มหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน ในนครอู่ฮั่น เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยชาวจีนได้ค้นพบหลักฐานโดยตรงที่พิสูจน์การมีอยู่ของมหาสมุทรโบราณดาวอังคาร บนที่ราบทางตอนเหนือของดาวอังคาร
อู่ฮั่น, (xinhuathai) ได้เผยการศึกษาก่อนหน้านี้พบหลักฐานของเหลวปริมาณมากบนดาวอังคารในยุคแรก ทว่าข้อกล่าวอ้างนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงเนื่องจากขาดการวิเคราะห์ ณ พื้นที่
บทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารเนชันแนล ไซแอนซ์ รีวิว (National Science Review) เผยว่าทีมวิจัยนำโดยเซียวหลง ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฯ ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากกล้องบันทึกภาพมัลติสเปกตรัมของยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารจู้หรง และพบหลักฐานทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับหินของหินตะกอนทะเลบนพื้นผิวดาวอังคารเป็นครั้งแรก
เซียวกล่าวว่าเมื่อพิจารณาภาพจากกล้องบนยานสำรวจดังกล่าว เราพบว่าโครงสร้างชั้นหินที่ปรากฏออกมานั้นแตกต่างจากหินภูเขาไฟทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคารอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงโครงสร้างชั้นหินอันก่อตัวจากเนินทรายทับถมจากลมพัด (Aeolian sands)
เซียวเสริมว่าข้อมูลคุณสมบัติการไหลเวียนสองทิศทางของชั้นหินข้างต้น สอดคล้องกับกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงพลังงานต่ำในสภาพแวดล้อมมหาสมุทรชายฝั่งน้ำตื้นของโลก
ทั้งนี้ ผลการศึกษาฉบับดังกล่าวได้ส่งมอบข้อมูลสนับสนุนโดยตรงต่อการมีอยู่ของมหาสมุทรโบราณบนดาวอังคารในอดีต
cr. xinhuathai