“น้ำคืนชีวิต” ปี 2 สร้างฝาย ฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

03 พฤษภาคม 2567

เครือซีพี ผนึกกำลัง เกษตรกรบ้านยอดดอยวัฒนา จ.น่าน สร้างฝายอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชน ปีที่ 2 มุ่งฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

     "ชุมชนยั่งยืน" พามาติดตามการดูเเลชุมชนอย่างยั่งยืน ที่จ.น่าน ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จ.น่าน ที่ร่วมกับชุมชนบ้านยอดดอยวัฒนา จัดกิจกรรมสร้างฝายอนุรักษ์ “น้ำคืนชีวิต” บ้านยอดดอยวัฒนา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ปีที่ 2  เพื่อฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

“น้ำคืนชีวิต” ปี 2  สร้างฝาย ฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม


 

“น้ำคืนชีวิต” ปี 2  สร้างฝาย ฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

     การดำเนินงานดังกล่าวมี คุณบัญชา โชติกำจร ผู้อำนวยการสำนักงานฯ คุณรังสรรค์ พุทธวงค์ ผู้จัดการทั่วไปด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ คุณจรัส พนะสัน ผู้ใหญ่บ้านยอดดอยวัฒนา และเพื่อนพนักงานในเครือฯ อาทิ บริษัท ซีพีแรม จำกัด บริษัท ซีพี เอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (แม็คโครสาขาน่าน) บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด ธุรกิจห้าดาว และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หน่วยธุรกิจสุกร สำนักงานน่าน ร่วมกันสร้างฝายและสนับสนุนกิจกรรม 

“น้ำคืนชีวิต” ปี 2  สร้างฝาย ฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

     สร้างฝายอนุรักษ์ “น้ำคืนชีวิต” เพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำในพื้นที่เขตป่าชุมชนบ้านยอดดอยวัฒนา พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการทำฝายให้เพื่อนพนักงานและเกษตรกร สร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการสร้างฝายอนุรักษ์

 

 


 

“น้ำคืนชีวิต” ปี 2  สร้างฝาย ฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

     การสร้างฝายอนุรักษ์ในครั้งนี้ จัดขึ้นที่บริเวณลำห้วยต้นน้ำหลักลาย จำนวน 2 ฝาย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนประปาหมู่บ้าน ในพื้นที่เขตป่าชุมชนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนป่าชุมชนครอบคลุมพื้นที่กว่า 500 ไร่

“น้ำคืนชีวิต” ปี 2  สร้างฝาย ฟื้นฟูระบบน้ำเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

  • ฝายอนุรักษ์ช่วยสร้างความชุ่มชื้น
  • ชะลอการไหลของน้ำบริเวณลำห้วย
  • เพิ่มอัตราการซึมของน้ำสู่ผิวดินได้มากขึ้น
  • เป็นพื้นที่รองรับปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก
  • ส่งผลให้ชุมชน 12 ชุมชน มีแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรเพิ่มมากขึ้น

      โดยการการดำเนินกิจกรรม ดำเนินภายใต้การทำงานของคณะกรรมการป่าชุมชนและกำหนดกติการ่วมกัน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เกิดความยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป