เฉลยเคสหนุ่มวัย 22 เสียชีวิตหลังดื่มน้ำอัดลม หมอเปิดข้อมูลสู้ สรุปยังไงแน่

27 พฤษภาคม 2567

หนุ่มวัย 22 เสียชีวิตแทบทันทีหลังดื่ม "น้ำอัดลม" 1.5 ลิตรในคราวเดียว หมอเปิดข้อมูลสู้กันนัวสรุปยังไงกันแน่

เป็นไปได้ยากแต่ก็เป็นไปแล้วกับเคส "หนุ่มวัย 22 ปีเสียชีวิตหลังดื่มน้ำอัดลม" ซึ่งไม่นานมานี้ วารสารการแพทย์ "肝臟病學與胃腸病學的臨床與研究" มีการตีพิมพ์กรณีที่พบได้ยาก ชายหนุ่มชาวจีนดื่มน้ำอัดลม 1.5 ลิตร 


ต่อมามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงใน 6 ชั่วโมง และเสียชีวิต 18 ชั่วโมงหลังการรักษา ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวอังกฤษ เชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่ชายคนนี้จะเสียชีวิตจากการดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป

 

เฉลยเคสหนุ่มวัย 22 เสียชีวิตหลังดื่มน้ำอัดลม หมอเปิดข้อมูลสู้ สรุปยังไงแน่

 

โดยจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยแพทย์ชาวจีนในวารสารระบุว่า ชายวัย 22 ปี ที่ไม่โรคประจำตัวใดๆ ดื่มน้ำอัดลม 1.5 ลิตร ภายในเวลา 10 นาที เนื่องจากอากาศร้อนและกระหายน้ำ จากนั้น 6 ชั่วโมงให้หลังเขาเริ่มรู้สึกท้องบวมและปวดอย่างรุนแรง จึงเดินทางไปยังโรงพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ 

 

ผลตรวจเบื้องต้นพบว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และหายใจลำบาก ผลแอกซเรย์แสดงให้เห็นว่าเนื่องจากเขาดื่มน้ำอัดลมเร็วเกินไป ก๊าซจึงสะสมอยู่ในลำไส้ และรั่วเข้าไปในหลอดเลือดดำพอร์ทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในหลอดเลือดหลักของตับ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง

 


ต่อมา ชายคนดังกล่าวมีอาการขาดเลือดในตับ ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า "ตับวายเฉียบพลัน" มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์พยายามปล่อยก๊าซออกจากระบบย่อยอาหารของเขา และใช้ยาเพื่อควบคุมตับและอวัยวะอื่นๆ ไม่ให้ได้รับความเสียหายเพิ่มเติม แต่อาการของเขายังคงแย่ลงเรื่อยๆ กระทั่งเสียชีวิตใน 18 ชั่วโมงหลังได้รับการรักษาพยาบาล

 

เฉลยเคสหนุ่มวัย 22 เสียชีวิตหลังดื่มน้ำอัดลม หมอเปิดข้อมูลสู้ สรุปยังไงแน่

ขณะที่ สำนักข่าว Daily Mail รายงานเกี่ยวกับกรณีนี้โดยอ้างอิงจากความคิดเห็นของ "นาธาน เดวีส์" นักชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน เชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะเสียชีวิตจากการบริโภคน้ำอัดลมมากเกินไป พร้อมชี้ให้เห็นว่า "ความน่าจะเป็นที่จะเสียชีวิตจากการดื่มเครื่องดื่มทั่วไป 1.5 ลิตร หรือมากกว่า 3 ไพนต์เล็กน้อยนั้น เรียกได้ว่าน้อยมากเลยทีเดียว เชื่อว่าผู้ชายคนนี้อาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อ"

 

โดย เดวิส อธิบายเพิ่มเติมว่า แบคทีเรียอาจก่อตัวเป็นถุงก๊าซในผนังลำไส้แล้วรั่วไหลไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และการบริโภคเครื่องดื่มอัดลมในปริมาณมากอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักของการเสียชีวิตของเขา “แน่นอนว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพฟัน นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด 


อย่างไรก็ตาม การดื่มเครื่องดื่มอัดลมมากๆ จะส่งผลต่อการสร้างแร่ธาตุของกระดูก แต่เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำตาลของคน การดื่มเครื่องดื่มอัดลมทุกวันแทบไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ" และเมื่อพิจารณาจากการบริโภคเครื่องดื่มอัดลมทั่วโลกแล้ว หากสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้จริง ก็ควรมีกรณีที่คล้ายกันมากกว่านี้

 

เฉลยเคสหนุ่มวัย 22 เสียชีวิตหลังดื่มน้ำอัดลม หมอเปิดข้อมูลสู้ สรุปยังไงแน่

 

ข้อมูลจาก hk01