ทนายดังพูดเอง "วิธีแจ้งความ" ทำยังไงเรื่องถึงไม่เงียบ

รู้ไว้ก่อนพลาด! ทนายหงส์ หัทยา เผย “ประโยคสำคัญ” ที่ต้องมีในใบแจ้งความ หากไม่อยากให้คดีเงียบและกลายเป็นแค่หลักฐานลอย ๆ ในสมุดโรงพัก
แจ้งความแล้วเรื่องเงียบ? ทนายหงส์ไขข้อข้องใจ ทำไมตำรวจไม่เรียกสอบเพิ่ม! พร้อมแนะเทคนิคแจ้งความที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้คดีหลุดมือหรือขาดอายุความโดยไม่รู้ตัว
ทนายหงส์ หัทยา อั้นเต้ง เปิด เทคนิคการแจ้งความที่ถูกต้อง !!! แจ้งยังไงให้เรื่องไม่เงียบ
บางคนสงสัยว่า " ทำไมแจ้งความแล้วเงียบจัง? " เรื่องไม่เดินไปถึงไหนเลย ไม่มีการเรียกสอบเพิ่มเติมอะไรเลย
ขั้นตอนแรกเราต้องมาดูก่อนว่าการแจ้งความของเรานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ?
ในคดีอาญาบางข้อหาจำเป็นที่จะต้องร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีภายในอายุความ 3 เดือนด้วย เช่น คดีหมิ่นประมาท คดียักยอก คดีเช็ค เป็นต้น
ถ้าไม่ได้ดำเนินการแจ้งความภายในอายุความหรือแจ้งความไม่ถูกต้องคดีก็อาจขาดอายุความได้เลย มาดูกันว่าการแจ้งความที่ถูกต้อง ไม่ทำให้คดีขาดอายุความเป็นอย่างไร
การแจ้งความมี 2 ประเภท ดังนี้ คือ
1. แจ้งความเพื่อดำเนินคดีอาญาจนถึงที่สุด : ในรายการบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีที่เราไปแจ้งความที่โรงพักจะเป็นแบบฟอร์มเดียวกันทั้งหมด ย่อหน้าแรกจะลงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผู้แจ้ง ย่อหน้าถัดมาจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับคดีและข้อกฎหมายว่าแจ้งความเรื่องอะไรเกิดเหตุอะไรขึ้นและใครเป็นผู้กระทำความคิด
*** เทคนิคสำคัญ ให้ดูที่ย่อหน้าสุดท้ายหรือในกระดาษถ้าหากต้องการดำเนินคดีจะต้องมีข้อความประมาณว่า
" เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาจนถึงที่สุดต่อไป " ถ้าไม่มีประโยคแบบนี้ หรือว่ายังไม่เป็นเลขคดี ตำรวจมีสิทธิ์ที่จะไม่สอบเพิ่มเติมได้เพราะถือว่าเราไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดี
2. แจ้งประจำวันไว้เป็นหลักฐาน : ถ้าเราไปโรงพักเพื่อนแจ้งความประจำวันไว้เป็นหลักฐานเพียงเท่านี้ ถือว่าไม่ได้ต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ที่กระทำความผิด ถ้าหากในข้อหาความผิดที่มีอายุความ 3 เดือนและเลยอายุความไปแล้วถือว่าขาดอายุความทันที เพราะผู้แจ้งต้องการเพียงลงเพื่อเป็นประจำวันไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่ได้ต้องการเอาเรื่องกับผู้ที่กระทำความผิด เช่นนี้ แจ้งความไปกี่ปีเรื่องก็จะไม่คืบหน้า เขาจะไม่มีการเรียกสอบเพิ่มเติม เพราะถือว่ายังไม่ได้รับเป็นเลขคดี
ดังนั้น ถ้าการแจ้งความร้องทุกข์ไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด พนักงานสอบสวนย่อมไม่อำนาจสอบสวน
หากผู้ที่เกี่ยวข้อง เผลอเรอปล่อยให้มีการสอบสวนไป และพนักงานอัยการไม่ตรวจให้ดีสั่งฟ้อง ศาลก็ต้องยกฟ้อง ได้เลย !!!!
เพราะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ถึงแม้จะฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดก็ลงโทษไม่ได้ ตามปวิอ .มาตรา 120 และมาตรา 121
ข้อกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- มาตรา ๑๒๐ ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน
- มาตรา ๑๒๑ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ
วันนี้ทนายหงส์ รับมอบอำนาจจากลูกความมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่หมิ่นประมาท แม้ไม่เอ่ยชื่อแต่ถ้าข้อความนั้นสามารถสื่อให้รู้ได้ว่าใคร ก็ครบองค์ประกอบความผิดถามหมิ่นประมาทแล้วค่ะ
และแจ้งความกับลูกหนี้ในข้อหาแจ้งความเท็จ พี่กู้ยืมเจ้าหนี้ไปแล้วกลับมาแจ้งจับเจ้าหนี้ รอรับหมายเรียกได้เลยค่ะ #แบบนี้ใช่ไหมที่ลูกหนี้ต้องการ