จากกรณีพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งโดยมีจำนวน ส.ส. นำเป็นอันดับหนึ่ง พร้อมรวมเสียงพรรคการเมือง 6 พรรค 310 เสียง เพื่อเตรียมจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก แต่ประเด็นที่หลายฝ่ายกังวล เพราะหลังจากนี้ก้าวไกลต้องฝ่าด่าน ส.ว. อีก 250 เสียง อีก ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ปัจจุบัน ส.ว. ส่วนใหญ่ยังคงสงวนท่าที ไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจน
ขณะเดียวกันก็มี ส.ว. จำนวนหนึ่งที่มีความเห็นว่าควรโหวตให้ฝ่ายที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด เพราะถือว่าเป็นฉันทามติจากประชาชน ซึ่งล่าสุด มีรานงานว่ามี ส.ว. ทั้งหมด 7 ราย ที่ยินดียกมือมือโหวตให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกฯ ประกอบด้วย
1. วัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ประกาศจุดยืนในการเลือกนายกฯ คือหากใครก็ตามที่สามารถรวมเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่า 250 เสียง ตนจะโหวตให้ฝ่ายนั้น
2. ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ประกาศว่า จะรับฟังเสียงประชาชน พร้อมโหวตนายพิธา เป็นนายกฯ
3. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โดยระบุว่า ขอใช้สิทธิ สนับสนุนให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ในบัญชีพรรคการเมือง ที่มีจำนวน สส.มากที่สุด ได้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี
4. เฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ประกาศว่า จุดยืนของตนไม่เปลี่ยน ใครรวบรวมเสียงข้างมากได้ก็พร้อมสนับสนุนตามความต้องการของประชาชน
5. อําพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระบุว่า ผลการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม สะท้อนเจตนามหาชนชัดเจนแล้ว จากนี้ไปควรปล่อยให้กลไกประชาธิปไตยทำงานต่อ ไม่ว่าใครก็ตาม อย่าได้แทรกแซง ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใด
6. ธนกิจ จิตอารีย์รัตน์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระบุว่า จะยกมือโหวตให้กับนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี
7. ภัทรา วรามิตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โดยประกาศจุดยืนกรณีลงมติเลือกนายกฯในที่ประชุมรัฐสภา ตามรายชื่อที่พรรคการเมืองซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. มากที่สุด คือนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งในครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนทุกกลุ่มต่างตื่นตัวอย่างมาก ในการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ ที่แสดงผลให้เห็นแล้ว ผ่านการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น หลังจากนี้คงต้องรอ ส.ว. คนทีเหลือ ว่าจะมีท่าที่เช่นไร