ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

17 มีนาคม 2567

ชุมชนยั่งยืน พามาติดตามเรื่องราวของนักวิจัยไทยที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้พิการ โดยครั้งนี้เป็นการพัฒนานวัตกรรม “เท้าเทียมไดนามิกsPace” เเละมอบให้เเก่โรงพยาบาลในภาคอีสานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้พิการ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม

     สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก sPace คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลสุรินทร์  

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

     โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการมอบนวัตกรรม และ รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ได้รายงานถึงคุณภาพและความพร้อมของนวัตกรรม พร้อมกับนายแพทย์มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และคณะผู้บริหารโรงพยาบาลให้การต้อนรับ พร้อมด้วยตัวแทนผู้พิการทั้ง 4 โรงพยาบาล เข้าร่วมรับมอบนวัตกรรมเท้าเทียม ณ อาคาร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการขา ลดต้นทุนการนำเข้าเท้าเทียมจากต่างประเทศ
          ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง  ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. สนับสนุน ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และคณะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใน

การดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการขาขาดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าเท้าเทียมจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง เพื่อช่วยเพิ่มความสุขให้กับผู้พิการ 
     

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

     โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มอบให้กับ โรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 

  1. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 
  2. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 
  3. โรงพยาบาลขอนแก่น 
  4. โรงพยาบาลสุรินทร์ 

     โดยทั้งหมดจะมีการติดตามประเมินการใช้งาน เพื่อนำข้อมูลสนับสนุนการขอเข้าระบบของสปสช.ในช่วงต่อไป

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

นักวิจัยไทยพัฒนานวัตกรรม ตั้งเป้าเพิ่มคุณภาพชีวิต ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

     รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวถึง การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส sPace มุ่งหวังให้ผู้พิการเข้าถึงและนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมีความปลอดภัยและได้รับมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดให้ประชาชนผู้พิการทุกกลุ่มได้ยกระดับความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

ประชายังต้องได้รับการสนับสนุนนวัตกรรม เพื่อลดภาระและเพิ่มโอกาสทางสุขภาพ

     นายแพทย์มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กล่าวถึงการดูแลประชาชนในเขตสุขภาพที่ 10 และของจ.อุบลราชธานี ที่จะเข้ารับบริการในโรงพยาบาลว่า มีจำนวนประชากรร่วม 4-5 ล้านคน ซึ่งยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดภาระและเพิ่มโอกาสทางสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เข้ารับบริการการดูแลสุขภาพ และขอขอบคุณทาง วช. จุฬา และมหิดล ที่ให้ความสำคัญในการนำนวัตกรรมมามอบให้กับทุกโรงพยาบาลในครั้งนี้

ฝีมือคนไทย! พัฒนาเท้าเทียมไดนามิก sPace เพื่อผู้พิการ

เท้าเทียมไดนามิก sPace มาตรการสากล ISO 10328 จากประเทศเยอรมนี

     "เท้าเทียมไดนามิก sPace" ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 และได้ผ่านการทดสอบตามมาตรการสากล ISO 10328 จากประเทศเยอรมนี และทำการทดลองทางด้านทางด้านคลินิกโดยโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 

     เป็นวัสดุอุปกรณ์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ พัฒนาโดยฝีมือนักวิจัยของไทย ซึ่งในปีนี้ วช. ได้กำหนดการส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส sPace ทั่วทุกภูมิภาค และได้ติดตามประเมินผลการใช้งาน เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผน และการผลักดันเข้าสู่ระบบสุขภาพต่อไป