นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะถึงวันเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ลงทะเบียนบัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รอบใหม่ปี 2565 โดยจะเปิดให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถลงทะเบียนได้ในวันที่ 5 ก.ย. -19 ต.ค. 2565 ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th , https://welfare.mof.go.th หรือ ลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนในพื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่
- สำนักงานคลังจังหวัด
- ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
- สำนักงานเมืองพัทยา
- สาขาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- สาขาธนาคารออมสิน
- สาขาธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ)
คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนบัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รอบใหม่ 2565
1. สัญชาติไทย
2. อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
3. ไม่เป็น ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขังบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ฯ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือนผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ข้าราชการการเมือง ส.ส. , ส.ว.
4. รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และหากมีครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมรายได้ของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)
5. ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ ของผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และหากมีครอบครัว ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)
6. อสังหาริมทรัพย์ ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว
1. ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว: บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา และ/หรือ ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
กรณีเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
2. ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
กรณีผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว
1. ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
อยู่อาศัยอย่างเดียว
- กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินของลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
- กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
- กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
- กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร เป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
2. ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
- ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
7. ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
8. ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ได้แก่ วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และ/หรือ วงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท
ตัวอย่างวิธีคำนวณรายได้ และทรัพย์สินเฉลี่ยต่อครอบครัว การลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน
- ถ้าได้ผลลัพธ์มากกว่า 100,000 บาท : ทุกคนในครอบครัวจะไม่ได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ถ้าได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 100,000 บาท : สมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนคนที่มีรายได้เกิน 100,000 บาทต่อปี จะไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ตัวอย่างที่ 1 : ในบ้านมีสมาชิก 3 คน
- คนที่ 1 สามีจดทะเบียนสมรส : มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 70,000 บาท
- คนที่ 2 ภรรยาจดทะเบียนสมรส : มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 80,000 บาท
- คนที่ 3 บุตร อายุ 16 ปี : ไม่มีรายได้
รวมรายได้ครัวเรือนคือ 150,000 บาท หาร 3 คน เท่ากับ 50,000 บาท
ถ้าคนในบ้านนี้มีทรัพย์สินทางการเงินไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด มีอสังหาริมทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ไม่มีวงเงินกู้เกินเกณฑ์ ไม่มีบัตรเครดิต ผู้ที่สามารถลงทะเบียนได้มี 2 คน คือ สามีและภรรยา เนื่องจากบุตรยังมีอายุไม่ถึง 18 ปี ซึ่งไม่สามารถลงทะเบียนได้
ตัวอย่างที่ 2 : บ้านนี้มีสมาชิก 3 คน พ่อ-แม่ไม่ได้ทำงาน ไม่มีรายได้ ส่วนลูก 1 คน มีรายได้ 360,000 บาทต่อปี ทำให้รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยคือ 360,000 / 3 = 120,000 บาท ดังนั้นบ้านนี้จะไม่มีใครได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แม้ว่าพ่อ-แม่จะไม่มีรายได้ แต่ว่ารายได้เฉลี่ยของครอบครัวเกิน 100,000 บาท ต่อคน
ตัวอย่างที่ 3 : สามี-ภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และมีบุตร 1 คน อายุ 17 ปี โดยไม่มีชื่อบิดาในใบแจ้งเกิดของบุตร
- สามี ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัว 1 คน ไม่ต้องคำนวณรายได้เฉลี่ยกับภรรยาและบุตร
- ภรรยาและบุตร ถือว่ามีสมาชิกในครอบครัวรวม 2 คน ต้องนำรายได้ของภรรยาและบุตรมาคำนวณเฉลี่ยกัน แต่ไม่ต้องนำรายได้ของสามีมาคิด เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามี
ตัวอย่างการคำนวณ
- สามี มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 85,000 บาท
- ภรรยา มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 190,000 บาท
- บุตร อายุ 17 ปี มีรายได้ในปี 2564 จำนวน 50,000 บาท
ดังนั้น สามีที่มีรายได้ 85,000 บาท ถือว่าผ่านเกณฑ์สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่ต้องนำเงินไปรวมกับภรรยาและบุตร) ในขณะที่ภรรยาและบุตรจะมีรายได้รวมกัน 200,000 บาท หาร 2 คน เท่ากับมีรายได้เฉลี่ย 120,000 บาท จึงไม่ได้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Tnews