ข่าว

heading-ข่าว

หมอเตือนเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับ "มะเร็ง" ใครเป็น "เบาหวาน" ระวัง

08 เม.ย. 2568 | 15:17 น.
หมอเตือนเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับ "มะเร็ง" ใครเป็น "เบาหวาน" ระวัง

หมอเจด เตือน หลายคนยังเข้าใจผิดว่า “เบาหวาน” คือโรคน้ำตาลในเลือดสูงธรรมดา แต่ความจริงคือมันอาจกลายเป็นประตูสู่ “มะเร็ง” และโรคร้ายอื่น ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว!

อย่าคิดว่าเบาหวานแค่ควบคุมน้ำตาลก็พอ! เพราะงานวิจัยล่าสุดชี้ชัด เบาหวานชนิดที่ 2 เสี่ยงสูงต่อมะเร็งหลายชนิด ทั้งตับ ลำไส้ เต้านม และอีกเพียบ! 

"หมอเจดนพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า 

หมอเตือนเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับ มะเร็ง ใครเป็น เบาหวาน ระวัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลายคนคิดว่า “เบาหวาน” เป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วเบาหวาน
โดยเฉพาะชนิดที่ 2 นั้น ไม่ได้จบแค่เรื่องน้ำตาลในเลือดอย่างที่หลายคนเข้าใจ นะ
ยิ่งปล่อยไว้สู่โรคเรื้อรังร้ายแรงอื่น ๆ อย่าง “มะเร็ง” ได้เลยทีเดียว

1. งานวิจัยอะไรกับเรา?

ข้อมูลจาก International Diabetes Federation (IDF) บอกว่า ในปี 2021 มีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกมากถึง 537 ล้านคน
หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรโลก และตัวเลขนี้ยังไม่หยุดแค่นั้น
เพราะ IDF คาดการณ์ว่า ภายในปี 2045 ตัวเลขนี้จะพุ่งสูงถึง 783 ล้านคน ซึ่งน่ากังวลอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา
ในอีกด้านหนึ่ง World Health Organization (WHO) รายงานว่า ปี 2020 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 19.3 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากถึง 10 ล้านคน ทั่วโลก
ข้อมูลนี้สะท้อนว่า โลกเรากำลังเผชิญกับสองโรคเรื้อรังที่รุนแรงและมาพร้อมกันมากขึ้น และมันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
“เบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งหลายชนิดอย่างชัดเจน”
มีงานวิจัย วารสาร Diabetes Care ซึ่งตีพิมพ์โดย American Diabetes Association
ซึ่งพบว่าเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น

  • มะเร็งตับ (Liver Cancer)

– คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนทั่วไป

  • มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer)

– งานวิจัยบอกชัดว่าเสี่ยงเพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญเลย

  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer)

– เจอบ่อยในผู้หญิงที่เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะถ้ามีน้ำหนักเกินร่วมด้วย

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colorectal Cancer)

– คนที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองตามเกณฑ์ยิ่งเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก

  • มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

 

– โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

– มีข้อมูลที่ชี้ว่า คนเป็นเบาหวานระยะยาวมีโอกาสเจอมะเร็งชนิดนี้มากกว่าคนทั่วไป
เพราะฉะนั้น อย่ามองว่าเบาหวานเป็นแค่โรคน้ำตาลในเลือดสูงนะครับ มันเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะมะเร็งที่ไม่ควรมองข้ามเลยจริง ๆ

2. เบาหวานเกี่ยวอะไรกับมะเร็ง?

เพราะฉะนั้นทั้งเบาหวานกับมะเร็งมันเกี่ยวข้องกันนะครับ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ เบาหวานก็คือ “ดิน” ที่พร้อมจะให้ “มะเร็ง” เติบโตได้ง่ายขึ้น
ซึ่งมันเกี่ยวข้องกันด้วยกลไก 3 อย่างนี้
•ภาวะอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีระดับสารอักเสบในร่างกายสูงอยู่ตลอดเวลา
เช่น IL-6, TNF-α ซึ่งสารเหล่านี้สามารถส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดการแบ่งตัวผิดปกติ เกิดการกลายพันธุ์ และนำไปสู่มะเร็งได้
•ภาวะอินซูลินสูง (Hyperinsulinemia) เมื่อร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินมากขึ้น
อินซูลินในระดับสูงจะกระตุ้นให้เซลล์เจริญเติบโตมากเกินไป ซึ่งอาจเร่งให้เซลล์มะเร็งโตเร็วขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม ตับ และลำไส้
•ระดับน้ำตาลสูง น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์มะเร็ง เพราะเซลล์มะเร็งมีการเผาผลาญกลูโคสสูงกว่าปกติ
เพราะฉะนั้นการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตลอดเวลา จึงเหมือนการ “เติมเชื้อเพลิง” ให้กับมะเร็ง
ที่สำคัญคือ ภาวะอ้วนที่มักเกิดร่วมกับเบาหวาน ยังเป็นตัวเสริมความเสี่ยงอย่างแรง เพราะไขมันหน้าท้องจะหลั่งฮอร์โมนและสารอักเสบออกมาอีกเพียบ ทำให้ร่างกายยิ่งเสี่ยงโรคร้าย

3. เราจะป้องกัน หรือหายจากเบาหวานได้ยังไง?

แม้ฟังดูน่ากลัว แต่เราป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้จริง โดยเฉพาะในระยะก่อนเป็น หรือแม้แต่ในผู้ที่เป็นแล้วแต่ยังไม่ดื้อต่อการรักษา

  • ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน

หลายคนอาจมองข้าม เพราะคิดว่า “ก็แค่เปลี่ยนน้ำหวานเป็นน้ำเปล่า” แต่ผมบอกเลยว่า นี่คือด่านแรกที่หลายคนล้มเหลว
ผมเองก็เคยติดกาแฟหวาน ๆ สายคาราเมลมัคคิอาโตแบบหนักหน่วง วิธีที่ได้ผลที่สุดสำหรับผมคือ “หักดิบ” เลยครับ หิวน้ำหวานเมื่อไหร่ ยกน้ำเปล่ามาจิบทันที
หรือบางคนอาจเริ่มจากการค่อย ๆ ลดหวาน เปลี่ยนมาดื่ม กาแฟดำ ชาไม่หวาน หรือเครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาล จะช่วยให้ผ่านช่วง “ถอนน้ำตาล” ได้ง่ายขึ้น
จากประสบการณ์คนไข้ที่ผมดูแล ถ้าทำได้ 7-10 วัน ร่างกายจะเริ่มรีเซ็ต และความอยากน้ำตาลจะลดลงชัดเจน

  • เลือกคาร์โบไฮเดรตให้ดี

หลายคนเข้าใจผิดว่าไม่กินของหวาน = ไม่เสี่ยงเบาหวาน
แต่จริง ๆ แล้ว “คาร์บจากอาหาร” นี่แหละครับ ตัวดีเลย
ผมมักแนะนำคนไข้ว่า ลองสังเกตดูว่าคุณกิน ข้าวขาว บะหมี่ ขนมปังขาว เป็นประจำหรือเปล่า
เพราะคาร์บเชิงเดี่ยวเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลไวมาก
ทางเลือกที่ดีกว่าคือการกินแบบ Low Carb + คาร์บเชิงซ้อน
เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี มันหวาน ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี
ซึ่งจะค่อย ๆ ปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้อินซูลินไม่ต้องทำงานหนัก และลดโอกาสเสี่ยงดื้ออินซูลินในระยะยาว

  • ทำ IF (Intermittent Fasting)

การทำ IF โดยเฉพาะแบบ 16/8 คือการจำกัดช่วงเวลาการกินให้อยู่ใน 8 ชั่วโมง และเว้น 16 ชั่วโมง
ช่วยให้ระดับอินซูลินในร่างกายลดลง และเพิ่มความไวต่ออินซูลิน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยสนับสนุนว่า การทำ IF อย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในช่องท้อง และลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้จริง
อย่างไรก็ตาม คนที่เริ่มทำครั้งแรก ถ้ามีโรคประจำตัว แนะนำว่าปรึกษาหมอก่อนนะ

  • ลำดับการกิน

วิธีนี้ง่ายมาก แต่ได้ผลจริง เริ่มจากผักก่อน ตามด้วยโปรตีน แล้วค่อยกินคาร์บเป็นลำดับสุดท้าย
จากงานวิจัยพบว่า การกินตามลำดับนี้ช่วยลดการพุ่งของน้ำตาลหลังอาหารได้ถึง 30-40% เลยทีเดียว
เพราะผักและโปรตีนจะช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาลจากคาร์โบไฮเดรต
นอกจากนี้ยังช่วยให้อิ่มนาน ลดอาการหิวบ่อย และลดความเสี่ยงในการกินจุกจิกช่วงระหว่างมื้ออีกด้วย

  • ออกกำลังกาย

ออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องหนักแบบนักกีฬา แต่ควร “สม่ำเสมอ”
แนะนำให้ออกกำลังกาย อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะเป็นการเดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำก็ได้
ถ้าเน้นการเพิ่มกล้ามเนื้อ แนะนำให้มีการ เวทเทรนนิ่ง ร่วมด้วย เพราะกล้ามเนื้อเป็นเหมือนโรงงานเผาผลาญน้ำตาลที่ดีที่สุดของร่างกาย

4. แล้วถ้าเสี่ยงเบาหวาน เสี่ยงอะไรอีกบ้าง?

นอกจากความเสี่ยงต่อมะเร็งแล้ว เบาหวานยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด เช่น:
•โรคหัวใจ เบาหวานเพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบถึง 2-4 เท่า
•โรคไตวายเรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักของผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต
•เบาหวานขึ้นตา ทำให้ตาพร่ามัว จอประสาทตาเสื่อม จนถึงขั้นตาบอดได้
•เส้นประสาทเสื่อม ทำให้รู้สึกชา ปวดแสบปวดร้อน โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า
•ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เพราะภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย โดยเฉพาะแผลเบาหวานที่เท้า

5. ทั้งหมดที่เล่ามาไม่ใช่เพื่อให้กลัวเบาหวาน หรือกลัวมะเร็งจนเครียดนะครับ

แต่อยากให้เรา “รู้ทัน” และ “เห็นภาพ” ว่าโรคพวกนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นแบบปุ๊บปั๊บ
แต่มันค่อย ๆ สะสมจากพฤติกรรมเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวันที่เราทำอยู่ทุกวัน
เบาหวานไม่ใช่แค่เรื่องของน้ำตาล แต่มันเชื่อมโยงกับโรคอื่นอีกมาก
ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ไต ตา เส้นประสาท หรือแม้แต่มะเร็ง
และมันไม่ได้ไกลตัวเลยครับ

ใครที่มีความเสี่ยง อย่าลืมดูแลตัวเองตามที่ผมบอก จะได้ลดความเสี่ยง และอาหารแทรกซ้อนต่างๆนะครับ
ดูแลวันนี้ ดีกว่ารักษาพรุ่งนี้นะครับ ใครมีคำถามคอมเมนต์ได้เลยนะครับ

หมอเตือนเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับ มะเร็ง ใครเป็น เบาหวาน ระวัง

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ดวงเฮงรับสงกรานต์ ลุงป้าขายผักบ่อวิน ถูกรางวัลที่ 1 รับโชค 12 ล้าน

ดวงเฮงรับสงกรานต์ ลุงป้าขายผักบ่อวิน ถูกรางวัลที่ 1 รับโชค 12 ล้าน

"แพรรี่"  ตั้งคำถาม เตือนสติ ปมแผ่นดินไหวจังหวัด "ก.ไก่"

"แพรรี่" ตั้งคำถาม เตือนสติ ปมแผ่นดินไหวจังหวัด "ก.ไก่"

เผยสาเหตุ อาฉี ตลกดังเสียชีวิตกะทันหัน ปิดตำนาน ตลกเสียงหล่อ

เผยสาเหตุ อาฉี ตลกดังเสียชีวิตกะทันหัน ปิดตำนาน ตลกเสียงหล่อ

แฟนเพลงเฮลั่น "แม่ผ่องศรี" ให้โชคเต็มๆ รับทรัพย์ถ้วนหน้า

แฟนเพลงเฮลั่น "แม่ผ่องศรี" ให้โชคเต็มๆ รับทรัพย์ถ้วนหน้า

"ติ๊ก ชิโร่" เผยอาการล่าสุด หลังเข้า รพ.ตรวจหัวใจ แฟนๆ ส่งกำลังใจ

"ติ๊ก ชิโร่" เผยอาการล่าสุด หลังเข้า รพ.ตรวจหัวใจ แฟนๆ ส่งกำลังใจ