เดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์อัฉริยะ เป้าโกย 200,000 ล้านเข้าประเทศ

18 กุมภาพันธ์ 2567

ไทยเดินหน้า "ศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAV)" ยกระดับความปลอดภัยยานยนต์ไทย ปูทางสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่เข้มแข็ง

     นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ เป็นที่พึ่งของประชาชน และแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆ ของประเทศ  

เดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์อัฉริยะ เป้าโกย 200,000 ล้านเข้าประเทศ

     โดยล่าสุดมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เร่งเดินหน้าผลักดันโครงการสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (T-CAV)  ณ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง เพื่อพร้อมให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล หวังดึงดูดการลงทุนของบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้าน Future mobility และเป็นตัวเร่งให้เกิดระบบนิเวศน์ของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 

เดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์อัฉริยะ เป้าโกย 200,000 ล้านเข้าประเทศ

     นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2565 – 2568)  

  • ครอบคลุมการก่อสร้างสนามทดสอบ CAV สำหรับใช้ทดสอบระบบนำทางของรถอัตโนมัติ
  • จำลองลักษณะของถนนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในเขตเมือง สัญญาณจราจร ป้ายจราจร
  • อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย เช่น รั้วกันชน พื้นที่อับสัญญาณ เช่น อุโมงค์หรือหลังคา พื้นที่รบกวนสัญญาณภาพ เช่น พื้นที่มีเงารบกวนจากต้นไม้
  • พร้อมทั้งทดสอบระบบขับเคลื่อนของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV
  • ระบบสื่อสารและโทรคมนาคมแบบ WiFi, 4G LTE, 5G 2600MHz เพื่อตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของโปรแกรมการนำทางและโปรแกรมเสริมความปลอดภัยในการขับขี่
  • ทดสอบการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างศูนย์ควบคุมกับรถอัตโนมัติหรือระหว่างรถอัตโนมัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

โดยมาตรฐานของสนามได้รับการทดสอบจาก IDIADA ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมชั้นนำระดับโลกที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานทางด้านการทดสอบยานยนต์มากกว่า 25 ปี 

เดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์อัฉริยะ เป้าโกย 200,000 ล้านเข้าประเทศ

     ในปี 2566 วศ.อว. ได้ให้บริการทดสอบเพื่อยืนยันสมรรถนะระบบ Automatic Emergency Braking (AEB) ให้กับผู้ประกอบการ 3 ราย ได้แก่ BMW (Thailand) (BMW 530e) GPSC (Chery EQ5) และ Horizon Plus (MG ZS EV 2022)  โดยบริษัท Horizon Plus จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง  Foxconn และ บริษัท ปตท. จำกัด มีเป้าหมายในการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ราคาประหยัดในประเทศไทยเพื่อใช้ในประเทศรวมทั้งเพื่อส่งออกไปยังประเทศ อื่นๆ เช่น อินเดีย

     โดยบริษัท Horizon Plus ได้ร่วมมือกับ วศ. ในการเตรียมขั้นตอนการทดสอบระบบ advance driver assistance system (ADAS) และระบบ autonomous driving (AD) โดยการผลิตดังกล่าวจะอยู่ที่โรงงานผลิตยานยนต์ของ Horizon Plus               ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ

เดินหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์อัฉริยะ เป้าโกย 200,000 ล้านเข้าประเทศ

     นอกจากนี้  วศ.อว. ยังได้ทดสอบยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ มุ่งเน้นที่การทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยของระบบ assisted/automated driving (ระบบช่วยขับขี่และระบบ ขับขี่อัตโนมัติ level 3-4) จำนวน 4 นวัตกรรม ได้แก่

  1. รถไฟฟ้าอัตโนมัติ (BYD e6) ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
  2. รถกอล์ฟไฟฟ้าอัตโนมัติของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  3. ระบบเก็บข้อมูลการเคลื่อนที่แบบใช้ GNSS แม่นยำสูง
  4. หุ่นยนต์ส่งของระดับความอัตโนมัติ Level 4 ยี่ห้อ NEOLIX

 เมื่อโครงการนี้เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ  วศ.อว. มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และหุ่นยนต์ของประเทศให้ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ EEC และในประเทศโดยคาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ถึง 200,000 ล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2573

โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ของไทยให้สามารถสร้างนวัตกรรมที่ขายได้ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มีผู้ประกอบการทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในไทยเพิ่มขึ้น  และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์รถอัตโนมัติ  ยานยนต์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เสริมความปลอดภัยในการขับขี่ (ADAS) ของไทย