ตรึงราคาก่อนเลือกตั้ง ไม่ปรับขึ้นแน่นอน คนไทย หายห่วง ดีเซล ก๊าซหุงต้ม ค่าไฟ
“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี จะยุบสภาและเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกตั้ง ส่งผลให้ประชาชนต่างจับตามองนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลหรือแม้แต่การหาเสียงของพรรคการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะราคาพลังงาน “น้ำมัน-ก๊าซหุงต้ม-ไฟฟ้า” เพื่อเป็นต้นทุนสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ และส่งผลให้ประชาชนคนไทยได้มีสภาพคล้องทางได้การเงิน
ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาขายปลีก
ก๊าซ NGV ตั้งแต่ปลายปี 2564 ต่อเนื่องปี 2565 ที่อยู่ในระดับสูง ภาครัฐจึงได้มีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยขอความอนุเคราะห์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV ดังนี้
1. รถยนต์ทั่วไป ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 17.59 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2566
2. รถแท็กซี่ในโครงการเอ็นจีวีเพื่อลมหายใจเดียวกัน ของ ปตท. ให้คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ไว้ที่ 13.62 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2566
นอกจากนี้ ยังทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยมีกรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566
ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งถือเป็นพลังงานที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอีกส่วนสำคัญ กระทรวงพลังงานก็ได้ใช้กลไก สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ใช้เงินตรึงราคามาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปรับขึ้นบ้างในช่วงที่ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น และกองทุนน้ำมันฯ ตรึงมากสุดถึงลิตรละ 14 บาท จึงมีการปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลถึงลิตรละ 5 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ ช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. 2565 ราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกปรับลดลง ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ สามารถเก็บเงินเข้ากองทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทมาจนถึงปัจจุบัน กระทรวงพลังงานจึงปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลและคงไว้ที่ลิตรละ 34 บาท
นอกจากนี้ ยังกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วให้เป็นไปตามสัดส่วนการผสม ดังนี้
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 โดยปริมาตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 10 โดยปริมาตร
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 20 โดยปริมาตร
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 เพื่อไม่ให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้น และลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล
โดยประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงวันที่ 5 มี.ค. 2566 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิติดลบ 101,686 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน 55,468 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 46,218 ล้านบาท
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าเดือนพ.ค.-ส.ค.2566 จะเหลืออัตราเดียวทั้งภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม จากเดิมที่ใช้ค่าไฟฟ้า 2 อัตรา คือ ค่าไฟสำหรับครัวเรือนอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และค่าไฟภาคอุตสาหกรรม 5.33 บาทต่อหน่วย โดยการปรับลดลงของภาคอุตสาหกรรมมาเท่ากับภาคครัวเรือนนั้นเป็นไปตามแนวนโยบายที่ต้องช่วยดูแลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่ทำให้ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบ
ส่วนค่าไฟฟ้าของภาคครัวเรือนซึ่งอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ในงวดนี้ในฐานะผู้กำกับนโยบายก็ได้ให้นโยบายกับหน่วยงานที่จัดทำค่าไฟฟ้าคือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แล้วว่าไม่ควรที่จะปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าคือ ก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่ผ่านมา
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า แม้ว่าสำนักงาน กกพ. จะชง 3 แนวทางเพื่อกำหนดราคาค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 1-20 มี.ค. 2566 ก่อนจะเข้าที่ประชุมบอร์ดกกพ. พิจารณาวันที่ 22 มี.ค. 2566 และประกาศเป็นทางการวันที่ 23 มี.ค. 2566
กกพ. ได้คำนวณค่าไฟไว้ 3 แนวทาง คือ
กรณีที่ 1 : คือ (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 1 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 จำนวน 293.60 สตางค์ต่อหน่วย
แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้งหมด หรือ เงินภาระต้นทุนคงค้างสะสมเดือน ก.ย. 2554 - ธ.ค. 2555 จำนวน 150,268 ล้านบาท คิดเป็น 230,23 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.72 บาทต่อหน่วย ตามรายงานการ คำนวณตามสูตรเอฟที
กรณีที่ 2 : (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 5 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2556 จำนวน 105.25 สตางค์ต่อหน่วย
แบ่งเป็นเอฟที่ขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค.-ส.ค. 2556 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงที่คาดว่าจะคงเหลือจาก เดือน ม.ค. – เม.ย. 2556 จำนวน 136,686 ล้านบาท บางส่วน (เงินภาระต้นทุนคงค้างสะสมเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2565 หักภาระต้นทุนคงค้างที่ กกพ. เห็นชอบให้ทยอยเรียกเก็บบางส่วนเดือน ม.ค. - เม.ย. 2556 จำนวน 22.22 สตางค์ต่อหน่วย เป็นเงินประมาณ 13,584 ล้านบาท)
โดยแบ่งเป็น 5 งวดๆละ 27,337 ล้านบาทหรืองวด ละ 41.88 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายในเดือน ธ.ค. 2557 โดย กฟผ. จะต้องบริหาร ภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 109,349 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับ เพิ่มขึ้นเป็น 4.84 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอของ กฟผ.
กรณีที่ 3 : (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2556 จำนวน 98.27 สตางค์ต่อหน่วย
แบ่งเป็นเอฟที่ขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค. ส.ค. 2556 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงคาดว่าจะคงเหลือจากเดือน ม.ค. – เม.ย. 2556 จำนวน 136,686 ล้านบาท บางส่วน โดยแบ่งเป็น 6 งวดๆ ละ 22,781 ล้านบาทหรืองวดละ 34.90 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 2 ปี (เม.ย. 2558) โดย กฟผ. จะต้องบริหารภาระ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 113,905 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้น เป็น 4.77 บาทต่อหน่วย
“แม้ว่ากกพ.จะกำหนดราคามายังสูงกว่าที่นายสุพัฒนพงษ์ ต้องการนิดหน่อย แต่ 3 แนวทางที่นำเสนอก็ยังไม่ถือว่าเป็นราคาที่สิ้นสุด ซึ่งการจะปรับลดลงได้อีกนั้นก็มีความเป็นไปได้ จะเห็นได้จากการที่กกพ. เคยประกาศอัตราค่าไฟฟ้ารอบเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ไปแล้ว แต่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ปรับการคำนวณใหม่เพื่อให้ค่าไฟลดลงอีก ซึ่งกกพ.ก็ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยปรับลดการจ่ายเงินคืนค่า Ft ที่ค้างจ่าย กฟผ. จากเดิม 33 สตางค์ เหลือ 22 สตางค์ เป็นต้น”