ชุมชนยั่งยืน

heading-ชุมชนยั่งยืน

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย "รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ"

01 ก.พ. 2567 | 16:34 น.
สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย "รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ"

รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ Level 3 รองรับประชาชนและนักท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน เตรียมความรู้และบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านอีกขั้น ทดลองให้บริการ 31 มกราคม 2567 - 1 กรกฎาคม 2567 รอบบึงพระราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

     ปัจจุบันทั่วโลกเริ่มปรับตัวรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คาดว่าในอีก 10 - 20 ปีข้างหน้า จะเข้ามาแทนรถยนต์สันดาป  รวมทั้งความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ก็คือการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคของ “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ” (Connected and Autonomous Vehicle :CAV) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ยานยนต์อัตโนมัติ”  ที่ตัวยานยนต์จะมีระบบอัตโนมัติในการขับขี่และสามารถสื่อสารกับยานยนต์คันอื่นได้ โดยมีการกำหนดระดับขั้นของการพัฒนาระบบอัตโนมัติของยานยนต์ไว้ 5 ระดับ ตั้งแต่ในระดับที่มีระบบช่วยเหลือการขับขี่บางส่วน เช่น Cruise control (Level 1) ไปจนถึงระบบที่รถยนต์ทำงานอย่างอิสระเต็มรูปแบบโดยไม่จำเป็นต้องมีคนขับ  (Level 5) และหนึ่งในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ก้าวทันต่อการปรับตัวสู่ยุคยานยนต์ไร้คนขับ ที่จะมาถึงในอนาคอันใกล้คือ การสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนา “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

คุณศุภมาศ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานพิธีเปิดตัว 31 มกราคม 2567

     “โครงการสร้างรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบด้วยเทคโนโลยี 5G เพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน” ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มอบหมายให้ ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนารถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5G ร่วมกับ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (TKC) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เดือน (พ.ย. 65 - ก.ค. 67) 

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

     รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน และหัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะ หัวหน้าโครงการฯ  กล่าวว่า ในส่วนของการพัฒนารถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5G ต้นแบบคันนี้ ประกอบด้วยการวิจัยพัฒนาในหลายส่วน ทั้งการพัฒนาและติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเข้าไปในรถบัสไฟฟ้าซึ่งถูกผลิตในประเทศไทย.

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

ระบบควบคุมรถจากข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากเซนเซอร์ ได้แก่ 

  • ไลดาร์ จำนวน 6 ตัว 
  • เรดาห์ จำนวน 1 ตัว 
  • การทำแผนที่ความละเอียดสูงในเส้นทางวิ่งที่กำหนด และการเขียนโปรแกรมในการควบคุมและสั่งการรถบัส 
  • โดยรถบัสมีความสามารถการขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 3 ซึ่งจะขับเคลื่อนได้เองตามเส้นทางวิ่งที่กำหนดไว้แต่ยังมีความจำเป็นต้องมีพนักงานขับขี่นั่งอยู่หลังพ่วงมาลัยเพื่อความปลอดภัยและการตัดสินใจในบางสถานการณ์ 
  • มีการจัดทำระบบสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย 5G ที่จะทำให้รถสามารถสื่อสารกับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่จองที่นั่งผ่านแอปพลิเคชันได้ 

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"
สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

การออกแบบระบบ Drive by wire ประกอบด้วย 

  1. ระบบบังคับพวงมาลัยด้วยสัญญาณไฟฟ้าผ่านมอเตอร์ที่ติดตั้งบริเวณก้านพวงมาลัยเพื่อควบคุมการหมุนของพวงมาลัย 
  2. ระบบเบรกด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าผ่านมอเตอร์ที่ติดตั้งบริเวณแป้นเบรก 
  3. ระบบสั่งการคันเร่งด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าที่จะควบคุมการเปลี่ยนความเร็วของรถ ที่สำคัญคือระบบย่อยทั้ง 3 ระบบข้างต้น จะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่เก็บสัมภาระหลังคนขับ ที่จะมีฟังก์ชันสั่งการในการทำงาน 7 อย่าง คือ  การเร่ง การเบรก การหมุนของพวงมาลัย การสตาร์ทรถ การเปลี่ยนเกียร์การเปิดปิดไฟเลี้ยว เเละการทำงานของแตร 

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

การออกแบบระบบเซนเซอร์บนรถ

  • มีเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุและวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ หรือไลดาร์  (Light Detection and Ranging System – LiDAR)   ที่สามารถตรวจจับวัตถุในระยะไกลสุด 100 เมตร จำนวน 4 ตัว  ตรวจจับวัตถุที่ระยะไกลสุด 200 เมตรอีก 2 ตัว 
  • ทำงานร่วมกับเซนเซอร์เรดาห์ 1 ตัว ที่ติดตั้งบริเวณด้านหน้ารถเพื่อเพิ่มเติมการตรวจจับวัตถุในระยะไกล 

       โดยทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูล ณ เวลาและตำแหน่งปัจจุบัน ที่จะถูกนำไปประมวลผลร่วมกับแผนที่ความละเอียดสูงที่อยู่ในฐานข้อมูล เพื่อให้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติทำการตัดสินใจและสั่งการบังคับรถผ่านระบบ Drive by wire ในแต่ละฟังก์ชันต่อไป

การชาร์จรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ
     ได้รับการสนับสนุนพื้นที่จากเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรงขนาดกำลังไฟ 40 kW รวมทั้งเป็นพื้นที่จอดรถระหว่างการทดลองวิ่งให้บริการ

เทคโนโลยี 5G  เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
     ดร.ภาณุภัทร์ ภู่เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคม จาก บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) รองหัวโครงการฯ ให้ข้อมูลว่า ได้นำระบบ 5G มาผสานกับเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็น “ต้นแบบ” ของเทคโนโลยี C-V2X  (Cellular Vehicle-to-Everything)  ซึ่งเป็นระบบสื่อสารที่นำโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นพื้นฐานให้รถคันนี้สื่อสารกับสิ่งที่ต้องการเชื่อมต่อได้  ดังนั้น การสื่อสารผ่านเครือข่าย 5G กับแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว สามารถเรียกรถและจองที่นั่ง รวมทั้งดูตำแหน่งปัจจุบัน และเวลาที่รถจะมาถึงได้ 
     โดยระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมต่อยานยนต์กับการใช้งานด้านอื่นอีกมากมายในอนาคต ได้แก่ การเชื่อมต่อข้อมูลกับผู้โดยสารหรือผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อกับคนเดินเท้าหรือยานยนต์คันอื่น รวมถึงป้ายสัญญาณไฟจราจร ตลอดจนการรายงานอุบัติเหตุบนเส้นทาง ที่ทำให้การเดินทางสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนา “ยานยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  

  • ต้นแบบรถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5G ที่จะมีการนำไปทดลองวิ่งบริการนักท่องเที่ยวในพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ 31 มกราคม 2567 เป็นต้นไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2567 แล้ว 
  •  เตรียมความรู้และบุคลากรเพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านอีกขั้นจาก “ยานยนต์ไฟฟ้า” สู่ “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  
  • ต่อยอดการวิจัยและพัฒนายานยนต์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย  
  • การทำโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้เห็นทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ในด้านนโยบาย ด้านมาตรฐาน และด้านอื่นๆ ของประเทศไทยในการพัฒนา “ยานยนต์เชื่อมต่อและขับเคลื่อนอัตโนมัติ”  ซึ่งถือเป็นยานพาหนะเพื่อการเดินทางสมัยใหม่ 
  • ผลักดันให้ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ได้หันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างจริงจังยกระดับการท่องเที่ยวไร้มลพิษไปอีกขั้นอย่างแท้จริง

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"  

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

สุดล้ำ! ฝีมือคนไทย \"รถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ\"

ทดลองวิ่งให้บริการรถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา

     31 มกราคม 2567 -   1 กรกฎาคม 2567 จะมีการทดลองวิ่งให้บริการรถบัสไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในเส้นทางรอบบึงพระราม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วันศุกร์ - วันอังคาร เวลา 09.00 – 17.00 น. 
เรียกรับบริการ ผ่านแอปพลิเคชัน “5G Auto Bus” ได้ ณ ป้ายจอดรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ 4 แห่ง รอบบึงพระราม ได้แก่ 

  1. ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองพระนครศรีอยุธยา 
  2. วัดมหาธาตุ 
  3. วัดธรรมิกราช 
  4. วัดพระราม    

     สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  โทรศัพท์ 02-470-9637 หรือ 092-465-8936 อีเมล์ [email protected]  https://move.kmutt.ac.th 
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เปิดดวง 3 ราศีดวงดีฟ้าประทาน เงินทองไหลมาเทมา รักหวานฉ่ำ!

เปิดดวง 3 ราศีดวงดีฟ้าประทาน เงินทองไหลมาเทมา รักหวานฉ่ำ!

อย่ามองข้าม "คะน้า" ราชินีผักใบเขียว กินง่าย ได้สุขภาพเต็มๆ

อย่ามองข้าม "คะน้า" ราชินีผักใบเขียว กินง่าย ได้สุขภาพเต็มๆ

"ณิชา" สะดุ้ง "เจมมี่เจมส์" อวยพรวันเกิดสุดแซ่บ ขอให้คน...ออกไปจากชีวิต

"ณิชา" สะดุ้ง "เจมมี่เจมส์" อวยพรวันเกิดสุดแซ่บ ขอให้คน...ออกไปจากชีวิต

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เปิดสีเสื้อมงคลวันจันทร์ 21 เมษายน 2568 สายมูห้ามพลาดมีสีเดียว

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท

เงินเดือนข้าราชการ 2568 เริ่มปรับฐานใหม่วันไหน ขึ้นกี่บาท