วันนี้ (4 เม.ย. 2566) ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการ กทม.2 เขตดินแดง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยจะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 4 - 7 เม.ย.นี้ ซึ่งก็มีตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ เดินทางมาตั้งแต่ช่วงเช้า
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการรับสมัครกรณีมีพรรคการเมืองยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพร้อมกันก่อนเวลา 08.30 น. เลขาธิการ กกต. จะมีการประชุม หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ได้รับมอบหมายฯ เพื่อตกลงกำหนดลำดับการยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง หากไม่สามารถตกลงกันได้ ประธานกกต.หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการจับสลาก โดยการจับสลากจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ
1. ประธาน กกต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้จับสลาก ชื่อพรรคการเมืองที่ถูกจับมาเป็นลำดับแรกจะถือว่าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้มีสิทธิจับสลากลำดับในการยื่นใบสมัครก่อน
2. การจับสลากครั้งที่สอง หัวหน้าพรรคการเมือง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะทำการจับสลากหมายเลขลำดับการยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ซึ่งได้หมายเลขใดก็จะถือว่าเป็นหมายเลขประจำพรรคที่ใช้ในการหาเสียง แต่ทั้งนี้หากในขั้นตอนการตรวจรับเอกสารและหลักฐาน พบว่าพรรคการเมืองใดมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารการสมัคร อาจจะต้องมีการคืนใบสมัคร ซึ่งจะส่งผลต่ออันดับการยื่นใบสมัครจากการจับสลาก ที่อาจจะขยับจากอันดับเดิมได้
ซึ่งเวลา 08.30 น. หลังบรรดาแกนนำพรรคการเมือง ลงทะเบียนเวลารับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เจ้าหน้าที่ กกต.ได้เรียกแกนนำพรรคการเมืองเข้าไปยังจุดพักคอยในห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) เพื่อตกลงลำดับการยื่นใบสมัคร
แต่ไม่สามารถตกลงเรียงลำดับกันได้ มติเป็นเอกฉันท์ จึงใช้กระบวนการจับสลาก ซึ่งนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเป็นผู้จับลำดับการยื่นบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เมื่อได้ลำดับแล้วจะให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าจับสลากหมายเลข ผลการจับสลากหมายเลข ดังนี้
หมายเลข 1 พรรคใหม่
หมายเลข 2 พรรคประชาธิปไตยใหม่
หมายเลข 3 พรรคเป็นธรรม
หมายเลข 4 พรรคท้องที่ไทย
หมายเลข 5 พรรคพลังสังคมใหม่
หมายเลข 6 พรรคครูไทยเพื่อประชาชน
หมายเลข 7 พรรคภูมิใจไทย
หมายเลข 8 พรรคแรงงานสร้างชาติ
หมายเลข 9 พรรคพลัง
หมายเลข 10 พรรคอนาคตไทย
หมายเลข 11 พรรคประชาชาติ
หมายเลข 12 พรรคไทยรวมไทย
หมายเลข 13 พรรคไทยชนะ
หมายเลข 14 พรรคชาติพัฒนากล้า
หมายเลข 15 พรรคกรีน
หมายเลข 16 พรรคพลังสยาม
หมายเลข 17 พรรคเสมอภาค
หมายเลข 18 พรรคชาติไทยพัฒนา
หมายเลข 19 พรรคภาคีเครือข่ายไทย
หมายเลข 20 พรรคเปลี่ยน
หมายเลข 21พรรคไทยภักดี
หมายเลข 22 พรรครวมไทยสร้างชาติ
หมายเลข 23 พรรครวมใจไทย
หมายเลข 24 พรรคเพื่อชาติ
หมายเลข 25 พรรคเสรีรวมไทย
หมายเลข 26 พรรคประชาธิปัตย์
หมายเลข 27 พรรคพลังธรรมใหม่
หมายเลข 28 พรรคไทยพร้อม
หมายเลข 29 พรรคเพื่อไทย
หมายเลข 30 พรรคทางเลือกใหม่
หมายเลข 31 พรรคก้าวไกล
หมายเลข 32 พรรคไทยสร้างไทย
หมายเลข 33 พรรคไทยเป็นหนึ่ง
หมายเลข 34 พรรคแผ่นดินธรรม
หมายเลข 35 พรรครวมพลัง
หมายเลข 36 พรรคเพื่อชาติไทย
หมายเลข 37 พรรคพลังประชารัฐ
หมายเลข 38 พรรคเพื่อไทรวมพลัง
หมายเลข 39 พรรคมิติใหม่
หมายเลข 40 พรรคประชาภิวัฒน์
หมายเลข 41 พรรคไทยธรรม
หมายเลข 42 พรรคไทยศรีวิไลย์
หมายเลข 43 พรรคพลังสหกรณ์
หมายเลข 44 พรรคราษฎร์วิถี
หมายเลข 45 พรรคแนวทางใหม่
หมายเลข 46 พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล
หมายเลข 47 พรรครวมแผ่นดิน
หมายเลข 48 พรรคเพื่ออนาคตไทย
หมายเลข 49 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย