ชาวโซเชียลแห่โพสต์ตั้งตารอ ค่าแรงขั้นต่ำ 600-เงินเดือน ป.ตรี 25,000

23 สิงหาคม 2566

กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อนโยบายของพรรคเพื่อไทย นอกจากเงินดิจิทัล 10,000 บาท และที่มากไปกว่านั้นคือ นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท เงินเดือน ป.ตรี 25,000 บาท ย้อนดูเหตุผลประกอบ เพื่อไทย ยืนยันทำได้จริงหรือไม่

ชาวโซเชียลแห่โพสต์ตั้งตารอ ค่าแรงขั้นต่ำ 600 -เงินเดือน ป.ตรี 25,000 

ชาวโซเชียลแห่โพสต์ตั้งตารอ ค่าแรงขั้นต่ำ 600-เงินเดือน ป.ตรี 25,000

ค่าแรง 600 บาท คิดจากอะไร ?
เพื่อไทยชี้แจงว่า 3 องค์ประกอบของค่าแรง คือ การโตของเศรษฐกิจ ผลิตภาพแรงงาน และเงินเฟ้อ ค่าแรงต้องถูกปรับอย่างสม่ำเสมอตามปัจจัยเหล่านี้ แต่ 20 ปีที่ผ่านมาเกาะอยู่เงินเฟ้อและผลิตภาพแรงงาน และโตไม่ทัน GDP เศรษฐขยายตัวเร็วกว่ารายได้ของแรงงาน

หมายถึงรายได้นายจ้างโตเร็วกว่าลูกจ้าง และนี่คือปัญหา คือสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข และตั้งเป้า GDP ต่อจากนี้จะโตปีละ 5% หากไม่ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ช่องว่างจะระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะยิ่งกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น


ค่าแรง 600 บาท กับนายจ้าง ?
นายจ้างกับลูกจ้างคือขาซ้ายและขาขวาของเศรษฐกิจ ต้องเดินไปคู่กัน การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องทำคู่ขนานกับต้นทุนนายจ้าง ซึ่งเราจะมีการออกมาตรการสำหรับผู้ประกอบการต่อไป ทั้งในเรื่องของภาษีและสิทธิประโยชน์ รวมทั้งการผลักในเศรษฐกิจขยายตัว จากนโยบายทั้งหมดของพรรคเพื่อไทย และในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรับค่าแรง ผนวกกับการลดภาระผู้ประกอบการผ่านการลดภาษีนิติบุคคล


 

ชาวโซเชียลแห่โพสต์ตั้งตารอ ค่าแรงขั้นต่ำ 600-เงินเดือน ป.ตรี 25,000

"นโยบายพรรคเพื่อไทย" นอกจาก เงินดิจิทัล 10,000 บาทที่ถูกถามเป็นอย่างมากแล้วนั้น ในโลกโซเชียลที่ต่างกระหน่ำโพสต์ตั้งตารอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท เงินเดือน ป.ตรี 25,000 บาท ไม่เว้นแต่ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งก็มีจำนวนมากไม่แพ้กัน

หลังจากที่การโหวตนายกฯ เมื่อวานนี้ (22 ส.ค.2566) มติที่ประชุมสภาต่างลงมติ "เห็นชอบ" เลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ คนที่ 30 และเตรียมที่จะมีการโปรดเกล้าฯเพื่อดำรงตำแหน่งในช่วงเวลา 18.00 น. ต่อไปนั้น 

ซึ่งหลังจากที่รัฐบาลนำโดยพรรคเพื่อไทยผ่านฉลุยในสภาฯ ประชาชนทั้งในโลกออนไลน์ และออฟไลน์จำนวนมากต่างให้ความสนใจและต่างค้นหานโยบายพรรคเพื่อไทย

โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจปากท้องที่หลายคนจำได้ดีว่า นโยบายชูโรงตอนหาเสียงทั้ง เติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท , ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท , เงินเดือน ป.ตรี เริ่มต้นที่ 25,000 บาท หรือค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส 20 บาทตลอดสาย หลายคนอยากรู้ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ และนโยบายไหนมีแนวโน้มว่าจะทำได้เร็วที่สุด

ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปย้อนดู "นโยบายพรรคเพื่อไทย" โดยเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท เงินเดือน ป.ตรี 25,000 บาทภายในปี พ.ศ. 2570 รวมทั้งข้าราชการด้วย และเหตุผลประกอบที่ทางเพื่อไทยนั้นยืนยันว่า นโยบายดังกล่าวนั้นสามารถทำได้จริง

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย ได้เคยพูดถึงประเด็นนี้ไว้ในงาน "คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน" โดยระบุว่า 

1. ค่าแรง 600 บาท กับปี 2570 เหมาะไหม ทำได้หรือไม่?

คำตอบคำถามนี้ พุ่งตรงไปที่วิสัยทัศน์ของผู้พูดว่ามองประเทศไทยในปี 2570 มีหน้าตาเป็นแบบไหน หากมองยังไทยเป็นผู้รับจ้างผลิต เป็นเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน เป็นการท่องเที่ยวราคาถูก เป็นการผลิตที่ใช้แต่แรงงานไร้ฝีมือ ไม่แปลกใจว่าค่าแรง 600 บาท คงเป็นสิ่งที่เพ้อฝัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่วิธีคิดของพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่วิสัยทัศน์ของหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย

ในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายใต้รัฐบาลเพื่อไทยที่บริหาร 4 ปี หลังได้รับการเลือกตั้ง ไทยจะยกระดับการผลิตไปอีกขั้น จากผู้ผลิตตามคำสั่งต่างชาติ จะกลายเป็นการเป็นผู้สร้างนวัตกรรม จากภาคการเกษตรตามยถากรรมจะพลิกเป็นการเกษตรที่กำหนดราคาได้ จากการตลาดนำการผลิต จากภาคบริการรายได้ต่ำ เป็นภาคบริการชั้นสูงที่ยกระดับรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น

ต่อไปนี้ไทยจะดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติด้วยเศรษฐกิจศักยภาพสูง ด้วยแรงงานศักยภาพสูง ไม่ใช่แรงงานทักษะต่ำราคาถูก คู่แข่งของเราไม่ใช่เวียดนาม แต่เป็นสิงคโปร์และประเทศที่พัฒนาแล้ว นี่คือวิสัยทัศน์ของเราในอีก 5 ปี ที่ต่างกับผู้วิจารณ์ หน้าตาประเทศไทยที่ต่างกัน และนั่นนำไปสู่ค่าแรงที่แตกกัน

2. ค่าแรง 600 บาท คิดจากอะไร?

3 องค์ประกอบ ของค่าแรง การโตของเศรษฐกิจ ผลิตภาพแรงงาน และเงินเฟ้อ ค่าแรงต้องถูกปรับอย่างสม่ำเสมอตามปัจจัยเหล่านี้ แต่ 20 ปีที่ผ่านมาเกาะอยู่เงินเฟ้อและผลิตภาพแรงงาน และโตไม่ทัน GDP เศรษฐขยายตัวเร็วกว่ารายได้ของแรงงาน หมายถึงรายได้นายจ้างโตเร็วกว่าลูกจ้าง และนี่คือปัญหา คือสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข และเราตั้งเป้า GDP ต่อจากนี้จะโตปีละ 5% หากไม่ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ช่องว่างจะระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะยิ่งกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น

3. ค่าแรง 600 บาท กับนายจ้าง?

นายจ้างกับลูกจ้างคือขาซ้ายและขาขวาของเศรษฐกิจ ต้องเดินไปคู่กัน การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องทำคู่ขนานกับต้นทุนนายจ้าง ซึ่งเราจะมีการออกมาตรการสำหรับผู้ประกอบการต่อไป ทั้งในเรื่องของภาษีและสิทธิประโยชน์ 

รวมทั้งการผลักในเศรษฐกิจขยายตัว จากนโยบายทั้งหมดของพรรคเพื่อไทย และในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรับค่าแรง ผนวกกับการลดภาระผู้ประกอบการผ่านการลดภาษีนิติบุคคล

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงสามารถ

เพิ่มค่าแรง 
ลดภาษีผู้ประกอบการ แต่เก็บภาษีได้เพิ่มมากขึ้น รายได้เอกชนขยายตัวขึ้น 
GDP ขยายตัว 
ทั้งหมดคือความสำเร็จของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าขึ้นค่าแรงโดยเศรษฐกิจยังโต เอกชนเฟื่องฟูนั้นทำได้ และเราเคยทำมาแล้วและจะทำอีกครั้ง

ค่าแรง 600 บาท กับการเร่งเงินให้หมุนเร็วในระบบเศรษฐกิจ ปัจจุบันเม็ดเงินในประเทศหมุนช้าที่สุดในรอบ 20 ปี ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มความเร็วของการหมุนเงินในระบบเศรษฐกิจ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นของแรงงาน 600 บาทเป็นหนึ่งในคำตอบที่สำคัญ จำเป็นต้องสร้างรายได้ในชนะภาระหนี้ และสามารถสร้างเศรษฐกิจที่ขยายตัว 

ทั้งนี้ ในช่วงรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยทำมาแล้ว เศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงด้วยเม็ดเงินที่หมุนเร็ว เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เงินเปลี่ยนมือเร็ว เงินหมุนเร็ว กว่าในรัฐบาลปัจจุบันเกือบ 40% เงินในอดีตหมุนเร็วกว้าในปัจจุบันเกือบ 2 เท่าตรงนี้เป็นสิ่งอันตรายและต้องเร่งแก้ไข

ชาวโซเชียลแห่โพสต์ตั้งตารอ ค่าแรงขั้นต่ำ 600-เงินเดือน ป.ตรี 25,000


ที่มา:  พรรคเพื่อไทย