ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ชาติ (สวทช.) นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ทีมวิจัย สวทช. พร้อมด้วย ดร.วิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ Chief Supply Chain and Digitization Officer บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน)และคณะ
ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า การปลูกขิง และฟ้าทะลายโจรพันธุ์ราชบุรี ภายใต้ "โครงการการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ด้านพืช สมุนไพร)" นำร่อง 3 จังหวัดทุ่งกุลาร้องไห้ (ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม) เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับการผลิต แปรรูป พัฒนาต่อยอดพืชสมุนไพร โดยใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. โดยสถาบันสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชนโดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งเป็นการทำงานที่บูรณาการความร่วมมือแบบจตุภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม
โดย สวทช. ร่วมส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยพัฒนา ทดสอบ สาธิต และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชสมุนไพรให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน
ซึ่งการผลิตพืชสมุนไพรให้เพียงพอและได้มาตรฐานตามความต้องการนั้น สิ่งสำคัญในการผลิตสมุนไพร คือ
ซึ่งตลาดมีความต้องการ และในแปลงสมุนไพรต้องมีปริมาณโลหะหนัก สารพิษทางการเกษตร และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ ไม่เกินค่ามาตรฐาน และต้องผลิตสารสำคัญให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
สวทช. ร่วมกับ บริษัท โอสถสภาฯ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิตเชื่อมโยงกับบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความต้องการวัตถุดิบสมุนไพร เช่น ขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น
สมุนไพรที่มีศักยภาพและทางบริษัทฯ ต้องการเป็นจำนวนมาก คือ ขิง ในปี 2566 มีความต้องการขิงแห้ง 190 ตัน และปี 2567 มีความต้องการขิงแห้ง 180 ตันแห้ง นอกจากนี้ไพล และฟ้าทะลายโจร ก็เป็นอีกสมุนไพรทางเลือกที่ตลาดมีความต้องการ และมีงานวิจัยของ สวทช. ในเรื่องพันธุ์ การบริหารจัดการการปลูก ทำให้เลือก ขิง ไพลและฟ้าทะลายโจร เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับการผลิต แปรรูป พัฒนาต่อยอดพืชสมุนไพร โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า การทำงานร่วมกับบริษัทโอสถสภาฯ โดยเฉพาะประเด็นขิงในปี 2567 ทางโอสถสภามีความต้องการรับซื้อมากถึง 180 ตันแห้ง ซึ่งจากการสำรวจในปี 2565 มีเกษตรกรให้ความสนใจลงชื่อปลูกสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด 497 คน คิดเป็นพื้นที่ปลูก 310 ไร่ (ขิง 303 คน พื้นที่ 180 ไร่ ไพล 158 คน พื้นที่ 87 ไร่ ฟ้าทะลายโจร 66 คน พื้นที 44 ไร่) อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้จำนวน 165 คน พื้นที่ 105 ไร่
การดำเนินงานในปี 2566 ได้จัดทำโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชและยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีของเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
การดำเนินงานมี 2 แผนงาน
โดยผลการดำเนินงานปี 2566 จำนวน 2 กิจกรรม ประกอบด้วย
ขิง
ฟ้าทะลายโจร
ผลผลการดำเนินงาน 2566
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการ สวทช. ผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้บริหารคูโบต้าคาร์ปาเรชั่น จำกัด และผู้บริหาร หจก.ศิริบูรณ์ จงเจริญไพศาล ได้มอบป้าย “ศูนย์เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ระดับชุมชน” ให้แก่นายไพฑูรย์ ฝางคำ ประธานกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้ ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ผักไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ