ข่าว

heading-ข่าว

"หมอเจด" เผยเอง เจ็บหน้าอกแบบไหน คือสัญญาณเตือน "หัวใจวาย"

23 เม.ย. 2568 | 16:53 น.
"หมอเจด" เผยเอง เจ็บหน้าอกแบบไหน คือสัญญาณเตือน "หัวใจวาย"

แน่นหน้าอก แสบอก หายใจไม่อิ่ม...อย่าคิดว่าแค่กรดไหลย้อน! “หมอเจด” ชี้ชัด เจ็บแบบไหนควรรีบไปโรงพยาบาล เพราะอาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่อันตรายถึงชีวิต

เจ็บหน้าอกทีไรคิดว่าแค่ของทอดเล่นงาน? ฟังหมอเจดให้ดี! บางครั้งมันอาจไม่ใช่กรดไหลย้อน แต่คือสัญญาณเตือน “หัวใจจะวาย” รู้ไว้ 5 จุดต่างสำคัญระหว่างสองโรคนี้

โดย "หมอเจดนพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า เช็กด่วน ! เจ็บหน้าอกแบบนี้ กรดไหลย้อนหรือหัวใจวายกันแน่? 

หมอเจด เผยเอง เจ็บหน้าอกแบบไหน คือสัญญาณเตือน หัวใจวาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เวลาเจ็บหน้าอกขึ้นมา หลายคนตกใจ กลัวว่า "เราจะเป็นโรคหัวใจไหม?" แต่อีกใจก็คิด "หรือเป็นแค่กรดไหลย้อน"
จริงๆ แล้วอาการเจ็บหน้าอกอาจเกิดได้จากหลายอย่าง แต่ที่คนมักสับสนกันบ่อยๆ ก็คือ
โรคกระเพาะอาหารไหลย้อน (GERD - Gastroesophageal Reflux Disease) กับ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI - Myocardial Infarction)

สองโรคนี้แม้อาการจะคล้ายกัน แต่ความรุนแรงและผลลัพธ์ต่างกันมาก เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังนะว่ามันต่างกันยังไง

1. เจ็บหน้าอกแบบไหนคือกรดไหลย้อน แบบไหนคือหัวใจ?
กรดไหลย้อน (GERD): จะรู้สึก "แสบร้อนกลางอก" เหมือนกรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาหลอดอาหาร
แสบขึ้นมาจนถึงคอหรืออก มักเกิดหลังทานอาหาร โดยเฉพาะของทอด อาหารเผ็ด นม ชา กาแฟ หรือนอนหลังทานเสร็จ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI): เจ็บแบบ "แน่นๆ หนักๆ" เหมือนมีอะไรกดทับ หรือโดนนั่งทับอก
เจ็บอาจร้าวไปที่แขนซ้าย คอ กราม หรือหลัง มักเกิดขณะออกแรง หรือบางครั้งแค่ตอนนั่งเฉยๆ ก็เจอได้
สำหรับผู้หญิง: อาการหัวใจขาดเลือดอาจไม่ชัดเจนเหมือนผู้ชาย บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเด่นชัด แ
ต่จะมีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ อ่อนเพลียรุนแรง ปวดท้องส่วนบน หรือปวดร้าวที่คอหรือสะบัก
อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมกับหัวใจขาดเลือดคือ

  • เหงื่อออกมากผิดปกติ (เหงื่อเย็น)
  • หายใจลำบากหรือหายใจไม่อิ่ม
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ

2. อะไรเป็นตัวกระตุ้นของแต่ละโรค?
กรดไหลย้อน (GERD):
ส่วนใหญ่ถูกกระตุ้นด้วยอาหาร โดยเฉพาะอาหารมันจัด หรือมื้อหนักๆ แล้วนอนทันที
คนที่มีพุงเยอะ เครียด หรือท้องผูกบ่อย ก็เสี่ยงมากขึ้น
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI):
เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน จากโรคเรื้อรัง
เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมันสูง สูบบุหรี่ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

3. ท่าไหนทำให้ดีขึ้น? หรือแย่ลง?
กรดไหลย้อน (GERD):
นอนแล้วอาการจะแย่ลง ยิ่งเอนตัว ยิ่งแสบ แต่ถ้ายืนหรือนั่งตรงๆ อาจดีขึ้น ยาลดกรดช่วยได้ชัดเจน
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI):
ไม่ว่าจะยืน นั่ง หรือนอน ยังไงก็ยังแน่นอยู่ ยาลดกรดก็ไม่ช่วยอะไร พักยังไงก็ไม่ดีขึ้น ไปโรงพยาบาลด่วน

4. ตรวจยังไงถึงรู้แน่?
กรดไหลย้อน (GERD): หมอมักวินิจฉัยจากอาการและประวัติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจส่งตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI):ต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG), เจาะเลือดดูเอนไซม์หัวใจ (Troponin) และอาจต้องทำการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (ECHO)
หรือสวนหัวใจเพื่อดูหลอดเลือดโดยตรง
ใครมีอาการเจ็บหน้าอก ไม่ว่าจะแบบไหน แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็ว อย่าคิดเองว่าไม่เป็นไร ถ้าไม่มั่นใจ ไปให้หมอตรวจดีที่สุด

5. อะไรคือความต่างที่ต้องรู้ให้ทัน?
กรดไหลย้อน (GERD):ไม่ใช่โรคร้ายแรงทันที แต่ถ้าเป็นเรื้อรังอาจทำให้หลอดอาหารอักเสบ เป็นแผล หรือเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารได้ในระยะยาว
การรักษากรดไหลย้อน:
•ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน งดอาหารเผ็ด มัน ทอด
•ยกหัวเตียงขึ้น 15-30 องศา
•ยารักษามีหลายกลุ่ม ทั้งยาลดกรด ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) หรือยาปกป้องเยื่อบุ

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI): คือภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบรักษาทันที ถ้าปล่อยไว้นาน หัวใจจะเริ่มตายทีละส่วน บางคนหัวใจล้มเหลวถาวร หรืออาจเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลได้

ถ้า "หัวใจขาดเลือด" ขึ้นมาจริงๆ ควรทำยังไง?
1. หยุดทุกอย่าง หยุดเดิน หยุดยกของ หยุดทำกิจกรรมทันที แล้วนั่งพักในท่าที่สบายที่สุด
2. ขอความช่วยเหลือ โทร 1669 บอกว่า "แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก สงสัยหัวใจขาดเลือด" แจ้งตำแหน่งที่อยู่ให้ชัดเจน และอย่าขับรถไปเองเด็ดขาด
3. ยาที่อาจช่วยได้
•ถ้ามียาอมใต้ลิ้น (Nitroglycerin) และแพทย์เคยสั่งไว้ ให้ใช้ได้ตามคำแนะนำของแพทย์
•ถ้าไม่มีประวัติแพ้แอสไพริน และไม่มีปัญหาเลือดออกง่าย อาจเคี้ยวยาแอสไพริน 300 มก. หนึ่งเม็ด (ปรึกษาเจ้าหน้าที่ 1669 ก่อนให้ยา)
4. ห้ามขับรถไปเอง เพราะถ้าเกิดหมดสติกลางทาง จะไม่มีใครช่วยได้ทันท่วงที
5. ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ต้องเริ่มทำ CPR ทันที โทร 1669 แล้วเปิดลำโพง ให้เจ้าหน้าที่แนะนำวิธีทำ CPR ได้เลย

อาการเจ็บหน้าอก ไม่ควรมองข้ามนะ เพราะมันอาจเป็นแค่กรดไหลย้อน
หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจที่อันตรายถึงชีวิตก็ได้
สิ่งสำคัญที่สุดคือ "อย่าคิดเองเออเอง"
ถ้าไม่แน่ใจ รีบไปหาหมอ แล้วตรวจให้ชัดเจนนะครับ จะได้รักษาอย่างตรงจุด
ใครมีคำถามคอมเมนต์ได้เลยนะครับ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เปิดจุดต้นเพลิง "โรงแรมดาราเทวี" วอดกลางดึก สาเหตุยังเป็นปริศนา

เปิดจุดต้นเพลิง "โรงแรมดาราเทวี" วอดกลางดึก สาเหตุยังเป็นปริศนา

เนชั่น กรุ๊ป จับมือ เมดพาร์ค หนุนโครงการ อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ต่อเนื่องปีที่ 2

เนชั่น กรุ๊ป จับมือ เมดพาร์ค หนุนโครงการ อาสาดูแลหัวใจหมอ 2025 ต่อเนื่องปีที่ 2

มาดามแป้ง บริจาคเงินส่วนตัว 25 ล้าน ช่วยส.บอลฯ ชำระหนี้ สยามสปอร์ต

มาดามแป้ง บริจาคเงินส่วนตัว 25 ล้าน ช่วยส.บอลฯ ชำระหนี้ สยามสปอร์ต

ร้านซูชิเก็บค่าวาซาบิเพิ่มอีก 300 ทำลูกค้าไม่พอใจรีวิวให้ 1 ดาว

ร้านซูชิเก็บค่าวาซาบิเพิ่มอีก 300 ทำลูกค้าไม่พอใจรีวิวให้ 1 ดาว

เปิดดวง 6 ราศี ดวงชะตาพลิกฟื้น จะรวยกว่าเดิมหลายเท่า จะมีบ้านใหญ่กว่าเดิม

เปิดดวง 6 ราศี ดวงชะตาพลิกฟื้น จะรวยกว่าเดิมหลายเท่า จะมีบ้านใหญ่กว่าเดิม