อินโดนีเซีย ห้าม รพ. จ่ายยาน้ำเชื่อมให้แก่เด็ก หลังพบภาวะไตวายเฉียบพลัน

20 ตุลาคม 2565

อินโดนีเซีย ประกาศห้ามแพทย์และโรงพยาบาลจ่ายยาน้ำและยาน้ำเชื่อมทุกชนิดให้แก่ผู้ป่วยเป็นการชั่วคราว หลังพบเด็กเสียชีวิตเกือบ 100 คนในปีนี้ จากภาวะไตวายเฉียบพลัน...

วันที่ 18 ตุลาคม 65  โมฮัมหมัด ชาห์ริล โฆษกกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียรายงานการตรวจพบผู้ป่วย "ไตวายเฉียบพลัน" (AKI) สูงถึง 206 รายในเด็ก และมีผู้เสียชีวิต 99 ราย นับตั้งแต่เดือน ม.ค. เป็นต้นมา

สำหรับสาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลันในเด็ก อยู่ในระหว่างการสอบสวน อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกัน ทางกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียจึงมีคำสั่งให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนงดสั่งจ่ายยาน้ำ และยาผสมน้ำเชื่อมทุกชนิดชั่วคราว จนกว่าทีมวิจัยจะตรวจสอบกรณีนี้เสร็จสิ้น

 

อินโดนีเซีย ห้าม รพ. จ่ายยาน้ำเชื่อมให้แก่เด็ก หลังพบภาวะไตวายเฉียบพลัน

 

 

 

“เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน กระทรวงได้ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพทุกแห่งหยุดสั่งจ่ายยาหรือให้ยาที่เป็นของเหลวหรือน้ำเชื่อมชั่วคราวจนกว่าการวิจัยและการสอบสวนของเราจะเสร็จสิ้น” โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าว 

 

อินโดนีเซีย ห้าม รพ. จ่ายยาน้ำเชื่อมให้แก่เด็ก หลังพบภาวะไตวายเฉียบพลัน
 

เหตุการณ์ไตวายเฉียบพลันในเด็กของอินโดนีเซียเกิดขึ้นในขณะที่รัฐบาลแกมเบียสอบสวนการเสียชีวิตของเด็ก 70 คนจากภาวะเดียวกันนี้ ที่เชื่อมโยงกับน้ำเชื่อมพาราเซตามอล ซึ่งมี "ไดเอทิลีนไกลคอล" และ "เอทิลีนไกลคอล" ในระดับที่มากเกินไป โดยส่วนผสมที่ผิดพลาดดังกล่าวเกิดขึ้นกับยาแก้ไอและยาลดไข้ 4 ขนาน ที่ผลิตโดย "เมเดน ฟาร์มาซูติคัลส์" บริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดีย

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอาหารและยาของอินโดนีเซียกล่าวว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่มีจำหน่ายในประเทศ และส่วนผสมอันตรายทั้ง 2 อย่าง ก็ถูกห้ามใช้เป็นส่วนผสมในยาน้ำชนิดผสมน้ำเชื่อมสำหรับเด็กในอินโดนีเซียอยู่แล้ว

 

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ tnews