เช็ก!เงินอุดหนุนบุตร เดือนมิถุนายน 2566 โอนเงิน 600 บาท เข้าบัญชีวันนี้
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ระบุว่า เงินอุดหนุนบุตรเดือนมิถุนายน 2566 เงินอุดหนุนจำนวน 600 บาทต่อเดือน โอนเข้าบัญชีผู้ปกครองที่มีสิทธิรับเงินในวันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผู้ปกครองที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนบุตร ตรวจสอบผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
1. เว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน (คลิก)
เช็กเงินอุดหนุนบุตร ได้ด้วยตนเอง ขั้นตอนง่ายๆ แค่กรอก-คลิกเท่านั้น!
2. แอปพลิเคชันทางรัฐ
3. แอปพลิเคชันเงินเด็ก
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนบุตร เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
การจ่ายเงิน
1.จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ในอัตรา 600 บาท ต่อคน ต่อเดือน จนมีอายุครบ 6 ปี เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้รับเงินอุดหนุนต่อไป จนมีอายุครบ 6 ปี
2.เด็กแรกเกิดที่เคยรับเงินอุดหนุนและมีอายุเกิน 3 ปี ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้รับเงินอุดหนุนต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 3 ปี จนมีอายุครบ 6 ปี โดยไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่
3.เด็กแรกเกิดที่ไม่มีสิทธิก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ หากมีคุณสมบัติตามระเบียบนี้ ให้มาลงทะเบียนได้ เริ่มรับเงินนับตั้งแต่เดือนที่ยื่นขอรับสิทธิ จนมีอายุครบ 6 ปี
4.เด็กแรกเกิดซึ่งเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2562
-มายื่นลงทะเบียนภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 รับเงินนับตั้งแต่เดือนที่เด็กเกิดจนมีอายุครบ 6 ปี
-มายื่นลงทะเบียนภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2562 รับเงินนับตั้งแต่เดือนที่มายื่นขอรับสิทธิ จนมีอายุครบ 6 ปี
5. เด็กแรกเกิดที่เกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป รับเงินนับตั้งแต่เดือนที่ยื่นขอรับสิทธิจนมีอายุครบ 6 ปี
การจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคาร
บัญชีธนาคารที่ใช้สำหรับแนบเอกสารเพื่อยื่นลงทะเบียนในโครงการ ประเภทบัญชีเงินฝากจะต้องเป็น ออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ เผื่อเรียก กระแสรายวัน เท่านั้น โดยมีทั้งหมด 3 ธนาคาร ดังนี้
1. ธนาคารกรุงไทย (บัญชีออมทรัพย์)
2. ธนาคารออมสิน (บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก)
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) (บัญชีเงินฝากออมทรัพย์)
โทร. 0-2651-6534 / 0-2651-6920 / 0-2651-6902 / 0-2255-5850 ถึง 7 ต่อ 121, 122, 123 ,147, 152 หรือ โทรสายด่วน พม. 1300
ข้อแนะนำ
หมั่นตรวจสอบข้อมูลของท่านในระบบตรวจสอบสิทธิเป็นประจำ
หากมีการเปลี่ยนแปลง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของท่าน ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขข้อมูลของท่านให้เป็นปัจจุบัน (เพื่อการติดตามของเจ้าหน้าที่จะได้รวดเร็ว)