสนุนด้านความยั่งยืน"


นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อทุกมิติของชีวิต จึงวางรากฐานให้เกษตรกรไทยสามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล โดยมุ่งพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการเป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อนและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ คือ


1. AI and Data-Driven : การรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพจากหลากหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลสภาพอากาศ แนวโน้มราคาสินค้าเกษตร และข้อมูลตลาดและเศรษฐกิจ เพื่อช่วยคาดการณ์แนวโน้มการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงของตลาด สามารถนำมาใช้วิเคราะห์และสร้างคุณค่า รวมทั้งสามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยนำข้อมูลมาใช้ร่วมกับ AI ในการพยากรณ์แนวโน้มราคาสินค้าเกษตร ประเมินความเสี่ยงของลูกค้า และวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ

 

2. Cloud Computing : นำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงช่วยลดต้นทุน แต่ยังช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรม และสร้างโอกาสในการพัฒนาภาคการเกษตรไทยในระยะยาว

 

3. Digital Self-Service and Literacy : การตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล Self-Service ที่ต้องการบริการที่เข้าถึงได้ง่ายและประหยัดเวลา เพื่อสร้างความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และลดภาระการพึ่งพาการติดต่อที่สาขา ธ.ก.ส. จึงพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครบวงจร เช่น BAAC-Mobile ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงิน โอนเงิน ชำระหนี้ และทำธุรกรรมอื่นๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังมีการติดตั้งเครื่องบริการธุรกรรมอัตโนมัติ (ATM/CDM/PAM) รวมถึงมีตู้ชำระเงินกู้ เพื่อการบริหารจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ลูกค้ามีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล


6 มาตรการสนับสนุนนโยบายรัฐ ให้เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ-แก้หนี้เกษตรกร


นายฉัตรชัยเปิดเผยว่า สำหรับในปี 2568 ธนาคารมีนโยบายเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ผ่านการดำเนินโครงการสินเชื่อนโยบายรัฐ โดยสนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ภาคการเกษตรของพืชเศรษฐกิจหลักสำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ให้แก่ เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิต การรวบรวม การแปรรูป และการตลาด


โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร และช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สถาบันเกษตรกร สรุปดังนี้


1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของตนเองระหว่างรอการขายผลิตผล ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเมื่อราคาข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้มีราคาสูงขึ้นจนเป็นที่พอใจ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถไถ่ถอนนำข้าวเปลือกออกมาจำหน่ายได้รับส่วนต่างของราคาที่สูงขึ้น


2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมผลผลิต (ข้าวเปลือก / ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ / มันสำปะหลัง) และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรนำไปรวบรวม รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรสมาชิก และเกษตรกรทั่วไป เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม รวมทั้งสร้างรายได้แก่สถาบันเกษตรกรในการรวบรวมรับซื้อผลผลิตนำมาเก็บไว้เพื่อจำหน่วยต่อ หรือแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม


3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ / มันสำปะหลัง) สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรใช้เป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4. โครงการชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ผลผลิตเสียหายจากภัยธรรมชาติ หรือราคาผลผลิตตกต่ำ โดยเกษตรกรสามารถชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังออกไปได้อีก 6 เดือน เพื่อให้ผลผลิตฟื้นตัว คุณภาพดีขึ้น หรือขายได้ราคาสูงขึ้น


ในส่วนของมาตรการแก้หนี้สำหรับลูกหนี้ที่มีสัญญาหนี้ค้างชำระเป็น NPL มี 2 มาตรการ ดังนี้


1. มาตรการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ เพื่อขยายโอกาสและเสริมสร้างศักยภาพลูกหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินของลูกหนี้ โดยการลดภาระการชำระหนี้และลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และเพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ที่ยังคงมีศักยภาพ มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดีขึ้น


2. มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรื้อรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระทางการเงินของลูกหนี้ประสบปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) โดยการลดภาระการชำระหนี้และลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน และเพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ที่ยังคงมีศักยภาพ มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดีขึ้น

 

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

สธ. เตือน ปี 68 ผู้ติดเชื้อ HIV ใหม่ใกล้หมื่น ดับแล้วกว่า 1 หมื่นราย

สธ. เตือน ปี 68 ผู้ติดเชื้อ HIV ใหม่ใกล้หมื่น ดับแล้วกว่า 1 หมื่นราย

สุดทน "บุ๋ม ปนัดดา" ฟาดเดือด หลังโดนแซะสร้างภาพยืนชี้นิ้ว

สุดทน "บุ๋ม ปนัดดา" ฟาดเดือด หลังโดนแซะสร้างภาพยืนชี้นิ้ว

รู้แล้วตกใจ "ตาล ประวีณมัย" เผยยอดเงินเยียวยาซ่อมบ้าน ที่ได้จากรัฐ

รู้แล้วตกใจ "ตาล ประวีณมัย" เผยยอดเงินเยียวยาซ่อมบ้าน ที่ได้จากรัฐ

เซอร์ไพรส์มาก! เปิดชื่อเล่นจริงๆ ของ "ณิชา" ชื่อน่ารักไม่แพ้กัน

เซอร์ไพรส์มาก! เปิดชื่อเล่นจริงๆ ของ "ณิชา" ชื่อน่ารักไม่แพ้กัน

เด็ก 3 ขวบท้องผูก จู่ๆ อ้วกออกมาเป็นตัวๆ หมอผ่าตัดยิ่งตกใจ

เด็ก 3 ขวบท้องผูก จู่ๆ อ้วกออกมาเป็นตัวๆ หมอผ่าตัดยิ่งตกใจ