ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้อง ศาลรธน. "ยุติเลือกนายกฯ" จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย

24 กรกฎาคม 2566

ล่าสุดโหวตฯนายกรอบ3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาล รธน. ตีความการณีเสนอชื่อ "พิธา" ซ้ำ พร้อมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้เลื่อนการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย

"ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ยื่นคำร้อง ศาลรธน. ยุติเลือกนายกฯ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย  โดยวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เมื่อเวลา 14.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงผลวินิจฉัยกรณีขอให้ยื่นคำร้องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตีความกรณีรัฐสภาลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็น "ญัตติ" ซึ่งต้องปฎิบัติจามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้อง ศาลรธน. ยุติเลือกนายกฯ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย

พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินในได้รับเรื้องร้องเรียนจากสมาชิกรัฐสภา และประชาชน จำนวน 17 คำร้องเรียน โดยผู้ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 จากกรณีที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ลงมัตติวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ถือเป็น "ญัตติ" ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุม รัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ซึ่งกำหนดว่า "ญัตติใดที่ตกไปแล้วห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน" เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของผู้ร้องเรียน จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ นั้น

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้อง ศาลรธน. ยุติเลือกนายกฯ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย

ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน โดยพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนว่า เข้าองค์ประกอบ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ ในการเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 หรือไม่ โดยเห็นว่า รัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นหนึ่งในสามของ อำนาจอธิปไตย 

รัฐสภาจึงถือเป็นหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ หากการกระทำของรัฐสภาละเมิดสิทธิเสรีภาพ ย่อมถูกตรวจสอบได้โดย ศาลรัฐธรรมนูญและการกระทำของ "รัฐสภา" ในการลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรี เป็น "ญัตติ" ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมนัฐสภา  พ.ศ. 2563 ข้อ 41 นั้น เป็นอาการนำข้อบังคับการประชุมไปทำให้กระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้กำหนดเรื่องการพิจารณาให้ความ เห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะแล้วมาตรา มาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 การกระทำของรัฐสภา ดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

การกระทำของรัฐสภาในการผนวินิจฉัยดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนโดยตรง โดยผู้ร้องเรียนเป็นสมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ตามหมวด 3 ว่าสิทธิ เสรีภาพของปวงชนชาวไทย หากการกระทำของรัฐสภาดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้ และมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน นอกจากนี้ ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำของรัฐสภา ดังกล่าวยังคงมีอยู่และมิได้รับการวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียนและ ประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ภายใต้การใช้อำนาจของรัฐโดยรัฐสภา ผู้ร้องเรียนรวมถึงประชาชนทั่วไปจึงได้รับความเดือดร้อนหรือ เสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ 

คำร้องเรียนส่วนหนึ่ง ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งเป็นคำขอเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการชั่วคราวก่อน

การวินิจฉัย ซึ่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อป้องกันความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาในภายหลัง และเป็นคำขอที่อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ จึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภารอการ ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัย ในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งก็เป็นดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่อไป

ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัยให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนู แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบ มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณ ของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561