คำว่าของฟรี มักเป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจ ทำให้หลายๆ คน อย่างเช่นหญิงหญิงวัย 60 ปี ในประเทศสิงคโปร์รายนี้ ที่ถูกป้ายโฆษณาของร้านน้ำชานมพร้อมคำเชิญชวนน่าสนใจว่า "สแกนคิวอาร์โค้ด ร่วมตอบแบบสอบถาม รับชานมฟรี 1 แก้ว" แต่เมื่อเธอเข้าร่วมแล้วกลับพบว่า เธอต้องจ่ายมหาศาล
ตามรายงานระบุว่า หญิงคนดังกล่าวได้ สแกนคิวอาร์โค้ดที่แนบมากับสติกเกอร์ของร้าน และดาวน์โหลดแอปฯ ลงในโทรศัพท์มือถือจากนั้นจึงเริ่มทำแบบสำรวจให้เสร็จสิ้น ทุกอย่างยังคงดำเนินไปตามปกติ และเธอยังได้รับการแจ้งเตือนว่าอีกไม่นานบัตรกำนัลชานมฟรีจะถูกส่งไปยังบัญชีส่วนตัวของเธอ
ทว่าท้ายที่สุดแล้วนี่กลายเป็น "ชานมที่แพงที่สุด" สำหรับเธอเธอ เพราะหลังจากนั้น เธอก็พบว่าจำนวนเงินทั้งหมดในบัญชีธนาคาร เงินมูลค่า 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือมากกว่า 5 แสนบาทถูกดูดหายไปจนเกลี้ยง
หลังจากพบว่าเงินออมในบัญชีธนาคารหายไปทั้งหมด เธอจึงรีบติดต่อกับธนาคารและตำรวจสิงคโปร์ แต่เมื่อมาถึงจุดนี้ เธอจึงคิดได้ว่าตนเองถูกหลอก และพบว่ามีคดีฉ้อโกงในรูปแบบเดียวกันมากกว่า 100 คดี มูลค่าความเสียหายรวม 445,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ มากกว่า 11 ล้านบาท
และเรื่องนี้ได้มีการออกมาแฉกลโกงไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า อันดับแรก นักต้มตุ๋นล่อเหยื่อให้ติดตั้งแอพพลิเคชันที่เป็นอันตรายบนโทรศัพท์ พร้อมคำเชิญให้ทำแบบสำรวจและสแกนคิวอาร์โค้ด โดยใช้รางวัลที่จะได้รับเป็นสิ่งจูงใจ ดังเช่น "ชานมฟรี" ที่เป็นเพียงกลโกงหนึ่งเท่านั้น
หลังจากหลอกเหยื่อให้ติดตั้งแอพพลิเคชันที่มีมัลแวร์บนโทรศัพท์แล้ว พวกเขาจะส่งคำขอเพื่อเปิดใช้งานบริการการเข้าถึงของระบบ Android ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับผู้พิการบนอุปกรณ์ แต่ในขณะคุณสมบัตินี้ยังช่วยให้มิจฉาชีพสามารถดูและควบคุมหน้าจออุปกรณ์ของเหยื่อได้
เมื่อเหยื่อใช้แอปฯธนาคาร มิจฉาชีพจะสามารถบันทึกข้อมูลการเข้าสู่ระบบและรหัสผ่านได้ นอกจากนั้น พวกเขายังปิดการใช้งานลายนิ้วมือ หรือการเข้าสู่ระบบด้วยใบหน้าได้อีกด้วย เมื่อมาถึงจุดนี้มิจฉาชีพก็สามารถถอนเงินจากบัญชีธนาคารทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งโดยปกติแล้ว เหยื่อจำนวนมากมักจะติดตั้งโค้ดที่เป็นอันตรายบนโทรศัพท์โดยไม่รู้ตัว มิจฉาชีพยังสามารถเข้าถึงกล้องเพื่อติดตามและทราบเวลาที่เหมาะสมที่เจ้าของเครื่องจะไม่ใช่โทรศัพท์ โดยส่วนใหญ่มักจะเลือกในเวลากลางคืน เป็นเวลาที่เข้าควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อ และดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร
ตามที่ Mr.Beaver Chua หัวหน้าแผนกป้องกันการฉ้อโกงทางการเงินของธนาคาร OCBC อธิบายว่า "กลโกงนี้ร้ายกาจอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ฉ้อโกงเข้าควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่ออย่างเงียบๆ และเนื่องจากเหยื่อสูญเสียการควบคุมบัญชีธนาคารทางออนไลน์ของตน พวกเขาจึงไม่แม้แต่จะรู้ว่าเมื่อใดที่เงินในบัญชีออมทรัพย์จะหมดลง"
ทั้งนี้ ตามรายงานยังระบุด้วยว่า ปัจจุบันรูปแบบการฉ้อโกงนี้เข้ามักถูกใช้กับระบบปฏิบัติการ Android เป็นหลัก เนื่องจากการหลอกให้ติดตั้งบนอุปกรณ์เพื่อติดตามกิจกรรม หรือการค้นหาและใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในอุปกรณ์บน iOS นั้นทำได้ยากกว่า
เนื่องจาก Apple อนุญาตให้ติดตั้งแอพพลิเคชันจาก Apple App Store เท่านั้น อย่างไรก็ตาม นักหลอกลวงสามารถสร้างรูปแบบการฉ้อโกงรูปแบบใหม่ได้ต่อไป และผู้ใช้ iPhone ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน
ข้อมูลจาก soha