ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

12 ธันวาคม 2566

ต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ “Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ. จากงบ 81.6 ล้านบาท เน้นออกแบบประหยัดพลังงานและนำพลังงานทดแทนมาใช้ ภายใต้แนวคิด“ลดพลังงาน เสริมคุณภาพชีวิต” ตั้งเป้าปี 2579 ประเทศไทยมีอาคารใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์มากกว่า 2,000 อาคาร

      ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

     ปัจจุบันการสร้างอาคารใหม่ ๆ ของไทยได้นำแนวคิดด้านการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทน โดยการทำให้การใช้พลังงานสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy Building: NZEB) เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอาคารและที่อยู่อาศัยมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาอาคารที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงให้ได้ 45% ในปี พ.ศ. 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 ในขณะที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้มีการประกาศแผนการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ถึง 25% ภายในปี พ.ศ. 2573 ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยได้มีการประกาศแผนการลดก๊าซเรือนกระจกไว้ในแผนธุรกิจและแผนการบริหารจัดการองค์กรมากขึ้น 

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

       กระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้เห็นความสำคัญที่จะต้องวางแผนและเริ่มการศึกษา ออกแบบ และก่อสร้างอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ซึ่งมีการดำเนินการในต่างประเทศอย่างแพร่หลายแต่ในประเทศยังไม่มีตัวอย่างที่สมบูรณ์ให้ศึกษาเรียนรู้ 

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

เริ่มศึกษาและทุ่มงบกว่า 81.6 ล้านบาท

     ในปี 2562 พพ. ได้เริ่มศึกษาและได้จัดสรรงบประมาณกว่า 81,600,000 บาท เพื่อสร้างอาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ “Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ. แห่งนี้ โดยมีการออกแบบภายใต้หลักการการอนุรักษ์พลังงานเพื่อลดการใช้พลังงานนอาคารผ่านการออกแบบที่ใช้ประโยชน์จากสภาวะแวดล้อม และการใช้วัสดุอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง พร้อมการใช้พลังงานทดแทนจากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้เกิด อาคารพลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building : NZEB) ตลอดจนมีการออกแบบตามมาตรฐานอาคารเขียวภาครัฐ G–GOODs ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2562 เพื่อให้การก่อสร้างอาคารมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นโครงการที่เข้ารับการประเมินการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวไทย (TREES-NC) ให้การรับรองโดยสถาบันอาคารเขียวไทย ระดับ Platinum และยังเป็นอาคารสำนักงาน Zero Energy Building ที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
 

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

“Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ.

-    อาคารสำนักงานสูง 6 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 2,650 ตารางเมตร 
-    ออกแบบ ตามแนวคิด “ลดพลังงาน เสริมคุณภาพชีวิต”  ตามแนวคิดการออกแบบที่สำคัญ ได้แก่ 
      1.    “Passive Design” ซึ่งเป็นการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 
      2.     “Active Design” ที่มีการออกแบบโครงสร้างอาคารให้มีความยั่งยืนด้านการใช้พลังงาน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ทันสมัยเข้ามาช่วยควบคุมการใช้พลังงาน เช่น การใช้ระบบปรับอากาศประสิทธภาพสูงทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ต่างๆ หรือการนำระบบบริหารจัดการอาคารอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero

-    ติดตั้งอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยใช้หลอด LED ประสิทธิภาพสูง ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับความเข้มแสงและจำนวนผู้ใช้อาคาร เพื่อควบคุมการเปิด-ปิด หลอดไฟอยู่ริมหน้าต่างอัตโนมัติเมื่อแสงธรรมชาติเพียงพอ และปรับปริมาณแสงสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน 
-    ระบบปรับอากาศ ประเภท Variable Refrigerant Flow ที่ทำงานร่วมกับเครื่องตรวจจับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 Sensor เพื่อเติมอาการบริสุทธิ์ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดภาวะอยู่สบาย 

 

ใหญ่ที่สุดในไทย! ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน Net Zero
-    มีเซ็นเซอร์ตรวจจับฝุ่น PM 2.5 ที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร
-    ติดตั้งพลังงานหมุนเวียน ด้วยแผงโซล่าร์เซลส์บนหลังคากว่า 100 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ประมาณ 145,157 kWh/yr (กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี) (92.9% ของความต้องการ) พร้อมแบตเตอรี่ลิเธี่ยม-อิออนเพื่อกักเก็บพลังงานสำหรับใช้ในอาคาร ขนาด 5kWh (กิโลวัตต์ชั่วโมง) 12V จำนวน 2 ชุด รวม 10 kWh (กิโลวัตต์ชั่วโมง) เป็นต้น 

 


ขอบคุณภาพและข้อมูล :  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน