เศรษฐกิจ

heading-เศรษฐกิจ

เอกชนพร้อมปรับตัวรับ ค่าแรงใหม่​ ขอรัฐเลื่อนเวลาปรับเพิ่ม เดือน ม.ค. 66

12 ส.ค. 2565 | 17:07 น.
เอกชนพร้อมปรับตัวรับ ค่าแรงใหม่​ ขอรัฐเลื่อนเวลาปรับเพิ่ม เดือน ม.ค. 66

เอกชนพร้อมปรับตัวรับ ค่าแรงใหม่​ ขอรัฐเลื่อนเวลาปรับเพิ่ม เดือน ม.ค. 66 เนื่องด้วย สถานการณ์ อัตราเงินเฟ้อ ที่เพิ่มสูงขึ้น ​​​​​​จนทำให้มีการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในรอบ 2 ปี

เอกชนพร้อมปรับตัวรับ ค่าแรงใหม่​ ขอรัฐเลื่อนเวลาปรับเพิ่ม เดือน ม.ค. 66 ด้วยสถานการณ์ อัตราเงินเฟ้อ ที่เพิ่มสูงขึ้น ​​​​​​จนทำให้มีการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในรอบ 2 ปี ซึ่งส่วนของเอกชนพร้อมปรับตัวรับภาระต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้น 

เอกชนพร้อมปรับตัวรับ ค่าแรงใหม่​ ขอรัฐเลื่อนเวลาปรับเพิ่ม เดือน ม.ค. 66

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมยังกังวลเรื่องปัญหาเงินเฟ้อที่ประเมินว่าตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ 6% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 1-3% ซึ่ง ภาวะเงินเฟ้อ ในไทยมีสาเหตุจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบนำเข้า และ ค่าเงินบาท อ่อน นำไปสู่แนวโน้มการปรับขึ้น อัตราค่าแรงขั้นต่ำ ที่มีการเสนอเพดานอยู่ที่ 5-8% 

ภาวะเงินเฟ้อ และ ค่าครองชีพ ที่เพิ่มขึ้นต้องเห็นใจทุกฝ่าย ซึ่งนำไปสู่การที่ภาครัฐเริ่มคุยเรื่อง ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบโดยคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง อยู่บนพื้นฐานของข้อตกลง ตามค่าครองชีพที่แตกต่างกันในแต่ละจังหวัด รวมทั้งคำนึงถึงการฟื้นตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีหลังผ่านวิกฤติโควิดและ ภาวะเงินเฟ้อ ปัจจุบัน"

 

ทั้งนี้ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นราว 2-5% ต่างกันตามสัดส่วนแรงงาน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานอย่างเข้มข้นก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมาก อาทิ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง ในขณะที่อุตสาหกรรมที่ใช้ระบบออโตเมชั่น หรือใช้เครืองจักรเป็นส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบลดหลั่นกันไป

" กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีการใช้แรงงานในสัดส่วนสูงนั้น ยังได้รับอานิสงค์จากอุปสงค์ด้านอาหารที่เพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากความกังวลเรื่องภาวะการขาดแคลนอาหารทั่วโลกที่คาดว่าจะยิ่งรุนแรงขึ้นในปีนี้"

นอกจากนี้ แหล่งข่าวจาก ส.อ.ท. เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรเป็นไปตามข้อตกลงเดิม คือ เริ่มปรับขึ้นในเดือน ม.ค. 2566 เพื่อให้ภาคเอกชนได้เตรียมพร้อมรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กำลังรับมือกับต้นทุนอื่นๆ ที่ได้ปรับขึ้นไปแล้ว ทั้ง ราคาพลังงาน วัตถุดิบและค่าขนส่ง 

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ธุรกิจเข้าใจว่าอัตราค่าแรงจำเป็นต้องขยับขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันร้านอาหารมีการจ้างแรงงานในอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ 400 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม ยังคงกังวลถึงผลกระทบเชิงจิตวิทยา เพราะการที่ค่าแรงปรับขึ้น คนที่ได้ประโยชน์จริงคือ แรงงานต่างด้าว อีกทั้งสถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน ภาคธุรกิจบริการยังขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ทำให้ต้องพึ่งแรงงานต่างด้าว ก็ยิ่งผลักดันให้ค่าจ้างแรงงานต่างด้าวสูงขึ้น รวมถึงค่าแรงของคนไทยก็จะต้องขยับให้สูงขึ้นกว่าค่าแรงงานต่างด้าวอีก

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ส่องเลขฝาโลง "อาฉี" ตลกชื่อดัง เจ้าของวลีเด็ด "บัดซบจริงๆ เลย"

ส่องเลขฝาโลง "อาฉี" ตลกชื่อดัง เจ้าของวลีเด็ด "บัดซบจริงๆ เลย"

รู้จัก "แก้ม ศิริกาญจน์" เพื่อนสนิท "มายด์" สวยออร่า ดีกรีไม่ธรรมดา

รู้จัก "แก้ม ศิริกาญจน์" เพื่อนสนิท "มายด์" สวยออร่า ดีกรีไม่ธรรมดา

"มายด์" เผยคำเรียกแฟน หลังไม่ใช้คำว่าที่รัก แต่ใช้เรียกคนสนิท

"มายด์" เผยคำเรียกแฟน หลังไม่ใช้คำว่าที่รัก แต่ใช้เรียกคนสนิท

อย. ตรวจพบสารอันตราย "ซิลเดนาฟิล-ทาดาลาฟิล" ในอาหารเสริมยี่ห้อดัง

อย. ตรวจพบสารอันตราย "ซิลเดนาฟิล-ทาดาลาฟิล" ในอาหารเสริมยี่ห้อดัง

"กัน จอมพลัง" เดือด ท้าวัดพลัง ห้าวแค่ไหนก็ลากเข้าคุกมาแล้ว

"กัน จอมพลัง" เดือด ท้าวัดพลัง ห้าวแค่ไหนก็ลากเข้าคุกมาแล้ว