นายเอกวรัญญู อัมมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายณัฐพล นาคพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนก่อสร้างและบูรณะ 1 สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา นางสาวสุขวิชญาณ์ นสมทรง ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน นำคณะสื่อมวลชนสำรวจทางเท้าบริเวณถนนราชดำริและถนนเพลินจิต และชมการปรับปรุงฝาท่อที่ออกแบบให้มีความโดดเด่นและแสดงออกถึงอัตลักษณ์ประจำย่านราชดำริ-เพลินจิต
โดยทางเท้าบริเวณนี้ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางนำร่องในการใช้มาตรฐานทางเท้าใหม่ที่จะมีความมั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น มีความเป็น Universal Design มากขึ้น และมีการปรับให้ทางเข้าออกอาคารกับทางเท้ามีความสูงที่ใกล้เคียงกัน
โดยกรุงเทพมหานครมีเป้าหมายในการพัฒนาทางเท้าของกรุงเทพมหานครให้เดินได้ เดินดี และน่าเดิน โดยในระยะแรกตั้งเป้าไว้ 1,000 กิโลเมตร ผ่าน 3 วิธี คือ
ตั้งเป้าทำทางเท้ามาตรฐานใหม่ 16 เส้นทาง
สำหรับการทำใหม่ทั้งเส้นทางมีการดำเนินการ 2 รูปแบบ
โดยการปรับปรุงแต่ละเส้นทางก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างออกไป เช่น ถนนเพลินจิตและราชดำริ มีการนำศิลปะมาใช้กับฝาท่อ ผ่านการออกแบบให้มีความโดดเด่นและแสดงออกถึงอัตลักษณ์ประจำย่านราชดำริ-เพลินจิต ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง รวมทั้งจะพัฒนาในเส้นทางอื่น ๆ ให้กลายเป็น 1 ในสัญลักษณ์ของเมืองเหมือนกับญี่ปุ่นที่มีการดึงเอาฝาท่อกับสัญลักษณ์ประจำเมืองมาผสมผสานกัน
นอกจากนี้ ยังปรับรางระบายน้ำตลอดแนวถนน จากรูปแบบเดิมที่เป็นช่องระบายน้ำติดกับฟุตบาท มาเป็นรางระบายน้ำตลอดแนวถนน เพื่อช่วยระบายน้ำท่วมขังบนถนนได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ กทม.จะยึด 5 แนวทางในการพัฒนาปรับปรุงทางเท้า คือ
มาตรฐานใหม่ 10 ข้อ เริ่มนำร่องกับ 16 เส้นทางในกรุงเทพฯ
ทางเท้าชำรุด เน้นรู้ไว ซ่อมเร็ว สภาพดี เพื่อความปลอดภัย
ในส่วนของการปรับปรุงและซ่อมแซมทางเท้าที่ชำรุด กทม. โดยสำนักการโยธาและสำนักงานเขตที่รับผิดชอบแต่ละพื้นที่จะใช้หน่วยเคลื่อนที่เร็ว (BEST) ออกดำเนินการซ่อมแซมให้เร็วที่สุด และให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย หากจุดไหนสามารถทำเป็นทางเท้ามาตรฐานใหม่ได้จะมีการปรับปรุงด้วยเช่นกัน โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาในการแจ้งผ่าน Traffy Fondue เมื่อพบเห็นจุดที่ชำรุดหรือเสี่ยงต่ออันตราย ทำให้เขตรับทราบปัญหาอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากการลงพื้นที่สำรวจด้วยตนเอง
สำหรับเส้นทางที่ไม่เหมาะสมในการทำทางเท้าขึ้นมา หรือ เช่น ในตรอกซอกซอย หรือในพื้นที่ที่มีทางเท้าแคบ ได้มีการรื้อย้ายสิ่งกีดขวางทางเท้า และใช้หลากหลายวิธีให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ เช่น การขีดสีตีเส้นช่วยแบ่งแนวให้คนเดินเท้า การนำพอรัสแอสฟัลต์ซึ่งน้ำซึมทะลุได้มาล้อมคอกต้นไม้เพื่อเพิ่มความกว้างของทางเท้าให้มากยิ่งขึ้น เป็นต้น